รัฐสภาเวียดนามเผยเศรษฐกิจโต 6% ปี 2564

สมัชชาแห่งชาติ หรือรัฐสภาเวียดนาม มีมติอนุมัติแผนเศรษฐกิจและสังคม ปี 2564 นับว่าเป็นหนึ่งใน 12 เป้าหมายที่สำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมในปีหน้า ด้วยเสียงสนับสนุน (89.21%) เมื่อวันที่ 11 พ.ย. อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างการประชุมนั้น สมาชิกสภาค่อนข้างแสดงความกังวลต่อเป้าหมายของการเติบโต GDP ร้อยละ 6 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยังเสนอให้ตั้งเป้าต่ำกว่าร้อยละ 5.5-6 ซึ่งการตั้งเป้าหมายของการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 6 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติคาดว่าจะมีมาตรการในการรับมือต่อปัญหานี้เสียที่รุนแรง โดยรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างสถาบันสินเชื่อ รวมถึงธนาคารที่อ่อนแอ เพื่อความปลอดภัยของระบบธนาคาร นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลจัดสรรทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสต่อไป โดยเฉพาะภาคการผลิต บริการ ท่องเที่ยวและการบิน รวมถึงผู้คนตกงานและผู้ที่มีรายได้ลดลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-economy-to-grow-6-in-2021-parliament-314788.html

IMF ฟันธง “เศรษฐกิจไทย” รอดตำแหน่งบ๊วยอาเซียน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะติดลบ 7.1% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ว่าจะติดลบ 7.7% ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะติดลบ 8.3% ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ส่วนปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.0% ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 ซึ่งประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คาดเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะหดตัว 1.5% ในปีนี้ และขยายตัว 6.1% ในปีหน้า, มาเลเซียจะหดตัว 6.0% ในปีนี้ และขยายตัว 7.8% ในปีหน้า, ฟิลิปปินส์จะหดตัว 8.3% ในปีนี้ และขยายตัว 7.4% ในปีหน้า ส่วนเวียดนามเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีการขยายตัวในปีนี้ โดยอยู่ที่ระดับ 1.6% ขณะที่ปีหน้าขยายตัว 6.7% IMF ยังคาดการณ์ว่าไทยมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในอาเซียน โดยทรงตัวที่ระดับ 1.0% ในปีนี้ และปีหน้า เช่นเดียวกับในปี 2562

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/money_market/452697

ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 78.9 ล้านเหรียญออสฯ ให้กับเวียดนาม

ตามคำแถลงการณ์ประกอบงบประมาณของรัฐบาลออสเตรเลียในปี 2020-2021 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) ไปยังกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เงินทุนในการช่วยเหลือดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้น 4.1 ล้านเหรียญออสฯ (2.9 ล้านเหรียญออสฯ) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเวียดนามจะได้รับเงินทุนราว 78.9 ล้านเหรียญออสฯ (หรือ 56.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2020-2021 ทั้งนี้ โครงการช่วยเหลือของออสเตรเลียในเวียดนามนั้น มีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้เวียดนามเข้าสู่ช่วงใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เวียดนามเป็นที่ตั้งโครงการทางการเงินของออสเตรเลีย 500 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง การค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 7.732 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/australia-to-provide-aud789-million-oda-for-vietnam-24979.html

Fitch Solutions ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามปี 63 เหลือ 2.6%

Fitch Solutions ได้ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเหลือร้อยละ 2.6 จากเดิมที่เคยประกาศไว้ที่ร้อยละ 3.0 สาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ GDP ของเวียดนามเติบโตร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงกว่าในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.4 จากการฟื้นตัวของภาคบริการ ทั้งนี้ ทาง Fitch Solutions คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะกลับมาที่ร้อยละ 8.2 ในปี 2564 จากการตั้งสมมติฐานว่าจะมีการเปิดประเทศ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้นและมาตรการในการคัดกรองคนจากภายนอกที่ประสบึวามสำเร็จในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐฯและสหภาพยุโรปที่มีความต้องการอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศยังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้อุปสงค์ลดน้อยลง

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/fitch-solutions-cuts-vietnams-2020-growth-forecast-to-26-from-30-314377.html

รัฐบาลการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID -19 เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การประชุมคณะรัฐมนตรีในวาระเรื่อง “การผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID -19 เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ”โดยรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะอนุญาตให้ประเทศที่สามารถควบคุมการระบาด COVID -19ได้แล้วและมียอดผู้ติดเชื้อน้อยสามารถมาเยือนสปป.ลาวได้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID -19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด อย่างไรก็ตามภายใต้นโยบายดังกล่าวจะต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเพื่อลดโอกาสการระบาดรอบ 2 ที่อาจกลับมาได้จากการเปิดประเทศครั้งนี้ นอกจากนี้ด้านการค้าจากการปิดด่านชายแดนในบางจุดที่ผ่านมารัฐบาลยังอนุญาตให้ขนส่งสินค้าได้ตามปกติแต่ยังคงไม่อนญาตให้มีการเดินทางเข้า-ออกได้ซึ่งการจะเข้ามาท่องเที่ยวนั้นจะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน รัฐบาลสปป.ลาวหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทสได้ แต่ก็มากับความท้าทายที่รัฐบาลต้องมีแผนรับมือที่ดีต่อโอกาสที่การระบาดจะกลับมาอีกรอบ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt192.php

ADB คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาจะเติบโตช้าลงในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาในปี 2020 เป็นลบร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ติดลบร้อยละ 5.4 ในเดือนมิถุนายนเนื่องจากผลการดำเนินงานทางการด้านการเกษตรที่ดีขึ้นและปริมาณการผลิตสินค้าที่นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่เพิ่มขึ้น โดยเสริมถึงเศรษฐกิจท้องถิ่นจะฟื้นตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ในปี 2021 แต่อย่างไรก็ตามการคาดการณ์นี้ยังไม่เป็นที่แน่นอนและจะขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงค่อนข้างคงที่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2020 ก่อนจะลดลงเหลือร้อยละ 1.8 ในปี 2021 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ต่ำทำให้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตลดลง โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาระบุว่าการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีจากสภาพอากาศเลวร้ายยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765972/adb-revised-forecast-says-economy-to-plunge-this-year/

ผลกระทบของ COVID-19 สู่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ผู้ประกอบการรายย่อย, ขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) กำลังเผชิญกับการหยุดชะงักของการดำเนินกิจการและการหยุดชะงักของยอดขายรวมถึงการบริการที่ลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดย MSMEs ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานในกัมพูชา ซึ่งในกัมพูชา MSMEs ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับประชากรที่อยู่ในช่วงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ MSMEs ในกัมพูชามีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด และมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 58 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่ง Angkor Research and Consulting. ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมโดยร่วมมือกับ Future Forum เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยข้อมูลที่พบในการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารายได้สุทธิเฉลี่ยของผู้ประกอบการในครัวเรือนลดลงร้อยละ 56 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งในระดับจังหวัดผลสำรวจระบุว่ากรุงพนมเปญและกัมปงสปือได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ในขณะที่กำปอตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งจากการขนส่งที่แย่ลงสู่การท่องเที่ยวที่ทรุดตัวอย่างหนัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765790/economic-disruption-of-covid-19/

รัฐบาสปป.ลาว พยายามหาวิธีป้องกันผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ

ในการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17-18 ก.ย. เจ้าหน้าที่ได้รับการกระตุ้นให้ดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัดและติดตามผู้คนที่เข้ามาในสปป.ลาวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกสอง เจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้วิเคราะห์ผลกระทบที่เป็นไปได้ของการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อสปป.ลาว กำหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อต้านการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและการประพฤติมิชอบทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ให้สื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวและหน่วยงานอื่น ๆ ชี้แจงประเด็นที่เป็นความกังวลของสาธารณชน มีการผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐมีการจัดเก็บรายได้มากขึ้น ได้มีการอภิปรายร่างรายงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้า กระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้รับคำแนะนำให้ทำงานร่วมกับกระทรวงการคลังและภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อสรุปรายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 9 เดือนสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี สมาชิกคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบในหลักการแผนแม่บท 5 ปีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งแต่ปี 64-68 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบริหารงานของรัฐและเสริมสร้างการบริหารจัดการขององค์กรเอกชน นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนในปี 63 การมีข้าราชการใหม่ในปี 64 และร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อส่งเสริมโอกาสในการจ้างงานในพื้นที่ชนบท

