‘ผลสำรวจ’ ชี้บริษัทญี่ปุ่น 56% เล็งขยายการลงทุนในเวียดนาม

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น เปิดเผยผลการสำรวจในประเด็นที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศ พบว่าอุปสงค์ในประเทศและอัตรากำไรที่มีการขยายตัวดีขึ้น เป็นแรงผลักดันให้บริษัทญี่ปุ่นยังคงขยายการดำเนินธุรกิจในเวียดนามต่อไป โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ 56.1% ต้องการขยายธุรกิจและขยายการลงทุนในเวียดนาม อีก 1-2 ปีข้างหน้า ถือว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และ 64.1% มองว่าในปั 2567 จะทำกำไรได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกจากการสำรวจในรอบ 5 ปีที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบเกินกว่า 60% ขึ้นไป

นอกจากนี้ เมื่อประเมินถึงแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นและจีนไปยังเวียดนาม เห็นได้ว่ามีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยตั้งแต่ปี 2562 บริษัทญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นที่จะขยายกำลังการผลิตไปยังอาเซียน และเวียดนามถือเป็นจุดหมายสำคัญของธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/over-56-of-japanese-firms-looking-to-expand-investment-in-vietnam-survey-post308754.vnp

‘เวียดนาม’ เร่งผลักดันสินค้าขยายส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มอาเซียน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) รายงานว่าสินค้าเวียดนามมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมและส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มตลาดอาเซียน เช่น กัมพูชาและสปป.ลาว เป็นต้น โดยเวียดนามได้รับอานิสงส์หรือโอกาสจากการขยายการส่งออกสินค้าเกษตร อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงขยายตลาดไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทั้งนี้ นาย Tran Phu Lu ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการลงทุนและการค้า (ITPC) กล่าวว่าตลาดส่งออกมีทิศทางเชิงบวกแก่ผู้ประกอบการเวียดนาม สะท้อนจากมูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามและอาเซียนในปี 2567 อยู่ที่ระดับสูงสุด 83 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2566

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-products-gain-market-share-in-asean-countries-post308169.vnp

‘เมย์แบงก์’ ชี้เวียดนามติดอันดับ 6 ประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน

จากข้อมูลของบริษัทวิจัยการตลาดเมย์แบงก์ (Maybank Research Pte Ltd) คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของ 6 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม จะฟื้นตัว 4.5% และ 4.7% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ จาก 4% ในปี 2566 ในขณะที่ตามรายงาน ‘ASEAN Frontiers: The New Trailblazers’ ระบุว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แรงหนุนมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เมย์แบงก์ยังเปิดเผยว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) ศูนย์ข้อมูลและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ผลักดันให้กิจกรรมการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของสินเชื่อ นอกจากนี้ เมย์แบงก์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าอาเซียนจะกลายมาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญของโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติ (MNC) ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทานการผลิตออกจากประเทศจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-among-six-asean-countries-with-good-economic-growth-maybank-post1100769.vov

‘อุตสาหกรรมเหล็กเวียดนาม’ คว้าอันดับ 12 ด้านการผลิตเหล็กกล้าดิบของโลก

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) ได้ประกาศความสำเร็จของเวียดนามที่คว้าอันดับ 12 ด้านการผลิตเหล็กกล้าดิบของโลก ผลของความสำเร็จในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการผลิตและความหลากหลายของสินค้า

ทั้งนี้ คุณ Nghiêm Xuân Da ประธานสมาคมเหล็กเวียดนาม กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2558 อุตสาหกรรมกลายมาเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและการบริโภคเหล็กสำเร็จรูป และต่อมาในปี 2566 กำลังการผลิตเหล็กกล้าดิบของเวียดนาม อยู่ที่ 20 ล้านตัน ส่งผลให้เวียดนามก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลก

นอกจากนี้ ภาคกลางของประเทศเป็นที่ตั้งของศูนย์อุตสาหกรรมสำคัญหลายแห่ง รวมถึงศูนย์กลางผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ภายใต้ชื่อว่า ‘หวาฟัตสุงกว๊าต’ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเหล็กปิดขนาดใหญ่และมีความทันสมัยในระดับภูมิภาค

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655840/vn-s-steel-industry-ranks-12th-in-world-crude-steel-production.html

ข้าวเหนียวมะม่วงไทยสุดฮอต จีน-อาเซียน ดันส่งออกมะม่วงสดโต 130%

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นขนมหวานไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคนานาประเทศ ล่าสุด เว็บไซต์จัดอันดับอาหารระดับโลก “TasteAtlas” ได้จัดอันดับให้ข้าวเหนียวมะม่วงไทย ติดอันดับ 2 ของโลก ในฐานะพุดดิ้งข้าวที่ดีที่สุด ทำให้สินค้าดังกล่าว รวมทั้งมะม่วงสดและข้าวเหนียว ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ประกอบการไทยจะขยายการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ

ทั้งนี้ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลกปริมาณเฉลี่ยกว่าปีละ 1 แสนตัน มูลค่ามากกว่า 3 พันล้านบาท โดยในช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค. 2567) ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลก มูลค่า 1,626 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปตลาดคู่ค้า FTA มูลค่าถึง 1,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 130 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของการส่งออกมะม่วงทั้งหมด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1565498

