‘ไทย’ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของเวียดนาม

ประเทศไทยกลายมาเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และขึ้นแท่นเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของตลาดเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกัน ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ นาย ดัง ฟุก เหงียน เลขาธิการสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ทุเรียนของไทยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้หันมาสั่งซื้อทุเรียนจากประเทศอื่นๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการในประเทศและนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ไทยก็เป็นผู้นำเข้าทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656753/thailand-becomes-viet-nam-s-second-largest-durian-importer.html

‘ข้าวเวียดนาม’ ราคาพุ่ง แต่กลับขายดี

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) รายงานว่าการส่งออกข้าวของเวียดนาม มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตันในเดือน เม.ย. ปี 2566 คิดเป็นมูลค่ากว่า 620 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายอดการส่งออกข้าวของเวียดนามสูงถึง 3.17 ล้านตัน มูลค่า 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5% และ 33.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 644 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 22% ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ฟิลิปินส์ที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่กลับซื้อข้าวปริมาณมาก

นอกจากนี้ นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าเวียดนามมีศักยภาพและโอกาสที่จะส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และแนะนำว่าผู้ส่งออกข้าวเวียดนามควรร่วมมือกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ได้ ตั้งแต่ผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงผู้ที่มีรายได้สูง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/prices-stay-high-but-vietnam-s-rice-selling-well-2281252.html

‘เวียดนาม’ ซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดสิงคโปร์

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศสิงคโปร์ รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ อันดับของผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนามแซงหน้าคู่แข่ง อินเดียและไทย เป็นครั้งแรกในตลาดสิงคโปร์ โดยมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังสิงคโปร์ อยู่ที่ 36.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 80.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 32.03% รองลงมาไทยและอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 33.63 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 33.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานการค้าแนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654252/viet-nam-to-have-many-opportunities-from-digitalisation-green-transformation-imf.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกข้าวไตรมาสแรก โตพุ่ง 42%

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ซื้อข้าวเวียดนามรายใหญ่ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน กานา มาเลเซียและสิงคโปร์ ส่งผลให้ยอดการส่งออกข้าวเติบโตอย่างน่าประทับใจ

อย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศเหล่านี้มองหาการกระจายอุปทานข้าว ซึ่งทำให้ลดการพึ่งพาข้าวจากเวียดนามอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ร้องขอให้ผู้ส่งออกข้าวในชนบทมองหาตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

นอกจากนี้ ในฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก เวียดนามตั้งเป้าที่จะสร้างรายได้จากการส่งออกข้าวในปีนี้ มูลค่าราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-q1-rice-exports-grow-42-y-o-y/

‘ผู้ส่งออกทุเรียนไทย’ เผชิญกับภัยคุกคามจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ในตลาดจีน

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดว่าเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนไทย จำเป็นต้องรักษาคุณภาพของผลไม้ให้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากเผชิญกับภัยคุกคามจากคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เวียดนามและฟิลิปปินส์ในตลาดจีน ในขณะที่จากรายงานของสำนักส่งเสริมการค้า ณ นครหนานหนิง ระบุว่าราคาขายส่งทุเรียนในตลาดจีนปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือน พ.ค. สาเหตุสำคัญมาจากผลผลิตผลไม้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากผู้ค้าส่งจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ราคาทุเรียนหมอนทองของไทยในเดือน พ.ค. ลดลงเหลือราว 36-48 หยวน หรือประมาณ 177-266 บาทต่อกิโลกรัม ขณะเดียวกันราคาทุเรียนหมอนทองจากเวียดนาม อยู่ที่ประมาณ 32-41 หยวนต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยราคาทุเรียนพันธุ์ปูยัตจากฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 37-45 หยวนต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1541981/viet-nam-will-continue-to-be-prime-destination-for-fdi-vinacapital.html

กัมพูชาขึ้นแท่นผู้ส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ระดับโลก

นายกรัฐมนตรีฮุนเซน กล่าวว่า กัมพูชาอาจกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของโลก ด้วยศักยภาพในการเพาะปลูกที่มีอยู่สูง แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการแปรรูป ซึ่งปีที่ผ่านมากัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปประมาณกว่า 1 ล้านตัน โดย นายกฯ ได้เรียกร้องให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเข้าลงทุนจัดตั้งโรงงานแปรรูป เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ภายใต้นโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์สำหรับปี 2022-2027 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพในเชิงแข่งขัน ส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพิ่มการแปรรูปให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายในปี 2027 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายในปี 2032 โดยรัฐบาลยังมุ่งส่งเสริมการส่งออกผ่านการกระจายตลาด การเชื่อมโยงข้ามภูมิภาค การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการช่วยเหลือเกี่ยวกับการลดต้นทุน ซึ่งในปี 2022 กัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์สดมูลค่ารวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ โดยผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501246447/cambodia-to-be-main-cashew-exporter/

