ผู้ผลิตเหล็กเวียดนามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) กล่าวว่าผู้ประกอบการเผชิญปัญหาการผลิตที่ลดลงอย่างหนักและการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งบรรดาบริษัทของสมาคม มีผลผลิตเหล็ก 5.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 15 ในขณะเดียวกัน ปริมาณการบริโภค 4.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเหล็กถึง 300,000 ตัน ลดลงร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ สมาคมมองว่าในปีนี้ อุตสาหกรรมเหล็กจะเผชิญกับความลำบาก รวมถึงระบบการคุ้มครองของตลาดทั่วโลกและยังไม่มีวี่แววถึงการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาเหล็กในประเทศดิ่งลงและกิจกรรมการซื้อขายในประเทศ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเหล็กในประเทศต้องเร่งปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับการแข่งขันและมองหาตลาดส่งออกให้มากขึ้น ส่วนภาครัฐควรขยายกำหนดระยะเวลาชำระภาษีและลดภาษีแก่ผู้ผลิตเหล็ก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรอดในสถานการณ์ยากลำบาก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/steel-producers-hit-hard-by-pandemic/171598.vnp

MIC อนุมัติการลงทุนด้านแรงงานและการดูแลสุขภาพ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะเร่งอนุมัติการลงทุนในโครงการที่ต้องใช้แรงงานมากและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานจำนวนมากหางานได้มากที่สุดเพื่อชดเชยผลกระทบของการเลิกจ้างในภาคอื่น ๆ เช่น การผลิตและการท่องเที่ยว MIC จะเร่งการอนุมัติสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การผลิต เช่น หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังจะให้ความสำคัญกับสถานประกอบการด้านเภสัชกรรมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันที่ 3 เมษายนอนุมัติเงิน 555 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการใหม่ 11 โครงการในภาคการผลิตการก่อสร้างและการบริการ ในขณะเดียวกันมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าโครงการที่มีอยู่ 13 โครงการ คาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 3,234 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-accelerate-approvals-labour-intensive-healthcare-investments.html

โควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกหาย 1-1.5 ล้านล้านบาท

นายธนวรรธน์  พลวิชัย  อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนมี.ค.2563 นี้ปรับตัวลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ทำการสำรวจในรอบ21 ปี 6 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมเดือน มี.ค. อยู่ที่ 41.6 ลดลงจากเดือนก.พ.63 ที่อยู่ในระดับ 52.5 สำหรับปัจจัยลบที่มีผลต่อ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคคือความกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น, รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบริหารจัดการและควบคุมโควิด-19 ประกอบกับการสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและสถานที่ต่างๆ ทำให้เกิดการปิดกิจการยกเลิกการจ้างงาน มีแรงงานตกงาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากสถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้รุนแรงเหมือนกรณีอิตาลีเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงไปอีก อย่างแน่นอน

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875266?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

รัฐบาลกัมพูชาตัดงบ 918 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อรับมือต่อการระบาดของ Covid-19

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ประกาศว่าจะตัดงบประมาณภาครัฐฯออก 918 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายจ่ายฝ่ายทุนในปีนี้เพื่ออัดฉีดเข้าสู่ภาคสุขภาพ เพื่อต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองไว้ก่อนหน้านี้สำหรับการใช้จ่ายของหน่วยงานระหว่างรัฐบาล รวมถึงการระดมทุนในท้องถิ่น ซึ่งเงินส่วนสนับสนุนนอกจากการจัดซื้อเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกๆแล้ว นายกฮุนเซนยังกล่าวว่าส่วนหนึ่งของงบประมาณจะถูกนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารจะมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศและจะถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัย โดยทางฝั่งของคนงานการ์เม้นท์ที่ได้รับผลกระทบโดยการถูกพักงานชั่วคราวหลังจากปิดโรงงานก็จะได้รับการเยียวยาในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกัน โดยเงินจะถูกจัดสรรมาจากเงินจำนวน 8.23 ​​พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่รัฐบาลอนุมัติสำหรับค่าใช้จ่ายโดยรวมในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.7% ในปี 2562 ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 เริ่มปรากฏในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50711042/918-million-cut-from-govt-budget-to-use-for-pandemic/

จีนได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อร่วมต่อสู้ Covid-19 ในสปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวจีนเดินทางมาถึงเมืองหลวงพระบางและเมืองจำปาสักเพื่อร่วมต่อสู้กับการระบาดของโรค Covid-19 หลังจากก่อนหน้านี้ได้ไปช่วยในนครหลวงเวียงจันทน์ งานหลักของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จีนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการตรวจสอบและประเมินผลในพื้นที่เสี่ยงของทั้งสองเมืองและจะมีการฝึกอบรมระยะสั้นหลักสูตรที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่เหมาะสมแก่แพทย์และพยาบาลสปป.ลาวทั้งนี้การได้รับความช่วยเหลือจากทางการจีนจะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ของสปป.ลาวดีขึ้นจากประสบการณ์ของทีมแพทย์และเครื่องมือที่ทันสมัยที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_8Arp.php

เจ้าหน้าที่ของนครหลวงเวียงจันทน์คุมเข้มราคาสินค้าในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19