อาเซียนวางแผนที่จะช่วยเหลือเมียนมาในการแก้ไขปัญหาปัจจุบันอย่างสันติ

ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ให้การต้อนรับคณะผู้แทน นำโดย นายอลุนแก้ว กิตติคุณ ทูตพิเศษของประธานอาเซียนด้านเมียนมา และเลขาธิการอาเซียน ดร.เกา คิม ชั่วโมง ณ หอรับรองประจำสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กรุงเนปิดอว์เมื่อเช้าวานนี้ โดยในการประชุมดำเนินแผนงาน 5 ประการเพื่อประกันสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาของประเทศ พวกเขาหารือถึงความร่วมมือของเมียนมาในอาเซียน เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของเมียนมาในการประชุมอาเซียน การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยอาเซียนแก่เมียนมา และความร่วมมือที่ดีที่สุดของเมียนมาในการกระจายความช่วยเหลือให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความพยายามของเมียนมาในการดำเนินการตามระบบประชาธิปไตยหลายพรรคที่ประชาชนปรารถนาอย่างมั่นคง การเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตยหลายพรรคที่เสรีและยุติธรรม และข้อกำหนดให้ทุกคนทราบสภาพที่แท้จริงของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/asean-plans-to-assist-myanmar-in-peacefully-solving-current-issues/

‘เวียดนาม’ กลายเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลโตเร็วสุดในอาเซียน

อแมนดา เมอร์ฟี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคาร HSBC เปิดเผยว่าเวียดนามจะกลายมาเป็นตลาดชั้นนำของอุตสาหกรรมดิจิทัลทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ จากการประเมินชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนามเติบโตได้อย่างโดดเด่น โดยในปี 2566 มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัล มีสัดส่วน 16.5% ต่อ GDP และมีบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า 1,500 แห่ง ทำรายได้จากตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้นมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 60% วางแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยีและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ระบบการชำระเงินดิจิทัล อีคอมเมิร์ซและปัญญาประดิษฐ์ (AI)

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มประเทศในอาเซียน มีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตสูงที่สุดแห่งเดียวในโลก ในขณะเดียวกันรายได้จากอีคอมเมิร์ซ มีมูลค่าเกินกว่า 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-emerges-as-fastest-growing-digital-economy-in-asean-2274332.html

ออสเตรเลียกระชับความร่วมมือกับ สปป.ลาว และอาเซียน

การประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย เมื่อเดือนที่แล้ว ออสเตรเลียได้ประกาศการลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 222.5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแผนสนับสนุนการเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การให้ทุนระยะที่สองในอีกห้าปีข้างหน้าจะจัดการกับลำดับความสำคัญและความท้าทายที่มีร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความมั่นคงทางน้ำ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ และการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ โครงการ Partnerships for Infrastructure ของออสเตรเลีย จะขยายเงินทุน 140 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิ่งนี้จะสนับสนุนลำดับความสำคัญของภูมิภาค เช่น ความร่วมมือลาว-ออสเตรเลีย ในด้านการเชื่อมโยงพลังงานและการขนส่ง แผนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียจริงจังกับการกระชับความร่วมมือกับอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และทำงานร่วมกับ สปป.ลาว เพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/08/australia-strengthens-partnerships-with-laos-asean/

กัมพูชาพร้อมจัด “Cambodia-ASEAN Business Summit 2024” เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ

การประชุมสุดยอดธุรกิจกัมพูชา-อาเซียน 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน ณ โรงแรม Sofitel Phnom Penh Phokeethra โดยมีเป้าหมายในการรวบรวมผู้นำทางธุรกิจ นักนโยบาย และนักคิดชั้นนำจากทั่วภูมิภาคอาเซียน เพื่อหารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นของอาเซียน รวมถึงความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัล นอกจากนี้ยังจะพูดถึงความท้าทายในการสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง โดยแนวคิดการจัดประชุมในครั้งนี้มุ่งหวังที่จะเป็นตัวเร่งในการปลดล็อกศักยภาพอันมหาศาลของภูมิภาคอาเซียน บนโครงสร้างการจัดงาน 3 แกนหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการค้าการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การเปิดประตูสู่อาเซียน ด้วยการผลักดันศักยภาพของกัมพูชาที่จะก้าวไปสู่การเป็น Regional Hub ทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และการปรับใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501465511/cambodia-asean-business-summit-to-kickstart-today/

เมียนมาเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจริเริ่มเพื่อบูรณาการอาเซียน (IAI) ครั้งที่ 72

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (MoFA) ระบุว่า U Aung Myo Myint ผู้แทนของเมียนมาประจำอาเซียน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจริเริ่มเพื่อการบูรณาการอาเซียน (IAI) ครั้งที่ 72 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ภายในการเสวนาได้มีการหารือถึงสัญญาณของความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนงาน IAI 4 (พ.ศ. 2564-2568) และมีการหารือถึงโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ของการดำเนินการตามแผนงาน III สมาชิกของ IAI Task Force อนุมัติโครงการใหม่ 16 โครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Work Plan IV ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะได้รับความช่วยเหลือจากสิงคโปร์ เยอรมนี ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย นอกจากนี้ ยังหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้ประสานงานระดับชาติจากกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ในการทำงานติดตามผลผลิตสำหรับแผนงาน IAI IV และความช่วยเหลือจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) เพื่อพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ Priority Economic Deliverable (PED) ของลาวในปีนี้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-chairs-72nd-initiative-for-asean-integration-iai-task-force-meeting/