การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ช่วยกระตุ้นการค้าระหว่างกัมพูชา

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 คิดเป็นมูลค่ากว่า 289.9 ล้านดอลลาร์ สู่ 1.9683 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปี 2021 ตามรายงานของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ (USCB) โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี ซึ่งมีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามรายงานของ ประธานหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา โดยการส่งออกรวมในไตรมาสที่แล้วมูลค่ารวม 1.8629 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ารวม 106.3 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้ดุลการค้าของกัมพูชาเกินดุลกว่า 1.7566 พันล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สำหรับการเดินทาง ส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับยานพาหนะ อาหารสัตว์และเครื่องจักร เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50852336/booming-us-recovery-boosts-bilateral-trade-and-exports/

รับมือโรคระบาดดี เศรษฐกิจเติบโตสุดในอาเซียน ความสำเร็จของเวียดนามท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ในขณะที่หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนประสบกับภาวะถดถอยกันทั่วหน้า อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคร้ายโควิด-19 และบางประเทศถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาทางการเมืองภายใน แต่เวียดนามกลับกลายเป็นประเทศที่โดดเด่นที่สุดในสถานการณ์โลกและภูมิภาคนี้เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ รายงานเศรษฐกิจประจำปี 2021 ของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน เปิดเผยว่า แม้ว่าเศรษฐกิจของหลายประเทศจะอยู่ในภาวะติดลบ แต่เวียดนามกลับมีความเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 2.9% เมื่อปี 2020 และคาดการณ์ว่าในปีนี้เศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตมากถึง 6.7 เปอร์เซ็นต์ จัดได้ว่าสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน รองลงมาได้แก่สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของทั้งคู่จะอยู่ที่ 6% เท่ากัน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2083880?utm_source=PANORAMA_TOPIC

ADB ปรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาหลังล็อกดาวน์

หลังจากที่ทางการกัมพูชาได้ทำการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่เขตที่มีการระบาดของโควิด-19 เมื่อไม่นานที่ผ่านมา ทำให้การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งหมดภายในกัมพูชาจำเป็นต้องทำการประเมินใหม่อีกครั้ง โดย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) มองว่าการฟื้นตัวในปีนี้และปีหน้าจะอยู่ที่ในกรอบร้อยละ 4 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2020 เศรษฐกิจของกัมพูชาหดตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยในปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาได้ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาเติบโตในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50847837/lockdown-length-could-alter-growth-predictions-adb/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มองเศรษฐกิจลาวสามารถเติบโตท่ามกลางวิกฤตโควิด -19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มองเศรษฐกิจลาวสามารถเติบโตท่ามกลางวิกฤตโควิด -19 และมาตรการปิดกั้นที่ส่งต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามรายงงานแนวโน้มการพัฒนาเอเชียจัดทำโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในรายงานคาดว่าสปป.ลาวจะเติบโตได้ที่ร้อย 4.0 ในปี 2564 และร้อยละ 4.5 ในปี 2565 ADB ให้เหตุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของภาคการเกษตรโดยเฉพาะปศุสัตว์ การเติบโตของอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงหนุนจากการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น การลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เหมืองแร่และทรัพย์สินในเมืองคาดว่าในปี 2564 และ 2565 จะสร้างงานและกำลังซื้อของครัวเรือนจะสูงขึ้นภาคบริการในปีนี้จะได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวหลังจากโครงการทางด่วนเวียงจันทน์ – วังเวียงแล้วเสร็จ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการบริการในประเทศอย่างไรก็ตามสปป.ลาวยังมคามท้าทายด้านสถานะการคลังที่ย่ำแย่สิ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้การเติบโตไม่เป็นไปตามกรอบที่วางไว้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_ADB81.php

การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาของกัมพูชา อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชาได้ทำการล็อกดาวน์ประเทศลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ขึ้น โดยในบางพื้นที่ของเมืองหลวงถูกกำหนดให้เป็น “เขตพื้นที่สีแดง” ส่งผลทำให้จำเป็นต้องทำการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2021 ใหม่อีกครั้ง จากผลกระทบข้างต้น ซึ่ง The Economist Intelligence Unit (EIU) สื่อจากสหภาพยุโรปได้ตีพิมพ์ในหัวข้อ The Economist รายงานว่าอาจจะมีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาในปี 2021 ลงจากร้อยละ 4.6 ลงมาสู่ช่วงระดับร้อยละ 3 ถึง 4 จากรายงานของ Nikkei Asia โดยการระบาดและการล็อกดาวน์จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนสำคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของ GDP ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50843002/lockdowns-movement-restrictions-could-affect-economic-outlook/

ประธานาธิบดีเรียกร้องให้นานาประเทศเสริมสร้างเอกภาพเพื่อรับมือกับความท้าทาย

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Thongloun Sisoulith ได้เรียกร้องให้ประเทศที่เป็นมิตรในภูมิภาคและทั่วโลกเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลระดับโลกและสร้างอนาคตที่ดีในทางเศรษฐกิจเละสังคมให้กับโลกในงานประชุม Boao Forum for Asia Annual Conference 2021 การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้นำในภูมิภาคเอเชียหารือเกี่ยวกับแผนการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด -19และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว งานประชุมนี้มีความสำคัญต่อสปป.ลาวอย่างยิ่งจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำระดับภูมิภาค นักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาในระดับภูมิภาคและเพิ่มความร่วมมือในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการก้าวผ่านวิกฤตของโลกในปีนี้และอนาคตที่ยังไม่แน่นอนเกี่ยวกรระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_President_75.php

‘IMF’ คง GDP เวียดนามปีนี้ โต 6.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 6% จากนั้นจะฟื้นตัวเป็น 7.2% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้เวียดนามเป็นประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตได้เร็วเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก 5 ประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตในเชิงบวก อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 2.7% ในปีนี้ จากระดับ 3.3% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตที่ 6% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการใช้วัคซีนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-maintains-vietnam-gdp-growth-forecast-at-65-in-2021-316951.html

‘SCG’ ตั้งเป้าให้ความสำคัญกับตลาดเวียดนามสูงสุด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Nikkei Asian เผยบทสัมภาษณ์ของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าประเทศเวียดนามเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจ “อีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวลดลง แต่คาดว่าธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้เริ่มขยายธุรกิจในภูมิภาค โดยเวียดนามเป็นศูนย์กลางเชิงกลยุทธ์ในปี 2535 จนถึงในไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีแหล่งปฏิบัติการ 22 แห่งในเวียดนาม และมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 8,600 คน ดังนั้น บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคนเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเด็นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 พบว่า“สำหรับธุรกิจของ SCG บางส่วนได้รับผลกระทบและบางส่วนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” จำนวนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนลดลง ตลอดจนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนของยอดขายมากที่สุดของบริษัท ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจว่ารายได้เพียงพอ การซื้อบ้านและคอนโดมีเนียมเกิดหยุดชะงักลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-is-top-priority-for-siam-cement-in-coming-years-ceo-30185.html

สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php

ไตรมาส 1 ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามโต 4.48%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.48% เป็นผลมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16% ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.3% และภาคบริการ 3.34% โดยทั้ง 3 ภาคเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ 8.34% 55.96% และ 35.7% ตามลำดับ ภาคบริการมีการขยายตัวในเชิงบวก เนื่องจากผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กิจกรรมการส่งออกและนำเข้ากลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าราว 152.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในไตรมาสแรก ยังคงมีเสถียรภาพและอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุมการระบาดของไวรัส และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตลอดจนช่วยเหลือภาคเอกชนและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนของภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/915081/vietnamese-economy-expands-448-per-cent-in-q1.html