รัฐบาลขอให้รัฐสภา ตั้งเป้าตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอีกครั้ง

รัฐบาลได้ขอให้รัฐสภาพิจารณาและอนุมัติเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญบางส่วนซึ่งได้รับการแก้ไขในปี 2565 ท่ามกลางความกลัวว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ นาย Sonexay Sitphaxay ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว นำเสนอรายงานในการประชุมสภาแห่งชาติที่กำลังดำเนินอยู่ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายที่แก้ไขแล้วซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินการให้สำเร็จภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้ข้อเสนอนี้ ความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยน kip/us dollar ซึ่งขณะนี้ได้รับอนุญาตให้ผันผวนภายในช่วงบวกหรือลบร้อยละ 5 ต่อปี จะได้รับการแก้ไขให้อยู่ในระดับที่ไม่สร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้กับรัฐบาล รัฐบาลยังได้ขอให้เพิ่มจำนวนเงินในระบบ จากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 28 อันเนื่องมาจากค่าเงิน kip ที่อ่อนค่า ทั้งนี้รัฐบาลตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในปีนี้ แม้จะมีความไม่แน่นอนของปัจจัยภายในและภายนอก

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten113_Govtasks.php

คลังสหรัฐฯ รับทราบความคืบหน้าของทางการเวียดนามชี้ประเด็นค่าเงิน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยอมรับรายงานความคืบหน้าของทางการเวียดนามเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ โดยธนาคารกลาวเวียดนามยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อที่จะหารือถึงข้อกังวลของทั้งสองฝ่ายและประสานผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้ง ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินนโยบายการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ยังคงมุ่งรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและเป้าหมายของนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังคงทบทวนบัญชีรายชื่อประเทศที่ละเมิดเกณฑ์ 3 ข้อของสหรัฐฯ ได้แก่ ตัวเลขเกินดุลการค้า, ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยเวียดนามและไต้หวัน ยังคงจับตาและติดตามผลต่อไป

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1250395/us-treasury-department-recognises-viet-nams-progress-in-addressing-currency-related-concerns.html

รัฐบาลให้คำมั่นแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำมัน กีบอ่อน หนี้สินประเทศ

รัฐบาลให้คำมั่นที่จะดำเนินการที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงและหนี้ที่เป็นหนี้กับบริษัทเอกชนและต่างประเทศ คำมั่นสัญญานี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายของสองวาระแห่งชาติ ซึ่งพยายามบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ และควบคุมกับการป้องกันค้ายาเสพติด ในการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีที่จัดขึ้นที่เวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบที่จะจัดหาแหล่งการลงทุนระยะยาวเพิ่มเติมจากภาคเอกชนในประเทศลาวและประเทศอื่นๆ และผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ให้ก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการใช้จ่ายและรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten103_Govtvows.php

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา กำหนดนโยบายรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ตัดสินใจกำหนดนโยบายที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไตรมาสถัดไป โดยการตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 56 ที่จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง NBC จะยังคงเสริมสภาพคล่องในระบบต่อไปผ่าน Liquidity-providing collateralized operations (LPCO) เพื่ออัดฉีดเงินเรียลเข้าสู่ระบบตามความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น  โดยผู้ว่าการกล่าวว่าในปี 2020 มูลค่าของเรียลต่อดอลลาร์มีเสถียรภาพค่อนข้างดีแม้จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1) ซึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน NBC พยายามลดหรือจำกัดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการใช้เครื่องมือหลายอย่างเพื่อดูดซับหรืออัดฉีดสภาพคล่องภายในระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922563/cambodian-monetary-policy-to-maintain-exchange-rate-stability/

แบงค์ชาติกัมพูชาเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราภายในประเทศ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้ประกาศอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ ในสัปดาห์นี้เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นในตลาด โดย NBC ได้แจ้งให้ธนาคารสถาบันการเงินรายย่อย (MFI) และผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับใบอนุญาตกำหนดอัตราขั้นต่ำในการแลกเปลี่ยนในระบบ ซึ่งรองอธิบดี NBC กล่าวว่าในช่วงที่ COVID-19 ระบาดธนาคารกลางสังเกตว่าสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ผันผวนเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงรวมถึงเรียลของกัมพูชาซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยธนาคารกลางกัมพูชาได้ตัดสินใจเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อทำการควบคุมสกุลเงินในระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา เพื่อเป็นการปรับปรุงการใช้เงินเรียลอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการธนบัตรเพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปีตามข้อมูลของ NBC ทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและทางการเงิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50775257/nbc-auctions-50-million/

ความต้องการทองคำของเมียนมาลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

ราคาทองคำในประเทศทรงตัวที่ระดับ 1.22 ล้านต่อทองคำ 1 บาทเนื่องจากความต้องการที่ลดลงแม้ว่าทั่วโลกราคาทองคำจะเข้าใกล้ระดับ 1,800 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ค้าทองคำและนักลงทุนเลือกที่จะถือเงินสดมากกว่าทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ร่วงลงมาที่อยู่ที่ 1365จัต/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 1400 จัต/ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคมและมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อในตลาด นักลงทุนทองคำจำนวนมากยังเลิกลงทุนในทองคำเนื่องจาก COVID-19 ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียงานและการตกต่ำของเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดทองคำของเมียนมาลดลงประมาณ 50% หลังจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gold-demand-falls-back-lower-dollar-exchange-rate.html

อัตราแลกเปลี่ยนกระทบตลาดถั่วในเมียนมา

การแข็งค่าของเงินจัตเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินหยวนของจีนเริ่มส่งผลกระทบในทางลบต่อถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมา หมายถึงราคาแพงกว่าสำหรับผู้ซื้อจากต่างประเทศในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีรายได้น้อยลง ราคาถั่วและถั่วพัลส์ในท้องถิ่นได้ลดลงจากที่ใดก็ได้ 2,000 จัต ถึง 10,000 จัตต่อถุงจากหน่วยวัดในท้องถิ่น อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวนลดลงจาก 206.39 จัต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์เหลือเพียง 199.83 จัต ในวันที่ 8 มีนาคมลดลง 3.17% ราคาของถั่วเขียวผิวดำได้ลดลงประมาณ 10,000 จัต จาก 90,000 จัต เป็น 80,000 จัตในขณะที่ถั่วเขียวลดลง 6,000 จัต จาก 119,000 จัต เป็น 113,000 จัต และถั่วลันเตาประมาณ 8,000 จัตจาก 65,000 จัตถึง 57,000 จัต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้ซื้อเงินตราต่างประเทศจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 1,398.6 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/exchange-rate-hits-local-bean-market.html

การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

อัตราแลกเปลี่ยน Kip ผันผวนเนื่องจากการเติบโตของการนำเข้า

อัตราการแลกเปลี่ยนกีบต่อดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทมีความผันผวนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยมีปัจจัยมาจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าเพิ่มขึ้นรวมถึงกระบวนการชำระเงินในต่างประเทศสำหรับโครงการลงทุนที่ดำเนินการในสปป.ลาวซึ่งขัดขวางการไหลเข้าของสกุลเงินต่างประเทศ 2 ปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินกีบอ่อนค่าลงโดยตั้งแต่ มกราคม-ธันวาคม 62 ค่าเงินอ่อนค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ธนาคารกลางสปป.ลาวกำหนดไว้ที่ 2% แต่ผลที่ออกมาค่าเงินกีบกับอ่อนค่าเพิ่มขึ้นถึง 3%(เฉลี่ยทั้งปี) จากกรณีดังกล่าวMr. Sonexay Siphandone นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวว่า“ จำเป็นต้องมีการประสานงานภายในรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการลดปริมาณการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกเพื่อสร้างดุลการค้าที่ขาดดุล” นอกจากนี้ธนาคารกลางจะยังคงทำงานร่วมกับกระทรวงการวางแผนและการลงทุนหาวิธีแก้ไขกระบวนการชำระเงินในต่างประเทศสำหรับโครงการลงทุนในสปป.ลาวซึ่งเป็นปัญหาต่อการไหลเข้าของสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/kip-exchange-rate-fluctuating-due-growth-imports-111708

ธนาคารกลางเมียนมาเล็งเปิดอัตราดอกเบี้ยเสรีเพิ่ม

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะพิจารณาการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและอนุญาตให้ธนาคารเอกชนมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดอัตราการดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน โดย CBM จะขอความช่วยเหลือจาก IMF และสังเกตว่าประเทศอื่นเริ่มไปก่อนแล้ว ปัจจุบันธนาคารเอกชนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 8% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 13% ที่กำหนดโดย CBM ขณะที่อัตราของธนาคารกลางคือ 10% ซึ่งการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยบางประเทศใช้เวลานานถึง 20 ปี และไม่สามารถลดหรือเพิ่มได้ทันที ซึ่งประเทศนั้นต้องมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ในขณะเดียวกันยังกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบสำหรับสถาบันการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและส่งเสริมให้ตลาดทุนมีความสำคัญยิ่งขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 60-61 มีทุนชำระแล้วในภาคธนาคาร เกือบ 3 ล้านล้านจัต เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบัน CBM กำลังเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบการควบคุมสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-will-consider-further-rate-liberalisation.html