‘IMF’ คง GDP เวียดนามปีนี้ โต 6.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 6% จากนั้นจะฟื้นตัวเป็น 7.2% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้เวียดนามเป็นประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตได้เร็วเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก 5 ประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตในเชิงบวก อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 2.7% ในปีนี้ จากระดับ 3.3% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตที่ 6% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการใช้วัคซีนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-maintains-vietnam-gdp-growth-forecast-at-65-in-2021-316951.html

IMF รายงานถึงแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานภายรวมเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดย IMF ได้สร้างแบบจำลองที่อิงกับเศรษฐกิจกัมพูชาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบระยะสั้นและระยะกลางของการระบาด ซึ่งจากรายงานคาดการณ์ว่าความต้องการ (demand) ภายในประเทศ จะลดลงร้อยละ 2 ในปี 2021 และค่าผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงของประเทศในปี 2021 ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 200 จุดจากจุดพื้นฐาน เนื่องจากสภาวะทางการเงินภายในประเทศที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นเนื่องจากการกักตุนสินค้าภายในประเทศเช่นเดียวกัน โดยรายงานยังชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50833827/imf-offers-economic-outlook-on-cambodia/

NBC ขอบคุณ IMF หลังร่วมประเมินสถานการณ์หลังโควิด-19 ในกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกัมพูชาได้พบกันเพื่อหารือและประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชาหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นผ่านการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และหัวหน้าทีม IMF ประจำประเทศกัมพูชา ซึ่งในระหว่างการประชุมผู้ว่าการได้แจ้งให้กับทีม IMF ทราบถึงความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการปรับปรุงนโยบายทางด้านการเงินภายในประเทศ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างเงินกู้เพื่อช่วยผู้กู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินที่เป็นผลมาจากโควิด-19 โดยผู้ว่าการได้กล่าวขอบคุณ IMF สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาของกัมพูชาโดยเฉพาะในภาคธนาคารที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815896/nbc-governor-thanks-imf-for-development-support/

IMF เตือนเศรษฐกิจเมียนมาอาจหยุดโตในปี 64

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยเศรษฐกิจเมียนมาคาดเติบโตช้าลงในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่น่าจะพุ่งขึ้นในปีหน้า  ในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือ 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.2% จากปีที่แล้ว กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเอสเอ็มอีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสียงจะไก้รับผลกระทบ ทั้งนี้คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้า 7.9% จากผลกระทบคาดว่าปัญหาความยากจนจะเพิ่มขึ้น ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าการเติบโตของเมียนมาจะชะลอตัวลงเหลือ 1.8% ในปีงบประมาณที่ 63 ส่วนปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็น 6% ทั้งนี้ IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/imf-projects-muted-growth-2021-economy.html

เมียนมาจับมืออินเดียร่วมผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19

เมียนมาอยู่ระหว่างการหารือเพื่อซื้อและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19 ร่วมกับบริษัทยาของอินเดียในประเทศ จากการหารือระหว่างนาย Saurabh Kumar เอกอัครราชทูตอินเดียประจำเมียนมาและกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา (MOHS) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 63 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีตัวเลือกผลิตวัคซีน 13 ชนิด แต่กำลังพิจารณาผลิตวัคซีนบางชนิดในประเทศโดยร่วมมือกับอินเดียและร่วมมือกันจัดตั้งหน่วยงานด้านเภสัชกรรมในการผลิตยา ปัจจุบันอินเดียมีการลงทุนมูลค่า 773 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 35 ภาคธุรกิจในเมียนมา ซึ่งเมียนมากำลังสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่น่าดึงดูดและยืดหยุ่นเพื่อต้อนรับนักลงทุนจากอินเดีย ขณะนี้กำลังขอทุนจากธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย, สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิตวัคซีน ในปีงบ 63-64 แต่ละกระทรวงอาจถูกขอให้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งใหม่เพื่อจ่ายค่าวัคซีนหากจำเป็น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกระทรวงต่างๆ ได้รับการร้องขอให้จัดสรรงบประมาณอีก 10% ให้กับแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 ทั้งนี้ MOHS กำลังหารือกับจีนและรัสเซียเพื่อขอรับวัคซีนเพิ่มเติม เมียนมาคาดว่าจะสามารถใช้ฉีดวัคซีนได้ในเดือนเมษายน 64 ประมาณ 20% จากจำนวนประชากร 54.4 ล้านคน ภายในสิ้นปีหน้าคาดว่า 40% ของจำนวนประชากรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และจะต้องได้รับการรับรองจาก WHO

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-talks-india-buy-make-covid-19-vaccines.html

เวียดนามส่งออกพุ่ง ดันเศรษฐกิจโตแซงเพื่อนบ้านใน ASEAN

โดย Marketeer

ทัพปัจจัยบวกหนุนเศรษฐกิจเวียดนามปีนี้โตจนประเทศเพื่อนบ้านต้องอิจฉา โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะโต 2.4% หลังสามารถสกัดการระบาดของโควิด-19 ได้เร็ว และยอดส่งออกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ต่างจากชาติสมาชิก ASEAN ที่ยังไม่ฟื้นจากวิกฤตโควิด แม้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จนต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์และปิดประเทศ ไม่ต่างจากเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ ASEAN และอีกหลายประเทศทั่วโลก

ตามรายงานล่าสุดของ IMF ระบุว่า เวียดนามเป็นเพียงประเทศเดียวใน ASEAN ที่เศรษฐกิจกลับสู่ขาขึ้น โดยปีนี้เศรษฐกิจจะโต 2.4% และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะโต 1.6% แม้เป็นอัตราที่น้อยแต่ยังดีกว่าสิงคโปร์กับมาเลเซียที่จะหดตัว 6% และไทยที่ยัง ‘’ป่วยหนัก’’ GDP ถดถอยถึง 7.1%

