เมียนมากวาดรายได้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ทุกปี

ตามข้อมูลของกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ของเมียนมามีส่วนสนับสนุนรายได้ประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยรายได้จากการส่งออกพืชตระกูลถั่วของเมียนมาคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งสร้างรายได้มากกว่า 1,000-1,500 ล้านดอลลาร์ต่อปี เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตถั่วรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งภาคการเกษตรของเมียนมามีส่วนสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวเปลือกมากกว่า 17 ล้านเอเคอร์และพื้นที่ปลูกพืชตระกูลถั่วและถั่ว 10 ล้านเอเคอร์ในประเทศ ซึ่งพืชตระกูลถั่วและถั่วเป็นผลผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ และครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 19 กรกฎาคมของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 การส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ของเมียนมามีจำนวนมากกว่า 775,290 ตัน มูลค่า 669.89 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกทางทะเล มากกว่า 748,600 ตัน มูลค่า 647.7 ล้านดอลลาร์ และการส่งออกผ่านชายแดน มากกว่า 26,600 ตัน มูลค่า 22 ล้านดอลลาร์ เมียนมาเป็นผู้ส่งออกถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียวรายใหญ่ที่สุด พื้นที่เพาะปลูกคิดเป็นร้อยละ 72 ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั้งหมด และปลูกถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วสีเนย ถั่วข้าว ถั่วลันเตา และถั่วชนิดอื่นๆ ในพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 28 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us1-5b-from-various-pulses-exports-yearly/

สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของเมียนมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงขั้นตอนการส่งออก

สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของเมียนมา (MWBFA) ได้เรียกร้องให้ผ่อนปรนขั้นตอนการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และพื้นไม้มูลค่าเพิ่มที่ผลิตในประเทศซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่า 500 เหรียญสหรัฐฯ ไปยังกรมป่าไม้ นายออง จอ โม รองประธานสมาคมกล่าว “MWBFA เรียกร้องให้ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของกรมป่าไม้ลง เพื่อจะได้ไม่ต้องขอใบอนุญาตจากกรมที่เกี่ยวข้อง หากเฟอร์นิเจอร์ เช่น เก้าอี้ โต๊ะ มีมูลค่าต่ำกว่า 500 เหรียญสหรัฐ เราส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้สักคุณภาพสูงเป็นหลัก รวมถึงพื้นไม้ปาร์เก้ที่ใช้แทนไม้ปาร์เก้ พื้นไม้ปาร์เก้ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม้สน และไม้ยางพารา” เขากล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกปี เมียนมาส่งออกเฟอร์นิเจอร์และพื้นไม้มูลค่าเพิ่มไปยังอินเดีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศจัดหาแหล่งวัตถุดิบรวมทั้งไม้สักผ่านการประมูลของบริษัท Myanma Timber Enterprise นอกจากนี้ MWBFA ยังจัดทำข้อตกลงการขายไม้กับบริษัท Myanma Timber Enterprise โดยบริษัทของรัฐมีสิทธิ์ตามกฎหมายในการขายผลิตภัณฑ์ไม้มูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ที่ผลิตโดย MWBFA โดยติดโลโก้ MTE บริษัทจะขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต่อให้กับแผนก โรงแรม หรือผู้ซื้อในประเทศ

ที่มา : https://www.mdn.gov.mm/en/mwbfa-urges-streamlined-export-procedures

‘ผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม’ มุ่งขยายการส่งออก

จากข้อมูลของตัวแทนบริษัท Thaco Group ระบุว่าทางบริษัทประสบความสำเร็จในการส่งออกอย่างมาก รวมถึงรถบรรทุก Kia Frontier K2500 จำนวน 120 คัน ไปยังตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่ขึ้นชื่อในเรื่องมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวด นอกจากนี้ ยังได้จัดส่ง Kia New Carnival จำนวน 400 คันไปยังอินเดีย และรถจักรยานยนต์ Peugeot Django 150cc จำนวน 45 คันถูกส่งไปยังกัมพูชา ในขณะที่บริษัท VinFast ยังคงเดินหน้าขยายการดำเนินธุรกิจ โดยมีแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์รุ่น VF3 แบบพวงมาลัยขวาในอินโดนีเซียและตลาดอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการส่งออกรถยนต์ไม่เพียงแต่เป็นผลประโยชน์ต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการส่งเสริมเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาคุณภาพรถยนต์ในประเทศ และปรับต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-auto-manufacturers-look-to-boost-exports-2373829.html

