ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา ลดฮวบ 10.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนมีมูลค่ามากกว่า 10,140.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเกือบ 495 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปีงบฯ 63-64 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 6,890.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 3,250.407 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 10,140.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7,187.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 3,447.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรวมมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 10,635.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.63 ถึงปลายเดือนก.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,609 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในหมวดตัด เย็บ และบรรจุห่อ (CMP) รองลงมาคือก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่า 3,119 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ .ข้าวและข้าวหักมูลค่า 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ .ปัจจุบันเมียนมากำลังพัฒนายุทธศาสตร์การส่งออกระดับชาติเพื่อกระตุ้นการส่งออก ในภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ภาคการประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการด้านลอจิสติกส์ ด้านบริการข้อมูลการค้าและนวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/221426

‘จุรินทร์’ปลื้มค้าชายแดน เดือนก.ย.สร้างรายได้เพิ่ม 38.32%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเดือนก.ย. 2564 มีมูลค่ารวม 157,182 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 35.3% เป็นการส่งออก มูลค่า 96,184 ล้านบาท เพิ่ม 38.32% และนำเข้า มูลค่า 60,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.8% และยอดรวมการค้า 9 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 1,275,542 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.67% เป็นการส่งออก มูลค่า 778,367 ล้านบาท เพิ่ม 38.06% และนำเข้า มูลค่า 497,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.78% ทั้งนี้ เป้าหมายปี 2564 ตั้งเป้าขยายตัว 3% ต้องทำตัวเลขการส่งออกให้ได้ 789,198 ล้านบาท แต่ผ่านมา 9 เดือน ทำไปแล้ว 778,367 ล้านบาท ขาดอีกนิดเดียว ก็จะครบตามเป้าหมาย คิดเป็น 98.63% ของเป้าหมาย ยังเหลืออีก 3 เดือน ต.ค.-ธ.ค. จะเกินเป้าหมายที่ 3% แน่นอน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/615676

พาณิชย์เผยค้าชายแดน-ผ่านแดน สค.โต 32.56%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในช่วงเดือน ส.ค.64 พบว่า มีมูลค่ากว่า 1.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.56 โดยเป็นการส่งออกกว่า 9.1 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 39 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี การค้าชายแดนและผ่านแดน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.18 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 6.82 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.03 โดยการค้าผ่านแดนไปยังประเทศจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากการส่งออกผลไม้ไปจีน มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท รวมถึงการเปิดด่านรอบประเทศที่มีอยู่ 97 ด่าน เปิดได้แล้ว 46 ด่าน โดยเฉพาะ ด่านฝั่ง สปป.ลาว มาเลเซียและกัมพูชา มีนโยบายเร่งรัดผลักดันให้มีการเปิดด่านได้เร็วขึ้นและมากที่สุด เพื่อให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนขยายตัวมากกว่าที่เป็นอยู่

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_201148/

ปีงบประมาณ 63-64 ไทยขึ้นแท่นคู่ค้าหลักของเมียนมา

จากข้อมูลขององค์การสถิติกลาง (Central Statistical Organization – CSO)  10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมา มีมูลค่า 4.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยคู่ค้าสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกส่วนใหญ่นอกจากไทยแล้วจีนถือเป็นคู่ค้านอกภูมิภาคที่สำคัญของเมียนมา ซึ่งการค้าระหว่างเมียนมาและไทยแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่ากว่า 2.548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 1.569 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีส่งผลให้การค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา และสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58 เปอร์เซ็นต์) มะพร้าว (สดและแห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องสำอาง น้ำมันพืชที่รับประทานได้ และผลิตภัณฑ์อาหาร เมียนมามีการค้าขายชายแดนกับไทยผ่านพื้นที่ชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี มะริด มอตอง ตีกี คอทุ่ง และเมเซ ตามลำดับ โดยเมียวดีเป็นชายแดนที่มูลค่าการค้าที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ตีกี อย่างไรก็ตาม การค้าผ่านชายแดนซบเซาจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การค้าทางบกลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thailand-tops-among-trading-partners-in-regional-countries-this-fy/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมาลดฮวบ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

มูลค่าการค้าชายแดนเมียนมารวม 7.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 693 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 8.34 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ  แบ่งเป็นการส่งออก 4.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้า 2.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณการค้าที่ด่านชายแดนมูเซ ระหว่างจีน-เมียนมา มีมูลค่า 2.92 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 638 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เมียนมามีด่านการค้าชายแดน 18 แห่ง ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ฟาร์ม สัตว์ ทะเล ป่าไม้ เหมืองแร่ สินค้า CMP และอื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม สินค้าส่วนบุคคล และวัตถุดิบ CMP เป็นหลัก