การกลับสู่ขาขึ้นของ เศรษฐกิจเวียดนาม มาจากหลายปัจจัย โดยนอกจากสกัดวิกฤตโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีแรงหนุนจากตัวเลขส่งออก ไตรมาส 3 ปีนี้การส่งออกโต 11% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

สินค้า Made in Vietnam ที่ได้เป็น ’พระเอก’ ในไตรมาสที่ผ่านมาคือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก ที่ยอดส่งออกโต 20% หลังเกิดการระบาดรอบใหม่จนหลายประเทศต้องกลับมาทำงานและเรียนที่บ้านกันอีกครั้ง ทั้งนี้ เวียดนามยังเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนส่งผลทางบวก โดยโรงงานในเวียดนามของ Foxconn และ Luxshare ที่ผลิต Smartphone และ Device เช่น ฟูฟัง ป้อนให้ Apple และ Samsung ต่างกลับมาเดินเครื่องผลิตเต็มตัว

ปัจจัยบวกทั้งหมดจะทำให้ปี 2021 เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัว 6.5% โดยแน่นอนว่าเมืองที่เงินลงทุนจากต่างชาติจะสะพัดและเงินในกระเป๋าของประชาชนจะเพิ่มขึ้นมากสุดคือ “Bac Giang” นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://marketeeronline.co/archives/198699

IMF เผยเวียดนามก้าวเป็นอันดับที่ 4 ของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์นี้ โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ จะสูงถึง 340.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ นิตยสาร Investement Bridge อ้างจาก IMF ระบุว่าเวียดนามยังคงเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจเติบโตในปีนี้และปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ในขณะที่ เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2-5 แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากการประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวกปีนี้ นอกจากนี้ ทาง IMF คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ในอาเซียน แตะ 3,497 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปีนี้ รองลงมาฟิลิปปินส์ สปป.ลาว กัมพูชาและเมียนมา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นเศรษฐกิจสำคัญเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และจะสูงถึงร้อยละ 8.2 ในปี 2564 สำหรับสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า GDP จะหดตัวลงร้อยละ 4.3 ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-to-become-4th-largest-economy-in-southeast-asia-said-imf-25227.html

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 1.6% ในปี 2563

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนาม (GDP) ในปี 2563 เหลือมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากเดิมร้อยละ 2.7 ในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่คาดว่าจะเติบโตในเชิงบวกปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ที่หดตัวมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ติดลบร้อยละ 8.3 รองลงมาไทย (-7.1%), มาเลเซีย (-6%) และอินโดนีเซีย (-1.5%) ทั้งนี้ หากประเมินในภาพรวมของเศรษฐกิจอาเซียน-5 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.4 ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2564 ในขณะที่ การเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 2.12 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 2 ในสภาวะปกติ และร้อยละ 2.5 หากได้รับแรงหนุน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-trims-vietnam-gdp-growth-forecast-to-16-in-2020-314508.html

IMF ฟันธง “เศรษฐกิจไทย” รอดตำแหน่งบ๊วยอาเซียน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะติดลบ 7.1% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ว่าจะติดลบ 7.7% ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะติดลบ 8.3% ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ส่วนปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.0% ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 ซึ่งประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คาดเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะหดตัว 1.5% ในปีนี้ และขยายตัว 6.1% ในปีหน้า, มาเลเซียจะหดตัว 6.0% ในปีนี้ และขยายตัว 7.8% ในปีหน้า, ฟิลิปปินส์จะหดตัว 8.3% ในปีนี้ และขยายตัว 7.4% ในปีหน้า ส่วนเวียดนามเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีการขยายตัวในปีนี้ โดยอยู่ที่ระดับ 1.6% ขณะที่ปีหน้าขยายตัว 6.7% IMF ยังคาดการณ์ว่าไทยมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในอาเซียน โดยทรงตัวที่ระดับ 1.0% ในปีนี้ และปีหน้า เช่นเดียวกับในปี 2562

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/money_market/452697

เมียนมาอนุมัติกู้สินเชื่อของ ADB หนี้คงค้างที่ 8.8 ล้านล้านจัตในปี 61-62

หนี้ในประเทศและต่างประเทศของเมียนมาอยู่ที่ 40.8 ล้านล้านจัต ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 40 ของ GDP ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมแจ้งให้รัฐสภาทราบเกี่ยวกับรายงานหนี้สินประจำปี 2561- 2562  ในวันที่ 24 กรกฎาคม หนี้ของประเทศประมาณร้อยละ 63 เป็นหนึ้ภายในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันเงินทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้กับกระทรวงการก่อสร้างและกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน คาดว่าในปีนี้หนี้จะเพิ่มขึ้นอีกโดยรัฐบาลได้กู้ยืมเงินจาก ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสนับสนุนโครงการระดับประเทศและโครงการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของ COVID-19 สภาผู้แทนราษฎรของเมียนมาอนุมัติการกู้ยืมเงิน 171.3 ล้านดอลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ใช้ในโครงการไฟฟ้าเขตชนบทในรัฐกะเหรี่ยง เขตอิรวดี เขตพะโค และเขตมะกเว คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับ 2,815 หมู่บ้าน จำนวน 400,400 ครัวเรือน เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเวลา 32 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผันแปดปีซึ่งจะเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1 สำหรับส่วนที่เหลืออีก 24 ปี อัตราดอกเบี้ยจะเป็นร้อยละ 1.5 โดยอัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 15

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-adb-loan-outstanding-debt-hits-k408-trillion-2018-19.html