ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/

“จุรินทร์” เดินหน้าช่วย SMEs ทำตลาด ผลักดันขายออนไลน์-ส่งออกต่างประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงาน Smart SME Expo 2020 ว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย คิดเป็น 95% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ให้มีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้นตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” โดยจะเข้าไปช่วยเหลือทางด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลักสูตรของกระทรวงพาณิชย์มีทั้งหลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรธรรมดา ปานกลาง และหลักสูตรเข้มข้น ที่จะอบรมให้เข้าใจจนลึกซึ้ง สุดท้ายจะค้าขายได้และส่งออกได้ และโอกาสการเข้าร่วมการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศจะเปิดพื้นที่ 10-15% เป็นโอกาสให้ SMEsจัดแสดงสินค้าในตลาด CLMV และมาเลเซีย เปิดพื้นที่ให้ SMEs ในภาคต่างๆ ได้มีโอกาสมาแสดงสินค้าในงานของกระทรวงพาณิชย์  ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทำหน้าที่เซลส์แมนประเทศไปเจรจากับผู้นำเข้าในประเทศต่างๆ แล้วจับคู่ธุรกิจในประเทศไทยและลงนามสัญญาซื้อขาย ทำให้ส่งออกได้ นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ได้ลงนาม MOU ร่วมกับหัวเว่ย ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะช่วยนำเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งเทคโนโลยี 5G , IoT และระบบคลาวด์ มาพัฒนาภาคการผลิตและภาคการตลาดให้กับ SMEs ของไทย นอกจากนี้ ยังมีนโยบายผลักดันให้เด็ก GenZ เป็น CEO โดยจะช่วยให้มีความรู้ในการทำธุรกิจและการค้าขายออนไลน์ ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะทำให้ได้ 12,000 คน โดยได้เริ่มต้นไปแล้วมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ 7 มหาวิทยาลัย จัดอบรมชุดแรกไปแล้ว 1,500 คน จะทำต่อไปในภาคอื่น เพื่อให้เป็นทัพหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคโควิด-19 และหลังโควิด-19 ในอนาคต และกลุ่มนี้ถ้าไม่ไปทำสตาร์ทอัพ ก็ต้องมาทำ SMEs สุดท้ายก็จะมาเป็นกำลังสำคัญให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000112238

รัฐบาลสปป.ลาวเปิดจุดผ่านแดนในท้องถิ่นอีกครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกทางธุรกิจส่งออก-นำเข้า

รัฐบาลกำลังเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการปรับสมดุลของมาตรการควบคุมไวรัสกับการผ่อนคลายข้อจำกัด เพื่อให้ธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ดีขึ้นการยกเลิกข้อ จำกัด บางประการจะช่วยให้การค้าข้ามพรมแดนระหว่าง 4 จังหวัดในสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นอย่างไรก็ตามผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าที่ทางการสปป.ลาวและจีนวางไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระลอกสองที่อาจกลับมารุนแรงกว่าเดิม ปัจจุบันตามรายงานของ National Taskforce for Covid-19 Prevention and Control พบว่ามีผู้คนมากกว่า 40.9 ล้านคนทั่วโลกที่ทำสัญญากับ Covid-19 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.1 ล้านคนและมีผู้ฟื้นตัวอย่างน้อย 30.5 ล้านคน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtre_208.php

เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html

เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังพุ่ง 12.1% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ได้เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง 1.94 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 685 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.1 และมูลค่าร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ราคาส่งออกอยู่ที่ 352.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะมันสำปะหลังเส้นที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 81 ในแง่ของปริมาณและร้อยละ 90 ในแง่ของมูลค่า ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการบริโภคมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง 1.58 ล้านตัน มูลค่า 547 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม การส่งออกมันสำปะหลังเส้นและแป้งมันสำปะหลัง คาดว่าจะเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากจีน ประกอบกับสินค้าคงเหลือในประเทศอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cassava-exports-enjoy-121-surge-over-nine-months-784473.vov

พาณิชย์โชว์ส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ไทยโตต่อเนื่อง 8 เดือน เพิ่มขึ้น 7.9% พาณิชย์ดันเจ้าตลาดด้วยเอฟทีเอ

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (จร.) กล่าวในการสัมมนา โครงการ “โคนมไทยก้าวไกล ขยายตลาดส่งออกได้ด้วยเอฟทีเอ” ว่าโครงการดังกล่าวกรมดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 สามารถขยายการส่งออกสินค้านม UHT นมอัดเม็ด ไอศกรีม และโยเกิร์ต ไปตลาดคู่ค้าเอฟทีเอ โดยเฉพาะจีน และอาเซียน (สิงคโปร์ กัมพูชา เมียนมา) และผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพื่อให้อุตสาหกรรมโคนมและนมโคแปรรูปของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพในตลาดโลก และพัฒนาไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์นมโคในภูมิภาค ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) ไทยส่งออกสินค้านมโคและนมโคแปรรูปไปตลาดโลก 382 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ นมพร้อมดื่ม UHT นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และนมจืด ตลาดส่งออกหลักคือ อาเซียน (กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เมียนมา สปป.ลาว และสิงคโปร์) 82.7% จีน 5.4% และฮ่องกง 3.4% ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าเอฟทีเอของไทยที่ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมโคและนมโคแปรรูปให้ไทยแล้ว ทั้งนี้ ไทยจึงมีความได้เปรียบในการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านจากทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กันและประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน จึงเป็นโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการไทย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_5067398