ที่มา : https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/2021/07/28_July_21_gnlm.pdf

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

ค้าทวิภาคี ไทย – เมียนมา พร้อมดำเนินการหลังไทยเปิดชายแดน

การค้าที่ประตูพรมแดนชั่วคราวพิเศษเมืองหินขุนบริเวณชายแดนระหว่างเมียนมาร์และไทยกลับมาดำเนินการอีกครั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 64 หลังจากฝ่ายไทยเปิดด่านอีกครั้ง ประตูด่านมุต่อง  (Mawtaung) ในเขตตะนาวศรีประตูพรมแดนหินขุนในประเทศไทยถูกหลายครั้งเนื่องจากการระบาดของ COVID -19 ไทยตัดสินใจเปิดประตูอีกครั้งในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ แต่เริ่มการค้าได้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา การค้าทวิภาคีเมียนมาเปิดประตูชายแดนมะแว้ง แต่ไทยเปิดประตูพรมแดน Hsinkhu ชั่วคราวซึ่งหลังจากปิดบ่อยครั้งบ่อยครั้งจากการระบาดของโควิด -19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/bilateral-trade-resumes-after-thailand-reopened-its-border-gate

การค้าชายแดนปี’ 64 มีลุ้นเติบโต 4.3% จับตาการค้าข้ามแดนไปประเทศที่ 3

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในปีที่ผ่านมาเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องประสบเป็นปีแรกไม่เพียงทำให้กำลังซื้อของคู่ค้าชะลอตัว ยังทำให้พรมแดนระหว่างประเทศจำเป็นต้องจำกัดจุดผ่านแดนเหลือเพียงเฉพาะช่องทางที่สำคัญเท่านั้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจปล่อยรถขนส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้กดดันการส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในภาพรวมให้หดตัวร้อยละ 2.16 มีมูลค่า 766,314 ล้านบาท ในปี 2563

สำหรับปี 2564 เป็นอีกปีที่โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เข้ามาช่วยเสริมให้ตัวเลขการค้าชายแดนพลิกฟื้นกลับมา ขณะที่โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยที่พึ่งพาตลาดประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยเกินกว่าครึ่ง (เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย) กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ฉุดการส่งออกชายแดนในภาพรวมลดลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2564 การส่งออกชายแดนไปตลาดเหล่านี้จะยังมีทิศทางเติบโตเชื่องช้าต่อไปขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 มีมูลค่าการส่งออก 454,005 ล้านบาท ดังนี้

  • การส่งออกชายแดนของไทยเริ่มมีปัญหามีมูลค่าการค้าลดลงเรื่อยมา ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อและจำนวนประชากรของคู่ค้า จึงทำให้ทิศทางการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้เติบโตได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา
  • โครงสร้างการส่งออกสินค้าแบบเดิมของไทยตอบโจทย์ตลาดคู่ค้าได้น้อยลง

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างการส่งออกของไทยไม่เอื้อต่อการส่งออกไปยังตลาดชายแดนหลักของไทยดังเช่นในอดีต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดดาวรุ่งที่จะมาสนับสนุนการค้าชายแดนของไทยอยู่ที่การส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 (สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ) ซึ่งเริ่มมีสัญญาณเติบโตมาระยะหนึ่ง โดยสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกชายแดนและผ่านแดน (จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 37 ในปี 2561) อีกทั้งสินค้าไทยที่ไปตลาดนี้มีศักยภาพโดดเด่นจึงน่าจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่นๆ โดยคาดว่าปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 8.5 มีมูลค่าส่งออกราว 345,191 ล้านบาท

โดยสรุป ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้ผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 มาได้อีกปีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการบริโภคสินค้าจากไทย รวมถึงสินค้าในกลุ่ม IT มีสัญญาณเร่งตัวตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่องยิ่งผลักดันการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ให้มีบทบาทสำคัญ ด้วยแรงขับเคลื่อนดังกล่าว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2564 จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 มีมูลค่าการส่งออก 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการเติบโตที่ร้อยละ 3.3-5.5 มีมูลค่าการส่งออก 791,602-808,461 ล้านบาท) โดยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดีเพียงใด การส่งออกไปตลาดส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวยกเว้นบางประเทศที่หดตัวจากปัจจัยเฉพาะ อาทิ เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองในประเทศฉุดเศรษฐกิจ และโรคระบาดในสุกรที่กัมพูชาทำให้ฐานปีก่อนสูงผิดปกติอย่างมาก

