นักวิเคราะห์หวั่น ประเทศผู้ส่งออกข้าวส่อหยุดส่งออกตามรอยอินเดีย-ดันราคาพุ่ง

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การระงับส่งออกข้าวของอินเดียสร้างความหวาดหวั่นให้ตลาดโลก เนื่องจากทำให้ซัพพลายข้าวหายไปจากตลาดโลกถึง 10 ล้านตัน ส่งผลให้เกิดความวิตกว่าประเทศผู้ส่งออกข้าวต่าง ๆ อาจระงับการส่งออกข้าวตามรอยอินเดียไปด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้าวขาดแคลนภายในประเทศ นักวิเคราะห์ระบุว่า มาตรการจำกัดการส่งออกล่าสุดของอินเดียแทบจะเหมือนกับมาตรการก่อนหน้านี้ของอินเดียเมื่อปี 2550 และ 2551 ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ หลังประเทศอื่น ๆ ถูกบีบให้จำกัดการส่งออกในลักษณะเดียวเพื่อปกป้องผู้บริโภคในประเทศ ในเวลานี้ ผลกระทบต่อซัพพลายและราคาข้าวอาจยิ่งกระจายตัวกว้างขวางมากขึ้น เนื่องจากอินเดียในตอนนี้ครองสัดส่วนการค้าข้าวโลกมากกว่า 40% เพิ่มจากสัดส่วนประมาณ 22% เมื่อ 15 ปีก่อน สร้างแรงกดดันให้ประเทศผู้ส่งออกข้าว อาทิ ไทยและเวียดนามต้องระงับส่งออก ด้านนักวิเคราะห์และผู้ค้ากล่าวว่า ผลกระทบที่มีต่อราคาข้าวนั้นรวดเร็วอย่างมาก โดยราคาข้าวดีดตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี หลังจากอินเดียได้สร้างความตกตะลึงให้กับประเทศผู้ซื้อโดยการประกาศระงับการส่งออกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq34/3444442

‘วงใน’ เผย ข้าวเวียดนาม รุกเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในสหราชอาณาจักร

นายเหงียน กั๋น เกื่อง ที่ปรึกษาการค้าของเวียดนาม ประจำสหราชอาณาจักร กล่าวว่าในปัจจุบัน โอกาศสำคัญของเวียดนามที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดข้าวเวียดนามในตลาดสหราชอาณาจักร (UK) หลังจากอินเดีย ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ธัญพืชรายใหญ่ที่สุดในตลาดแห่งนี้ มีคำสั่งห้ามส่งออกข้าว ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวเอเชียกว่า 5.5 ล้านคน และมีความพร้อมการข้าวสูง ในขณะที่ไม่มีการผลิตข้าวเลย โดยเมื่อปี 2565 ปริมาณการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณกว่า 678,000 ตัน อีกทั้ง การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง 3,400 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.5% และ 34% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnamese-rice-can-grow-larger-uk-market-share-insiders-post128237.html

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรในช่วง 7 เดือน แตะ 2.6 พันล้านดอลลาร์

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยัง 68 ประเทศทั่วโลก รวมกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์ โดยคิดเป็นการส่งออกข้าวสารที่มูลค่า 504 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งหากนับเป็นปริมาณตันรวมทั้งสิ้น 4.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งออกเป็นข้าวสาร 3.63 แสนตัน, ข้าวเปลือก 1.51 ล้านตัน และสินค้าการเกษตรอื่นๆ 2.64 ล้านตัน แม้ว่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดต่างประเทศจะลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอนาคต เนื่องจากการที่ประเทศอินเดียประกาศลดโควต้าการส่งออกข้าวเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เป็นผลทำให้ปริมาณสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวในตลาดโลกอาจจะเกิดความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณข้าวที่อาจน้อยลง ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้กัมพูชาต้องเร่งศึกษากลยุทธ์ในการตักตวงโอกาสดังกล่าวที่จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มขีดความสามารถของโรงสีในท้องถิ่นในการจัดเก็บสต๊อก และเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปเพื่อการส่งออก เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501339005/cambodias-agricultural-exports-reach-more-than-2-6-billion-in-seven-months/

พาณิชย์ชี้ตลาดส่งออกยานยนต์ไปอินเดียสดใสด้วยแต้มต่อ FTA

นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก น.ส.กัญญาวัลย์ สืบสิงห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน เกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดยานยนต์และอินเดียในช่วงที่ผ่านมาว่า มูลค่าจำหน่ายยานยนต์ของอินเดียในเดือน มิ.ย.66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นรถสามล้อ 75% รถแทรกเตอร์ 41% รถจักรยานยนต์ 7% รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 5% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 0.5% เนื่องจากอินเดียไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ทั้งนี้ ตลาดยานยนต์อินเดียเติบโตและไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อินเดียนำเข้าชิ้นยานยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA ไทย-อินเดีย และ FTA อาเซียน-อินเดีย ดังนั้นผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยควรสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าและบริการของตน ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยอาจหารือร่วมกับผู้นำเข้า เพื่อขยายส่วนแบ่งให้เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดอินเดียในอนาคต สร้างโอกาสในการทำเงินเข้าประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/323808