ส่งออกไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ลุ้นปีนี้ติดลบแค่ 8%

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.94% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  ส่วนการนำเข้าในเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 15,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง19.68 % ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ขณะที่ภาพรวม 8 เดือน (ม.ค.- ส.ค) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 153,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   การส่งออกในเดือนส.ค. กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 13.2% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน  โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ น้ำตาลทราย ยางพารา ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ข้าว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1.กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกที่ยังมีความอ่อนแอ 2.ค่าเงินบาทที่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง 3.International logistics  พบว่าค่าระวางสูง 4.ปัญหาภัยแล้ง 5. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ “ส่งออกไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว หลังมีการเปิดประเทศ  ซึ่งส่งออกเดือน ส.ค.ติดลบ 7.94% ถือว่ามีแนวโน้มติดลบน้อยลง แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาต้นทุนขนส่งและปริมาณตู้สินค้าที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากการส่งออกของจีนขยายตัว 11% จนอาจฉุดการฟื้นตัวส่งออกไทย”

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/634829

ส่งออก ส.ค.ฟื้นติดลบแค่ 7.94% มูลค่าทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญในรอบ 5 เดือน

“พาณิชย์” เผยการส่งออกเดือน ส.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง มูลค่าเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในรอบ 5 เดือนอัตราการขยายตัวติดลบเหลือ 7.94% ส่วนยอดรวม 8 เดือนลบเหลือ 7.75% คาดแนวโน้มยังเป็นขาขึ้นลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูก มั่นใจทั้งปีลบไม่เกิน 2 หลัก น่าจะลบ 5% ถึงลบ 8% โดย น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.94% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทั้งในแง่มูลค่าที่กลับมาส่งออกเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในรอบ 5 เดือนนับจากเดือน เม.ย. 2563 และการขยายตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยลบสูงสุดถึง 23.17% ในเดือน มิ.ย. 2563 ถือว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,863.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.68% ทำให้เกินดุลการค้ามูลค่า 4,349.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดรวม 8 เดือนปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 153,374.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.75% นำเข้ามูลค่า 134,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.31% เกินดุลการค้ามูลค่า 18,393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในต่างประเทศก็มีการส่งออกที่ลดลง เช่น ญี่ปุ่น ลด 16.6% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ลด 16.9% อาเซียน 5 ประเทศ ลด 16.5% CLMV ลด 9.3% เป็นต้น ทั้งนี้ มองว่าการส่งออกของไทยทั้งปีจะไม่ติดลบในระดับ 2 หลักอย่างที่หลายๆ ฝ่ายได้ประเมินเอาไว้ น่าจะติดลบ 5% ถึงลบ 8% โดยการส่งออกลบ 5% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,145 ล้านเหรียญสหรัฐ และลบ 8% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 18,298 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000097477

Beef Board ทบทวนยุทธศาสตร์ 20 ปี หวังปั้นไทยเป็นผู้นำการส่งออก

นส.พ.อภัย สุทธิสังฃ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยผลประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ว่า ที่ประชุมได้ทบทวนข้อเสนอยุทธศาสตร์โคเนื้อ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในภาพรวมคือ การเป็นผู้นำการผลิตโคเนื้ออย่างมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยในระยะ 5 ปีแรก Beef Board ได้ทบทวนผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นการรักษาตลาดการบริโภคโคเนื้อไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการกระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อไทย และยุทธ์ศาสตร์ที่ 3 เป็นการบริหารจัดการพืชอาหารสัตว์และอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตโคเนื้อที่เพียงพอต่อการบริโภคและส่งของในภูมิภาค ในระยะ 10 ปีประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาดโคเนื้อและผลิตภัณฑ์ในอาเซียน+3 ในระยะ 15 ปีประเทศไทยจะเป็นผู้นำการตลาดมูลค่าโคเนื้อด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และในระยะ 20 ปี ประเทศไทยจะเป็นผู้นำการส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์เนื้อโคในตลาดโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกว่า 909,324 ราย ซึ่งมีโคเนื้อทั้งหมดกว่า 6,230,140 ตัว โดยประมาณการผลผลิตโคเนื้อในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 1.224 ล้านตัว เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3159845

จังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ส่งออกไม้พุ่ง 21% ถึงแม้เผชิญโควิด-19

จังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ส่งออกไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ม.ค.-สิ.ค. ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ซึ่งประธานสมาคมผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ กล่าวว่าจังหวัดข้างต้น มีสัดส่วนของการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 72.6 ของแผนรายปี ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประจำจังหวัด ให้การสนับสนุนไปยังบริษัทไม้ในการปรับโครงสร้างการผลิตและส่งเสริมการปกป้องพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าจังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ยังคงรักษาต่ำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางแปรรูปไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของเวียดนาม โดยปัจจุบัน ทางจังหวัดดังกล่าวเป็นที่ตั้งของธุรกิจแปรรูปไม้ 200 แห่ง และสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ประมาณ 20,000 คน อีกด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-dinhs-wood-exports-surge-21-percent-despite-pandemic/183069.vnp