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าปี 68 ยอดส่งออกยางพารา แตะ 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมยางเวียดนาม (VRA) คาดการณ์ว่าการส่งออกยางพาราของเวียดนาม อยู่ที่ราว 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 อัตราการเติบโต 10% ต่อปี โดยราคายางพาราในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการยางพารามีรายได้และกำไรเติบโตไปในทิศทางเป็นบวก

ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกยางพาราในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 180,000 ตัน ลดลง 14.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) มูลค่า 341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.6%YoY ในขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,892 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 34%YoY

นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในปี 2567 เวียดนามส่งออกยางพาราประมาณ 2 ล้านตัน มูลค่า 3.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงหน้าตัวเลขทางสถิติที่ทำไว้ในปี 2565 ที่อยู่ระดับ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-rubber-export-expected-to-hit-11-billion-usd-in-2025-2372936.html

‘ศึกทุเรียน’ เวียดนาม-ไทย แข่งเดือดชิงตลาดส่งออกจีน

จีนยังคงเป็นผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึง 91% และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกหลายราย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เข้ามาแข่งขันสูงขึ้นในการส่งออกทุเรียนไปยังจีน อย่างไรก็ดี ทุเรียนไทยที่เป็นผู้นำตลาดนี้ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติ พบว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนามไปยังตลาดจีนในกลางปี 2565 เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงระหว่างเวียดนาม-จีน ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2565 อยู่ที่ 421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาอยู่ที่ 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า ด้วยเหตุนี้ ส่วนแบ่งตลาดทุเรียนของเวียดนามในตลาดจีน เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2565 ขึ้นมาอยู่ที่ 35% ในปี 2566

นอกจากนี้ ทางการไทยได้เตือนว่าทุเรียนไทยเผชิญกับความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการส่งออกทุเรียนเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนาม มีแนวโน้วที่จะเท่ากับทุเรียนไทยในระยะเวลาไม่ถึง 1-2 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-thailand-in-fierce-competition-exporting-durian-to-china-2369200.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกไปตลาดยุโรป ปี 67 โตแรง มูลค่าแตะ 51.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ พบว่าในปี 2567 เวียดนามส่งออกไปยังสหภาพยุโรป มูลค่า 51.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.5% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) โดยกลุ่มสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ มีมูลค่าราว 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 66.9%YoY ตามมาด้วยโทรศัพท์และชิ้นส่วน ปรับตัวลดลง 13.4%YoY มูลค่าอยู่ที่ 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าของเวียดนามกับสหภาพยุโรป มูลค่า  16.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12%YoY ทั้งนี้ ผลการการเติบโตที่แข็งแกร่งทางด้านการค้าระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป เนื่องมาจากได้รับอนิสงค์จากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 5 ของการบังคับใช้ นับตั้งแต่ FTA มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 2563

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1691572/viet-nam-s-exports-to-eu-see-impressive-recovery-in-2024.html

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกประมง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2024-2025

สหพันธ์ประมงเมียนมาและสมาคมผู้แปรรูปและส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงระบุว่า เมียนมาตั้งเป้าที่จะบรรลุมูลค่าการส่งออกจากสินค้าประมง 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2024-2025 (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2024 ถึงเดือนมีนาคม 2025) โดยเมียนมาส่งสินค้าประมงไปยังพันธมิตรการค้าต่างประเทศผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางถนน เรือ และอากาศ เจ้าหน้าที่ของ MFF และ MFPPEA กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าประมงจะอยู่ที่ 735 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน โดยการส่งออกสินค้าประมงสะสม ณ เดือนมกราคม มีมูลค่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่ารายได้จะถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายหรือไม่ อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกอาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย ช่องทางการค้าหลักในการส่งออกประมง คือ การขนส่งทางเรือ จากนั้นจึงส่งออกทางอากาศ โดยส่วนใหญ่ไปยังจีน นอกจากนี้ การส่งออกที่ชายแดนถือว่ามีมูลค่าไม่สูงมากนัก