‘สงครามรัสเซีย-ยูเครน’ โจทย์ที่ท้าทายของผู้ส่งออกเวียดนาม

นาย เหวียน จิ ฮิว (Nguyen Tri Hieu) นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ารัสเซียมีความต้องการสินค้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร อาหารทะเลและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางลบด้านอุปทานจากความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ ถึงแม้ว่าผู้ส่งออกเวียดนามจะหยุดส่งสินค้าไปยังรัสเซีย แต่ก็ยังมีตลาดทางเลือกที่ช่วยลดความเสียหาย เพราะกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิ CPTPP และ EVFTA อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเวียดนามในระยะสั้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำการค้าในตลาดรัสเซียและยูเครนเป็นตลาดหลัก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1164951/russia-ukraine-conflict-represents-a-challenge-for-exporters.html

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม ก้าวสู่ระดับโลก

งานสัมมนา “International Business Forum 2021” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟเข้ามาแชร์แนวทางในการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเวียดนามได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้แต่ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการกาแฟเวียดนามส่วนใหญ่ทำการกระจายสินค้าตลาดส่งออก ปรับปรุงคุณภาพ ดึงเอาศักยภาพของเมล็ดกาแฟชนิดพิเศษและขยายช่องทางไปยังตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ นาย Nguyen Van Minh รองประธานสมาคมฟาร์มและผู้ประกอบการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่าอุตสาหกรรมกาแฟถือเป็นอุตสาหกรรมหลักและยังคงเป็นหลักสำคัญของธุรกิจระหว่างประเทศ

ผู้ค้าแตงโมเมียนมาประเมินความต้องการในฤดูการส่งออก

สมาคมผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ส่งออกแตงโมเมลอนเมียนมา เผยกลยุทธ์ที่จะผลิตเพื่อการส่งออกและคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ในปีที่จะมาถึงนี้  จากผลของ COVID-19 ผู้ส่งออกแตงโมมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการสูญเสียและความต้องการที่ลดลงในเขตชายแดนเมียนมา- จีนในปีนี้ โดยปกติฤดูกาลส่งออกแตงโมจะเริ่มในเดือนกันยายนและอย่างเร็วในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอดีตที่ผ่านมามีการส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันและตอนนี้เหลือเพียง 500,000 ตันเท่านั้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนที่เขตชายแดน ก่อนการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงกวาคือการส่งออกผลไม้หลักและรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้การส่งออกลดลงถูกชดเชยด้วยอุปสงค์กล้วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งมีแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการระบาดเมียนมาจะมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้นในปีนี้หากมีการจัดเก็บรักษาที่เหมาะสมของชายแดนเมียนมา – จีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-traders-gauge-demand-melons-upcoming-export-season.html

การระบาดของโรค coronavirus ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสปป.ลาว

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังประเทศจีนยังคงดำเนินต่อไปตามปกติแม้ว่าจีนจะอยู่ในท่ามกลางการแพร่ระบาดของ coronavirus ปัจจุบัน โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกจากสปป.ลาวไปยังประเทศจีนมีมูลค่าสูงถึง 175 ล้านดอลลาร์สรอ.ทำให้ตลาดส่งออกที่อยู่ติดกับประเทศลาวทางตอนเหนือเป็นที่คาดหมายว่ามูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมจะไม่ลดลงโดยสินค้าที่สำคัญในการส่งออกได้แก่ ทรายแร่ยางและผลิตภัณฑ์ยางทองแดงและทองแดงผลิตภัณฑ์กล้วยข้าวโพดและปุ๋ยประเทศจีนถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญทั้งในด้านนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ ปัจจัยที่สนับสนุนให้การค้ามีการเติบโตมีหลายปัจจัยทั้งในการลงนามร่วมมือทางค้าหรือในอนาคตอันใกล้ที่โครงการรถไฟจีน – ลาวที่จะเสร็จในปลายปี 63 และจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างจีนและสปป.ลาวสะดวกมากขึ้นและเอื้อต่อการท่องเที่ยวและการค้า  ดังนั้นการคาดการณ์ของรัฐบาลสปป.ลาวจึงมองว่าการแพร่ระบาดของcoronavirusไม่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/china-coronavirus-outbreak-yet-impact-lao-exporters-113161