‘เมียนมา’ เผยส่งออกถั่วพัลส์ 4 เดือน พุ่ง 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ไปยังต่างประเทศมากกว่า 550,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 4 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยการส่งออกของเมียนมาส่วนใหญ่ผ่านทางทะเล มูลค่า 362.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปริมาณ 462,894 ตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านพรมแดน อยู่ที่ 77.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปริมาณ 88,907 ตัน ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวและถั่วแระ ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอินเดีย จีนและยุโรป นอกจากนี้ จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาทะลุเกินกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2565-2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-exports-surge-garnering-us430-mln-over-four-months/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาถั่วดำและถั่วพีเจียนดิ่งลงฮวบ เหตุความต้องการตลาดโลก

ตามข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. ของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (Bayintnaung Commodity Centre) เปิดเผยว่าราคาถั่วเขียวผิวดำ (Black Grams) และราคาถั่วแระ (Pigeon Pea) อยู่ที่ระดับสูงสุด 3.2 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.3 ล้านจ๊าดต่อตัน ต่อมาราคาถั่วแระและราคาถั่วเขียวผิวดำ ลดลงมาอยู่ที่ 2.97 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.24 ล้านจ๊าดต่อตันในวันที่ 21 ก.ค. ทั้งนี้ ความต้องการของอินเดียมีความสัมพันธ์อย่างมากกับทิศทางของราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเมียนมา เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายสำคัญของประเทศ อีกทั้ง อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากเมียนมาและอินเดียได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 ส่งผลให้อินเดียนำเข้าถั่วเขียวผิวดำ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน เป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/black-gram-pigeon-pea-prices-plunge-tracking-weak-foreign-demand/#article-title

‘เมียนมา’ เผยไตรมาสแรก ปี 66 ส่งออกถั่วพัลส์ เกิน 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2566 ทำรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ (Pulse) ประมาณ 333.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณ 424,187.70 ตัน ในช่วงปีงบประมาณ 2566-2567 โดยส่วนใหญ่ส่งออกผ่านทางทะเล 284.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน  48.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมียนมาได้ส่งออกถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวและถั่วแระ ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอินเดีย จีนและยุโรป อีกทั้ง ตลาดอินเดียมีความต้องการถั่วเขียวผิวดำเพื่อการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น และจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเมียนมา-อินเดีย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 ส่งผลให้อินเดียนำเข้าถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระจากเมียนมา 250,000 ตัน และ 100,000 ตัน เป็นระยะเวลา 5 ปี ติดต่อกัน และยังไม่ส่งผลกระทบต่อโควต้าประจำปีของอินเดียที่กำหนดไว้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-export-earnings-in-pulses-surpass-over-us330-mln-in-q1/#article-title

“เมียนมา” ทำรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ ทะลุ 240 ล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาทำสถิติส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 310,000 ตัน และสร้างรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยรายงานระบุว่า การขนส่งถั่วพัลส์ปริมาณข้างต้นแบ่งเป็นผ่านเส้นทางทางทะเลมากกว่า 280,816.8 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเส้นทางการค้าผ่านช่องทางอื่นๆ 29,756.2 ตัน ทั้งนี้ ตลาดอินเดียมีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อการบริโภคในประเทศ อีกทั้งจากการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมา-อินเดีย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ทำให้อินเดียมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าถั่วเขียวผิวดำเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน จากเมียนมา เป็นระยะเวลา 5 ปี ในปีงบประมาณ 2568-2569 โดยข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อโควต้ารายปีที่กำหนดไว้ของอินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-240-mln-in-export-of-pulses-within-two-months/#article-title

EIU ชี้ ‘เวียดนาม’ พิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

จากการจัดอันดับประจำปีของ Economist Intelligence Unit (EIU) ระบุว่าอันดับของเวียดนามเลื่อนขึ้น 12 อันดับจากการจัดอันดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ วัดโดยใช้ตัวชี้วัด 91 ตัวชี้วัดที่สำคัญ รายงานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของประเทศเวียดนาม ไทยและอินเดียที่เป็นประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งนี้ ประเทศไทยเลื่อนขึ้น 10 อันดับ และอินเดียเลื่อนขึ้น 6 อันดับ ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับต้นๆ ของการจัดอันดับในครั้งนี้ นอกจากนี้ หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่ามีจำนวน 750 โครงการใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุน เป็นมูลค่ากว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 65.2% และ 11.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-shows-significant-improvement-in-business-environment-eiu/253531.vnp

“เมียนมา” เผยราคาเมล็ดมัสตาร์ดสูงขึ้นในตลาดมัณฑะเลย์

คุณ U Soe Win Myint เจ้าของศูนย์ค้าส่งในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่าราคาเมล็ดมัสตาร์ด (Mustard Seeds) ในปีที่แล้ว อยู่ที่ 3,200 จั๊ตต่อ Viss แต่ในปัจจุบันราคาขยับเพิ่มสูงขึ้นที่ 5,100 จั๊ตต่อ Viss และการค้าขายเป็นไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้เกษตรกรชาวเมียนมาจึงควรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นอกจากนี้ การเพาะปลูกเมล็ดมัสตาร์ดส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ของรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น รัฐกะยาและภาคซะไกง์ตอนบน จากนั้นจะถูกขายไปยังตลาดมัณฑะเลย์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mustard-seed-fetching-higher-prices-marketable-in-mandalay/#article-title