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-targets-700m-in-fishery-exports-for-fy-2024-2025/#article-title

‘มาร์โก รูบิโอ’ ต่อสายหารือกับ รมว.ต่างประเทศเวียดนาม ย้ำแก้ปัญหาทางการค้าจากการเกินดุลกับสหรัฐ

นางแทมมี บรูซ (Tammy Bruce) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่านายมาร์โก รูบิโอ (Marco Rubio) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ สนทนาทางโทรศัพท์กับนายบุ่ย แทงห์ เซิน (Bui Thanh Son) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางการค้าที่ไม่สมดุลกับสหรัฐฯ และอุปสรรคในภูมิภาค รวมไปถึงพฤติกรรมก้าวร้าวของจีนในทะเลจีนใต้

ทั้งนี้ นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวในงานประชุมเวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม (WEF) ว่าเวียดนามเร่งหาแนวทางการแก้ไขหรือปรับสมดุลการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยได้ย้ำถึงคำมั่นสัญญาที่จะซื้อเครื่องบินจากบริษัทโบอิ้ง (Boeing) และแสดงความสนใจที่จะซื้อสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ จากสหรัฐฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการค้าจากต่างประเทศมากที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 85% ของเศรษฐกิจประเทศ และในปี 2566 เวียดนามเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ประมาณ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เวียดนามอาจตกเป็นเป้าหมายของนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ที่มา : https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-01-25/rubio-encourages-vietnam-to-address-trade-imbalances-with-us?utm_campaign=socialflow-organic&cmpid=socialflow-facebook-business&utm_content=business&utm_medium=social&utm_source=facebook&fbclid=IwY2xjawIBLO9leHRuA2FlbQIxMQABHXwMEkGZcKPcziuM8sQe1oZT5GZxZ3tzVbHTXusXg-2qVWmYbWmamXmGoA_aem_wMCBzXVGQiPiaCKIXhVLPQ

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงกว่า 400,000 เมตริกตันสู่ตลาดโลกในช่วงเมษายน-ธันวาคม 2567

ตามข้อมูลของกรมประมง เมียนมาส่งออกสินค้าประมงมากกว่า 402,300 เมตริกตันในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกว่า 56,800 ตัน มูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศผ่านการค้าทางทะเลและทางอากาศกว่า 192,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 312 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านด่านชายแดนเมียวดี เกาะสอง เชียงตุง มะริด และมอตอง เมียน มาร์ส่งออกอาหารทะเลไปยัง 40 ประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจีน ไทย บังกลาเทศ และญี่ปุ่น ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างการส่งออกสินค้าประมง

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-400000mt-of-fisheries-to-global-markets-in-apr-dec/

การส่งออกกุ้งของเมียนมาแตะ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2567

กรมประมงเมียนมาเปิดเผยว่า เมียนมาส่งออกกุ้งมากกว่า 6,250 ตันไปยังคู่ค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 31 ธันวาคม 2024 การส่งออกกุ้งมีมูลค่ารวมประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกกุ้งทางทะเลของเมียนมามากกว่า 5,070 ตัน มูลค่า 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกกุ้งผ่านชายแดนมากกว่า 1,170 ตัน มูลค่า 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไปยัง 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงญี่ปุ่น บังกลาเทศ จีน และไทย ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน เมียนมามีรายได้ 256.6 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกปลามากกว่า 240,000 ตันในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 39.344 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อนหน้า

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-shrimp-exports-reach-us21m-in-apri-dec/