ราคากระเทียมพุ่ง หลังปิดชายแดนจีน-เมียนมา

ราคาของกระเทียม (พันธุ์ Kyukok) ที่ส่งออกไปยังจีนพุ่งขึ้นภายหลังการปิดด่านชายแดนเมียนมา-จีน  ส่งผลให้การขึ้นราคาในตลาดค้าปลีกมีราคาสูงถึง 5,100 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) โดยราคากระเทียมขยับอยู่ในช่วง 1,900-2,950 จัตต่อ viss ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 อย่างไรก็ตาม ตลาดเห็นการเพิ่มขึ้นทีละน้อยในราคาระหว่าง 3,500- 4,000 ต่อ viss ทั้งนี้ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยในวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ราคาจะระหว่าง 2,600 – 5,100 ต่อ viss ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/garlic-price-jumps-on-closure-of-sino-myanmar-border-post/

เวียดนามวางแผนเพิ่มปริมาณการค้ากับจังหวัดชายแดนกัมพูชา

เวียดนามวางแผนเพิ่มปริมาณการค้ากับกัมพูชาผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อกิจกรรมการค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านชายแดนระหว่างจังหวัดยาลายของเวียดนาม ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา โดยเวียดนามจัดตั้งโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมชายแดนระหว่างประเทศในช่วงปี 2025-2030 ซึ่งนอกจากจะคาดหวังปริมาณการค้าระหว่างกันที่เพิ่มขึ้นแล้ว ทั้งสองประเทศยังคาดหวังถึงการดึงดูดนักลงทุนและการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างชายแดน ที่นอกเหนือจากงบประมาณของทางภาครัฐจัดสรรให้ โดยคาดว่าในอีกไม่นานจะเกิดการสนับสนุน การแลกเปลี่ยนและเกิดการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างกัน รวมถึงข้อตกลงความร่วมมืออื่น ๆ ระหว่างพื้นที่ชายแดนของจังหวัดยาลาย (เวียดนาม) และจังหวัดรัตนคีรี (กัมพูชา) ในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50912806/gia-lai-province-in-vietnam-to-boost-trade-links-with-cambodias-border-provinces/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ส่งออกข้าวของเมียนมาลดฮวบ 30 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ (พ.ศ. 2563-2564) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 1.28 ล้านตันมีรายได้ 490.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 512,589 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าลดลงเหลือ 33.92 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าหลัก รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ โกตดิวัวร์ แคเมอรูน และกินีตามลำดับ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีสัดส่วนการนำเข้า 20% ส่วนอีก 25% จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในแอฟริกา ในปีงบประมาณที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยจีนเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตามความต้องการจากประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินีเ บลเยียมเซเน กัลอินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การส่งออกประมาณ 16% ผ่านทางชายแดนส่วนที่เหลือส่งออกทางทะเล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-down-by-us-30-mln-in-seven-months-of-this-fy/

แขวงตอนกลางและภาคใต้ สปป.ลาว ยกระดับการควบคุมชายแดน

แขวงภาคกลางและภาคใต้ที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยกำลังดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19 โดยการตั้งจุดตรวจเพิ่มเติมและตรวจตราพื้นที่ชายแดนเพื่อป้องกันการผู้แพร่เชื้อที่อาจเดินผ่านทางช่องธรรมชาติอย่างผิดกฎหมาย จากข้อมูลของคณะทำงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโควิด -19 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมพบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ทั้งหมด 50 คนในแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งมีพหรมแดนติดกับประเทศไทยทำให้สปป.ลาวต้องออกคำสั่งปฏิบัติตามมาตรการขั้นสูงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โดยมีกรอบระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 21 พฤษภาคมเป็นอย่างน้อย การปิดชายแดนครั้งนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดส่งผลให้การค้าระหว่างชายแดนที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของสปป.ลาวเกิดความล่าช้าและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นจากการที่ต้องมีการตรวจเชื้อผ็ขับรถบรรทุกขนส่งก่อนเข้าประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Central91.php

การปิดเมืองชายแดนอาจส่งผลต่อการค้าเมียนมากับจีน

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนอาจหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญใกล้กับมูเซในรัฐฉานถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบเชื้อ COVID-19  คาดว่าจะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และห้ามเดินทางออกนอกเมือง ซึ่งการซื้อขายผ่านชายแดนผ่านกำลังดำเนินการในเมือง Wan Ting ทางฝั่งจีน อย่างไรก็ตามสำนักงานศุลกากรของจีนส่วนใหญ่ปิดตัวการซื้อขายลง แต่ยังสามารถซื้อขายผลไม้ได้ ในขณะที่ทางหลวงของจีนถูกปิดกั้นการขนส่งจึงจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นเก่าในการค้าขาย และหากยืดเยื้อต่อไปการค้าชายแดนอาจส่งผลเสียหายสำหรับผู้ค้าในพื้นที่ ผู้ค้าในมูเซให้ข้อมูลว่าการปิดชายแดนเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐได้ทำการตรวจสอบประชากรราว 400,000 คน ในเมืองซ่วยหลี่ (Shweli )เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากการติดไวรัสหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอาจขยายระยะเวลาการปิดชายแดนออกไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-town-lockdown-might-affect-myanmar-china-trade.html