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ต้องยอมรับว่าโครงสร้างการผลิตและส่งออกของไทยในปัจจุบันไม่เอื้อให้ค้าชายแดนไทยเติบโตได้อย่างมั่งคงนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่มน้อยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ขนาดตลาดมีจำกัดจึงไม่สามารถผลักดันค้าชายแดนให้เร่งตัวได้มาก ทำได้เพียงแค่ประคองการเติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าเป็นหลัก ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทยอย่างยางพารากับผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นในตัวเองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนค้าชายแดนไทยไปยังประเทศจีนและเวียดนามได้อย่างต่อเนื่องและยังคงมีช่องทางอันสดใส แต่สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงในกลุ่มยานยนต์ เทคโนโลยีโดยเฉพาะสินค้า IT ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการค้าชายแดนของไทยนับจากนี้ไป แต่สินค้าเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงส่งให้แก่ไทยได้อีกนานแค่ไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติว่าจะเลือกลงทุนในไทยหรือย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่อื่น ดังนั้น การกระตุ้นการค้าชายแดนซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าในภาพรวมของไทยก็คงต้องเริ่มจาการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตของไทยให้ยกระดับไปอีกขั้น จนสินค้าไทยเกิดความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของคู่ค้าเหนือคู่แข่งชาติอื่นๆ

ที่มา :

/1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Border-Trade-z3191.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-frontier-19022021

พาณิชย์เมียนมาเร่งเปิดด่านตามู หวังกระตุ้นค้าชายแดน

การค้าชายแดน (Tamu) ระหว่างอินเดียและเมียนมาจะกลับมาดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา นาย Hla Maung ประธานสมาคมพ่อค้าการค้าชายแดนด่านตามู (Tamu) เผย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพแรงงานเรียกร้องให้เปิดการค้าชายแดนตามูแนวทางและกฎเกณฑ์ของการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19  โดยทำการจัดประชุมระหว่างรัฐบาลภูมิภาคและรัฐมนตรีแบบทวิภาคีในสัปดาห์หน้า เนื่องจากการปิดการค้าชายแดนทำให้ผู้ค้าขาดทุน โอกาสในการทำงานในท้องถิ่นลดลงเรื่อย ๆ การค้าผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การค้าชายกลับมาดำเนินได้อย่างปกติ การระงับการค้าชายแดนตามูเกือบ 9 เดือนได้นำไปสู่ความเสียหายต่อสินค้าและส่งผลต่อผู้ค้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การเปิดชายแดนจะไม่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าที่มีรายได้สูงเพียงอย่างเดียวเนื่องจากเมืองนี้มีรายได้จากค่าจ้างรายวันจำนวนมาก เนื่องจากตลาด Nanfarlon ในตามู ซึ่งมีผู้คนจากชายแดนอินเดียพึ่งพาตลาดจึงประสบปัญหาทางการเงิน ในขณะเดียวกันการค้าผิดกฎหมายทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/tamu-border-trade-to-resume-promptly-in-line-with-health-guidelines

จีนเดินหน้าสร้างเขตการค้าชายแดนในมูเซ-หลุ่ยลี่

จีนเดินหน้าสร้างสร้างเขตการค้าสองในสามแห่งที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาภายใต้ข้อตกลงโครงการ มูเซ-หลุ่ยลี่ (Kyegaung) รัฐบาลทั้งสองได้ตกลงที่จะเป็นพื้นที่หลักสำหรับการค้าระหว่างจีนและเมียนมา ในขณะที่เขต Kyu Kote –Pang Sang –Wantain – Kyin San Kyawt จะถูกกำหนดให้เป็นการแปรรูป การผลิตสินค้าเพื่อส่งออก และคลังสินค้า ซึ่งรัฐบาลจีนได้ร่างแผนสำหรับสองโครงการใน Shweli (Kyegaung) และ Wantain และให้เมียนมาติดตามการพัฒนาในพื้นที่ของทั้งสองโครงการนี้ พื้นที่หลักมูเซ-หลุ่ยลี่ ถูกจินตนาการเป็นพื้นที่รูปสามเหลี่ยมทอดยาวจาก Nam Phat Kar ไปทางตอนเหนือของ Namkham และถึง Kyukote (Pangsang) ทางตอนใต้ เขตการค้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนจีน – เมียนมา และเมื่อไม่นานมานี้เมียนมาคาดว่าจะพัฒนาโซนหลักในสามแห่ง ได้แก่ มูเซ, ชินฉ่วยฮ่อ และ กันพิตตี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-implement-two-three-border-trade-zones.html