การแพ่ระบาดของไวรัส covid-19 ในสปป.ลาวทำให้รัฐบาลต้องมีมาตราการต่างๆออกมาเพื่อควบคุมอย่างล่าสุดได้ออกมาตราการ lockdown ในจังหวัดต่างๆ และให้ประชาชนกักตัวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน -19 เมษายน ทำให้ประชาชนบ้างส่วนมีการกักตุนสินค้าซึ่งทำให้มีผู้ประกอบการบางรายมีการขึ้นราคาสินค้าเกินความเหมาะสม โดยเฉพาะสินค้าที่นิยมอย่างเนื้อหมูที่ประชาชนสปป.ลาวนิยมบริโภคกัน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดราคาขายปลีกที่ 40,000 kip / kg สำหรับ type 1 (filet และ ribs) และ 38,000 kip / kg สำหรับ type 2 (เบคอนและชิ้นส่วนไขมัน) หากมีร้านค้าใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีทั้งปรับและจำคุก ซึ่งมีการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ของภาครัฐอย่างเข้มงวด และประชาชนสามารถแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงการละเมิดราคาได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/04/08/vientiane-economic-officials-patrol-wet-markets-enforces-price-controls/

แรงงานกัมพูชากว่า 5 แสนคนคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อ

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) ระบุว่าประมาณ 60% ของโรงงานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยเลขาธิการ GMAC กล่าวว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อจากโรงงานในกัมพูชาไปบ้างแล้ว ซึ่งคำสั่งยกเลิกส่วนใหญ่มาจากทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคิดเป็น 28% และ 46% ของตลาดส่งออกของกัมพูชาตามลำดับ หากทำคำนวณตัวเลขดังข้อมูลข้างต้นจะได้ 74% จากจำนวนพนักงานประมาณ 750,000 คนในภาคการ์เม้นท์ซึ่งเท่ากับพนักงานประมาณ 500,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าเหล่านี้ ในปี 2019 การส่งออกเสื้อผ้ารองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.35 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710646/half-a-million-workers-already-affected-by-cancelled-orders/

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ คาดชั่วโมงทำงานทั่วโลกลดลง 6.7% เหตุ COVID-19

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (ILO) คาดการณ์ว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 จะทำให้ชั่วโมงการทำงานของแรงงานทั่วโลก ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ลดลง 6.7% หรือเทียบเท่ากับเวลาการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลา 195 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และ ออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเวลาการทำงานของแรงงานในภูมิภาคนี้ประมาณ 125 ล้านคน แม้ว่าแรงงานในประเทศจีนจะเริ่มกลับไปทำงานแล้ว โดยในรายงานฉบับนี้ ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้ แรงงานมากกว่า 4 ใน 5 ของแรงงานทั่วโลกอาศัยอยู่ในเมืองที่รัฐบาลออกคำสั่งให้ปิดสถานที่ทำงานเต็มเวลาหรือปิดบางเวลา โดยภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ธุรกิจการบริการ ห้องพัก ร้านอาหาร โรงงาน และ ร้านค้าปลีก นอกจากนี้ ไอแอลโอ (ILO) ยังร้องขอให้รัฐบาลแต่ละประเทศออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนตกงาน พร้อมทั้งแนะนำมาตรการเพื่อแก้ปัญหา เช่น การลดเวลาการทำงาน และมาตรการว่างงานเชิงเทคนิค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไอแอลโอ (ILO) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ไม่ได้ประเมินจำนวนของผู้ที่คาดว่าจะตกงานจากวิกฤตครั้งนี้ แต่คาดว่า น่าจะมากกว่า 25 ล้านคน ตามที่ประเมินไว้เมื่อเดือนที่แล้ว

ที่มา : https://businesstoday.co/cover-story/08/04/2020/ilo-%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%94-19-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87/

ผู้อำนวยการ NBC กล่าวถึงสกุลเงินเรียลและดอลลาร์ในช่วง Covid-19

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เรียกร้องให้สาธารณชนเพิ่มการใช้สกุลเงิน riels เพื่อช่วยให้ธนาคารกลางใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศเป็นเครื่องมือในการกำหนดมูลค่าและอัตราดอกเบี้ยให้มีเสถียรภาพในตลาดในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยทั่วไปเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นให้สถาบันสินเชื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้การปล่อยสินเชื่อภาครัฐในอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่ธนาคารกลางเสนอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้ชาวกัมพูชานำเงินออกไปใช้ในระบบให้เป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีนโยบายเหล่านี้สินเชื่อบนสกุลเงิน riels ได้ลดลงจาก 25% ในปี 2559 เหลือ 10% ในปี 2563

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710320/nbc-director-general-explains-economics-of-riels-and-dollars-during-the-covid-19-crisis/

CKPower บริจาคเงิน 1 ล้านบาทสนับสนุนการต่อสู้กับ COVID-19

บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) CKPower)และบริษัทในเครือร่วมกับบริษัท ช. การช่าง (ลาว) จำกัดบริจาคเงิน 1 ล้านบาทให้กระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาว ผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์เพื่อแสดงความปรารถนาดีและความห่วงใยต่อรัฐบาลสปป.ลาวในสถานการณ์แพร่ระบาดของCOVID-19 โดยนายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKPower กล่าวว่า“ CKPower ตระหนักถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือรัฐบาลและภาครัฐในการหยุดการแพร่กระจายของไวรัส Covid-19 โดยเร็วที่สุด” ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของสปป.ลาวยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีมาตราการป้องกันต่างๆจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการ LOCKDOWN จังหวัดต่างๆ รวมถึงการให้ประชาชนกักตัวที่บ้านก็ยังพบผู้ติดเชื้อเกิดขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นเงินสนับสนุนดังกล่าวจะเป็นกองทุนสำหรับการสนับสนุนการป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงเป็นกองทุนช่วยเหลือประชาชนสปป.ลาวในสถานการณ์นี้อีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_CKPower73.php