ผู้ค้าแตงโมเมียนมาประเมินความต้องการในฤดูการส่งออก

สมาคมผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ส่งออกแตงโมเมลอนเมียนมา เผยกลยุทธ์ที่จะผลิตเพื่อการส่งออกและคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ในปีที่จะมาถึงนี้  จากผลของ COVID-19 ผู้ส่งออกแตงโมมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการสูญเสียและความต้องการที่ลดลงในเขตชายแดนเมียนมา- จีนในปีนี้ โดยปกติฤดูกาลส่งออกแตงโมจะเริ่มในเดือนกันยายนและอย่างเร็วในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอดีตที่ผ่านมามีการส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันและตอนนี้เหลือเพียง 500,000 ตันเท่านั้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนที่เขตชายแดน ก่อนการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงกวาคือการส่งออกผลไม้หลักและรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้การส่งออกลดลงถูกชดเชยด้วยอุปสงค์กล้วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งมีแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการระบาดเมียนมาจะมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้นในปีนี้หากมีการจัดเก็บรักษาที่เหมาะสมของชายแดนเมียนมา – จีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-traders-gauge-demand-melons-upcoming-export-season.html

สปป.ลาวยังคงปิดชายแดนแต่อนุญาตให้บางกลุ่มสามารถเดินทางได้

สปป.ลาวยังคงปิดด่านเพื่อให้มั่นใจในการแพร่ระบาดของ COVID-19 ว่าชาวต่างชาติจะไม่นำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศแต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีการเปิดเที่ยวบินสำหรับการเดินทางของแขกพิเศษของรัฐบาลเช่น นักการทูตและนักเรียนต่างชาติโดยต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหากมีความประสงค์เดินทางออกนอกประเทศต้องแจ้งวัตถุประสงค์เฉพาะและรายละเอียดของการเดินทางของพวกเขามายังหน่วยงาน รวมถึงผู้ป่วยที่แสวงหาการรักษาพยาบาลในต่างประเทศจะได้รับอนุญาตให้ออกจากสปป.ลาวได้แต่จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในการเข้าประเทศปลายทาง ปัจจุบันเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ดำเนินการคือเที่ยวบินจากเวียงจันทน์ไปยังเมืองคุนหมิงของมณฑลยูนนานในประเทศจีน

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/07/19/laos–borders-remain-closed-to-foreigners-but-resume-flights-on-vientiane-hanoi-route

ชายแดนสปป.ลาว – กัมพูชายังคงปิดทำการต่อไป

สปป.ลาวได้ตัดสินใจปิดด่านชายแดนลาว – ​​กัมพูชา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ผู้ว่าราชการจังหวัดสตรึงเตรง Mr.Mom Saroeun อ้างใน Khmer Times “ถึงแม้สถานการณ์ของเราจะเริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังมีความเสี่ยงกับมาระบาดอีกครั้งทำให้รัฐบาลของเรายังคงปิดด่านชายแดนต่อไปรวมถึงสปป.ลาวที่สถานการณ์ของการระบาด COVID-19 ดีขึ้นมากแล้วก็ตาม”การปิดด่านชายแดนสร้างความเสียหาย ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวแก่ทั้ง 2 ประเทศถึงแม้ด้านการค้าและด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาจะไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว แต่หากด่านยังคงปิดต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาด Covid-19 การที่สปป.ลาวจะหันให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนอย่างอย่างไทยหรือในกลุ่ม CLMV จึงเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/24/laos-cambodia-border-to-remain-closed/

สำรวจแหล่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 จ. ภาคเหนือ เจาะสถานการณ์นำเข้าจากเมียนมาผ่านด่านแม่สอดไทย

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางภาคเหนือ โดยข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 รวม 4 จังหวัด มีจำนวน 2.319 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 2.419 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 4) ผลผลิต 1.509 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 1.743 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 13) เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อีกทั้งยังประสบปัญหาหนอนกระทู้ระบาด ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดให้มีการนำเข้าโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมของทุกปี ในอัตราภาษีนำเข้า 0% และโดยในช่วงวันที่ 1 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากแหล่งผลิตที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่รัฐฉาน อิระวดี ซึ่งมีแนวชายแดนติดต่อกับจีน จำนวนมากถึง 279,000 ตัน โดยนำเข้าทางด่านพรมแดนแม่สอดจังหวัดตาก เนื่องจาก มีการระบาดของโรคอหิวาต์อาฟริกาในสุกร ทำให้จีนมีนโยบายไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศมีแนวโน้มลดลงโดยราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาทลดลงจาก 8.65 บาท (ร้อยละ 10) ในช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เกษตรกรมีความพึงพอใจที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือ แต่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการให้เกษตรกรทราบ และแนะนำให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตรภายหลังจากที่ได้ทำการเพาะปลูกไปแล้ว 15 – 60 วัน เพื่อรับสิทธิในการช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3104872