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_seeks_183.php

คลังสวนแวต 9% ทำของแพง-เศรษฐกิจเจ๊งหนักกว่าเดิม

คลังแจงขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% ชี้ทำของแพง ซ้ำเติมชาวบ้าน เศรษฐกิจเจ๊งหนักกว่าเดิม พร้อมการันตีฐานะคลังไทยแกร่ง ถังไม่แตก นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีนายสมหมาย ภาษี อดีต รมว.คลัง เสนอให้ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% เพื่อดูแลเศรษฐกิจว่า การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะต้องพิจารณาอย่างเหมาะสม เพราะหากขึ้นไปแล้วจะทำให้สินค้าและบริการแพงขึ้น อำนาจการซื้อประชาชนลดลง และซ้ำเติมประชาชนในยุคไวรัสโควิดเพิ่มอีก โดยประเมินว่าหากขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 9% จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวยิ่งกว่าเดิม จีดีพีจะลดลงอย่างน้อย 0.6% ต่อปี  พร้อมทั้งขอยืนยันว่า กระทรวงการคลังมีเงินคงคลังที่เข้มแข็ง และเพียงพอต่อการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐ รวมถึงใช้ดูแลฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศจากโควิด ตลอดจนยังสามารถบริหารจัดการหนี้ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐได้ ทั้งนี้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ครม.มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 ก.ย.64 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพและกระตุ้นให้มีการบริโภคของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/794224

ห้างฯ ยอมเฉือนเนื้อหั่นราคาระบายสต็อกครึ่งปีหลัง

นักการตลาด ชี้ ครึ่งหลังปีนี้ห้างใช้หมัดเด็ด ยอมขายขาดทุนดึงคนเข้าห้าง แห่กระหน่ำแคมเปญแรงลดสูงสุด 80% ช่วยกระตุ้นตลาด ระบายสต็อกเก่า นายชลิต ลิมปนะเวช อุปนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าขณะนี้บรรดาผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าต่างออกมาใช้กลยุทธ์ ยอมขายขาดทุนเพื่อเป็นตัวดึงดูดคนเข้าห้าง สำหรับช่วยระบายสต็อกสินค้าเก่าและกระตุ้นยอดขายชดเชยในช่วงที่ปิดให้บริการชั่วคราวไป 2 เดือน ซึ่งเห็นได้จากการที่ห้างยักษ์ใหญ่ต่างๆออกมากจัดแคมเปญ ลดราคา ตรึงราคา สินค้าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีหลังนี้เกือบทุกค่าย นายสเตฟาน จูเบิร์ท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า และรักษาการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังนี้บริษัทจะใช้กลยุทธ์ เงินเพิ่ม มาโรบินสัน โดยจับมือร่วมกับพันธมิตรแบรนด์สินค้าชั้นนำ ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องครัว และของใช้ในบ้าน ของใช้และของเล่นเด็กทั้งหมด 100 แบรนด์ รวม 10,000 รายการ เพื่อจำหน่ายสินค้าในราคาที่คุ้มค่า เช่น ตรึงราคาสินค้านาน 6 เดือน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค และกระตุ้นบรรยากาศการจับจ่ายให้คึกคักขึ้น ทั้งนี้กลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย ราคาดี ถูกจริง ไม่มีการปรับราคาสินค้าขึ้นหรือลดลงในเวลา 6 เดือน ,จำหน่ายสินค้าราคาถูกหมดแล้วหมดเลย ,ซื้อมากลดมาก และจำหน่ายสินค้าลิมิเต็ด อิดิชั่น ในราคาพิเศษ ที่มีจำหน่ายเฉพาะที่โรบินสันเท่านั้น รายงานข่าวจาก บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้จัดแคมเปญ ไอคอนสยาม ช้อปปิ้ง ดับเบิ้ลโบนัส นำสินค้ามาลดราคาสูงสุด 80% พร้อมมอบของรางวัลและบัตรกำนัลต่างๆ อาทิ  กิ๊ฟว้อยเชอร์ 1,000 บาท บัตรชมภาพยนตร์ เพื่อต้อนรับวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 3-7 ก.ย.นี้ ที่ห้างไอคอนสยาม และในช่วงเดียวกันนี้ห้างสยามเซ็นเตอร์และสยามดิสคัฟเวอรี่ ยังได้จัดแคมเปญ เซลสุดพลังรับวันหยุดยาวตลอด5 วันเต็ม ยกกองทัพสินค้าแบรนด์ดังทั้งไทยและระดับอินเตอร์มาลดราคาสูงสุด 70% เพื่อให้คนไทยได้ปลดปล่อยพลังช้อปแบรนด์สินค้ามากมาย น.ส.นงลักษณ์ โลหะมาณพ ผู้จัดการใหญ่การตลาด คอปเปอร์เรท โปรโมชั่นทบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เดอะมอลล์ได้จัดแคมเปญ พกพอยท์ มาช้อปเวอร์ โดยสมาชิกเอ็ม การ์ด นำคะแนนสะสมมาแลกเป็นคูปงส่วนลดได้สูงสุด 40% เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/792801