รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html

สุริยะ สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี

รมว.อุตสาหกรรม สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี ขับเคลื่อนศก. พร้อมอัดสินเชื่อ 4 หมื่นล้านบาท 24,000 กิจการพลิกฟื้นธุรกิจ หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีดีแบงก์ ว่า ได้สั่งการให้ธพว.เร่งพักชำระหนี้เงินต้นให้กับลูกค้ารายเดิมเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีจากเดิม 6 เดือน และให้ขยายสัญญาเงินกู้จากเดิม 5-7 ปี เป็น 5- 10 ปี เพื่อลดผลกระทบให้กับเอสเอ็มอีจากไวรัสโควิด-19 จะได้มีเวลาปรับตัวและกลับมาฟื้นฟูกิจการได้ ที่สำคัญยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถจ้างงานได้ต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีได้ประมาณ 24,000 กิจการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ดธพว. กล่าวว่า ธพว.มีมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ มาตรการลด-พัก-ขยาย-ผ่อน-เพิ่ม ล่าสุดวันที่ 22 พ.ค.63 มีเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่มาตรการแล้ว 9,458 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 14,924 ล้านบาท แยกเป็น กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง 4,892 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,082 ล้านบาท และกลุ่มได้รับผลกระทบทางอ้อม 4,566 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,842.63 ล้านบาท

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/777645

รัฐบาลสปป.ลาวผ่อนปรนมาตรการ COVID-19 หลังไม่พบผู้ติดเชื้อ

รัฐบาลได้ยกเลิกข้อจำกัด ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้คนสามารถค่อยๆกลับไปสู่การใช้ชีวิตภายใต้การดำรงชีวิตสมัยใหม่ (New normal) หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวลดลงเรื่อยๆจนไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิต โดยรัฐบาลได้มีข้อกำหนดในการผ่อนปรนกิจกรรมต่างให้กลับมาไม่ว่าจะเป็น สถานศึกษาที่จะกลับมาเปิด รวมถึง ห้างสรรพสินค้า ตลาดและสนามกีฬาต่างๆ รวมถึงการเดินทางที่จะอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างจังหวัดก้นได้แต่ด่านพรหมแดนยังคงปิดอยู่  อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดแต่ทุกคนยังคงต้องปฎิบัติตามคำแนะนำภาครัฐและระมัดระวังต่อไป การลดมาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของสปป.ลาวหลังจากได้รับผลกระทบจนทำให้มีผู้ว่างเพิ่มขึ้นถึง 25% รวมถึงการค้าการลงทุนที่หยุดชะงักลง รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะกลับเติบโตได้ดีอีกครั้งหลังจากผ่านพ้นวิกฤตCOVID-19 และจากมาตรการฟื้นฟูและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_eases_103.php

โครงการรถไฟลาว – จีนจะเปิดรับสมัครพนักงานประจำสถานี

โครงการรถไฟฟ้าจะเปิดรับสมัครคนงานที่จะมาทำหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ เมื่อโครงการเสร็จซึ่งมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปลายปี64 ระหว่างนี้ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมต่างๆจากทั้งทางการจีนและสปป.ลาวก่อนแล้วจึงจะเริ่มงาน โครงการรถไฟฟ้าจีน-สปป.ลาวเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 59 และดำเนินการสร้างมาอย่างต่อเนื่องแม้ในปัจจุบันจะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ตามทางผู้รับเหมาก็ได้มีการวางแผนอย่างดีเยี่ยมเพื่อให้โครงการยังคงเดินต่อไปได้ โดยเสน้ทางรถไฟจะผ่านเมื่องสำคัญของสปป.ลาวและมาสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันท์ คาดการณ์ว่าเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์ด้านการขนส่ง การค้าและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จะสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้แก่สปป.ลาว ในอีกด้านการเกิดขึ้นยของสถานีรถไฟแต่ละเมืองจะทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มทำให้เศรษฐกิจนอกเมืองสำคัญได้รับประโยชน์ไปด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Recruits100.php

ออเดอร์ถุงมือยางพุ่ง ช่วงโควิด-19 ส่งออก4 เดือนแรก โต 16%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากสินค้าดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ป่วย นอกจากนี้ ถุงมือยางยังเป็นสินค้าจำเป็นในยุคความปกติใหม่ (New Normal)เพราะประชาชนตื่นตัวเรื่องสุขอนามัยและหันมาใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อโรคมากขึ้น ทำให้ความต้องการถุงมือยางในตลาดสูงขึ้นหลายเท่าตัว สำหรับตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว เช่น จีน ขยายตัว 129.5% มูลค่าส่งออก 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย ขยายตัว 79% มูลค่าส่งออก 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อาเซียน ขยายตัว 77% มูลค่าส่งออก 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ สหรัฐอเมริกา ขยายตัว 9% มีมูลค่าส่งออก 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในปี 2562 ไทยผลิตถุงมือยางได้กว่า 2 หมื่นล้านชิ้น มีสัดส่วนการส่งออกถึง 89% ของการจำหน่ายถุงมือยางทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 1,203 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/624459

ธุรกิจท่องเที่ยวเมียนมาพร้อมเปิดตัวใหม่

บริษัททัวร์ของเมียนมามากำลังเตรียมที่จะจัดทัวร์อีกครั้งซึ่งถูกระงับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐในการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 โดยมุ่งเน้นไปที่ตลาดในประเทศในตอนแรก และมาตรการความปลอดภัยจะถูกนำมาใช้กับทั้งแรงงานในภาคท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้สายการบินระหว่างประเทศบางแห่งได้ประกาศให้เที่ยวบินไปย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมาเยือนเมียนมาลดลง 44% จากเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวมีเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ ในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 23% เป็น 4.36 ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก 3.55 ล้านคนในปีที่แล้ว โดยชาวจีนคิดเป็นหนึ่งในสามของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนปีที่แล้วและเพิ่มขึ้น 152% จากปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-businesses-prepare-reopen.html

โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขนาด 400 mW ในกันดาลจะเริ่มก่อสร้างในเดือนหน้า

การก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทข้นขนาด 400 เมกะวัตต์ (mW) ในจังหวัดกันดาล ซึ่งวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการในช่วงต้นเดือนมิถุนายนแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้โครงการนี้หยุดชะงักเนื่องจากวิศวกรโยธาชาวต่างชาติที่มีสำคัญในการดำเนินการไม่สามารถบินไปยังกัมพูชาเพื่อทำงานต่อได้ โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานและโฆษกของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานได้กล่าวไว้ ซึ่งกล่าวเสริมว่าการก่อสร้างในโครงการยังคงเดินหน้าต่อไป แต่มีปัญหาในการรับทีมเทคนิคเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทาง โดยรัฐบาลยังมีแผนที่จะสร้างสถานีย่อยที่เชื่อมต่อโครงการขนาด 400 mW ไปยังกริดแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการรักษาเสถียรภาพของแหล่งพลังงานของประเทศ ปัจจุบันโครงการไฟฟ้า 12 โครงการกำลังดำเนินการอยู่ 7 โครงการเป็นเขื่อนพลังน้ำด้วยกำลังการผลิตรวม 2,093 mW รัฐบาลยังได้รับใบอนุญาตสำหรับโครงการพลังงานอีก 9 โครงการซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 1,500 mW ในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726931/kandals-400mw-heavy-fuel-power-plant-to-resume-construction-next-month/

ภาคอุตสาหกรรมในกัมพูชายังคงเรียกร้องให้มีการสนับสนุนทางเศรษฐกิจต่อไป

ผู้สนับสนุนธุรกิจยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นต่อไป ในระหว่างและหลังการระบาดของ COVID-19 ผ่านการปล่อยสินเชื่อในหลายแบบและนโยบายใหม่เพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากขึ้นในกัมพูชา โดยการประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลประกาศแผนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อลดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับธุรกิจในภาคการผลิตการเกษตร การค้าและภาคบริการตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งบริษัทในภาคส่วนนี้จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่ใช้และคาดว่าจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 25% โดยผู้นำในอุตสาหกรรมได้เรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และส่งเสริมให้กัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ประกอบการ ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและผลประโยชน์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปี 2563 ของกัมพูชาจะหดตัว -1.7% ในปีนี้สอดคล้องกับการหดตัวทั่วโลกที่ -3.0%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726929/industry-leaders-continue-to-call-for-further-economic-support/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้แก่สปป.ลาวส่งเสริมการป้องกัน COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนด้านความมั่นคงด้านสุขภาพโดยรัฐบาลสปป.ลาวได้นำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์เพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของ COVID-19 ที่อาจกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงอีกครั้งถึงแม้สปป.ลาวจะมีมาตราการในการป้องกันอย่างเคร่งครัดทำให้ยอดผู้ติดเชื้อมีน้อยแต่ ABD มีมุมมองว่าสปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการระบาดของโรคในประเทศอื่นๆ ยังถือว่ารุนแรง ดังนั้นหากมาตราการต่างๆถูกผ่อนปรนก็อาจมีความเสี่ยงที่สปป.ลาวอาจกลับมาระบาดได้อีกครั้ง ดังนั้นเงินกู้ดังกล่าวจะเป็นเงินที่นำมาสนับสนุนด้านสาธารณสุขของสปป.ลาวให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_ADB99.php

เวียดนามเผยยอดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของเดือนพ.ค. หดตัวลง

มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานับตั้งแต่ต้นปีนี้ ยกเว้นสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนม.ค. ที่อยู่ในช่วงวันหยุดเต็ต (Tet) ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่ารายการสินค้าส่งออกลดลงอย่างหนัก ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน (-16.9%), เครื่องจักรและส่วนประกอบ (-14.5%) ขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 คิดเป็นมูลค่า 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และกระทบอย่างสำคัญต่อกิจกรรมการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม นอกจากนี้ การค้าต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 หากว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อในช่วงสิ้นไตรมาสที่สอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/exports-shrink-to-lowest-in-first-half-of-may/173836.vnp