เอกชนวอนรัฐบาลยกเลิกข้อจำกัดโรงงาน

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ได้ขอให้คณะทำงานด้านโควิด-19 พิจารณาเปิดโรงงานในเมืองหลวงอีกครั้ง เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและเศรษฐกิจปัจจุบันจนถึงขณะนี้ โรงงานเหล่านี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอีกครั้งภายหลังการแพร่กระจายของไวรัสร้ายแรง หอการค้าอธิบายถึงความท้าทายที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและโรงงานผลิตอื่น ๆ เผชิญเนื่องจากการปิดตัวลง โดยชี้ให้เห็นว่านักลงทุนบางรายอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังกัมพูชาหรือบังคลาเทศ หากการระบาดของไวรัสยังดำเนินต่อไปอีกนาน ดังนั้นการผ่อนคลายนโยบายเกี่ยวกับโรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การปิดโรงงานที่เกิดจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจต่างๆ สูญเสียโอกาสทางการตลาดและเงินที่จำเป็นในการรักษาการดำเนินงานของพวกเขา ด้วยโครงการฉีดวัคซีนที่กำลังดำเนินไปได้ดี การยกเลิกการจำกัดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวตาม LNCCI

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Private196.php

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม ก้าวสู่ระดับโลก

งานสัมมนา “International Business Forum 2021” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟเข้ามาแชร์แนวทางในการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเวียดนามได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้แต่ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการกาแฟเวียดนามส่วนใหญ่ทำการกระจายสินค้าตลาดส่งออก ปรับปรุงคุณภาพ ดึงเอาศักยภาพของเมล็ดกาแฟชนิดพิเศษและขยายช่องทางไปยังตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ นาย Nguyen Van Minh รองประธานสมาคมฟาร์มและผู้ประกอบการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่าอุตสาหกรรมกาแฟถือเป็นอุตสาหกรรมหลักและยังคงเป็นหลักสำคัญของธุรกิจระหว่างประเทศ

เวียดนามเผยกิจการเครื่องนุ่งห่มกว่า 30% ปิดกิจการ เหตุโควิด-19 ระบาด

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) ระบุว่าโรงงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกว่า 30-35% ถูกปิดตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สาเหตุที่สำคัญมาจากกิจการไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจและจ่ายเงินให้กับพนักงานให้กลับมาทำงาน นับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว อัตราการฉีดวัคซีนของอุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้น ทางสมาคมฯ ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีช่วยเร่งฉีดวัคซีนให้กับคนงานและช่วยเหลือธุรกิจให้รอบด้าน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1003124/more-than-30-per-cent-of-textile-garment-operations-on-hold-due-to-covid-19.html

CDC อนุมัติโครงการการลงทุนเพิ่ม ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) รายงานถึงโครงการการลงทุนใหม่ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา โดยสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) ได้ประกาศถึงการอนุมัติโครงการใหม่ 2 โครงการมูลค่ารวม 8.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานใหม่ให้กับคนในท้องถิ่นจำนวน 1,500 ตำแหน่ง โดยในบรรดาโครงการที่ได้รับการอนุมัติคือโรงงาน Gianni Vince Bags (Cambodia) Co Ltd. จากประเทศจีน ซึ่งโรงงานจัดตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาลด้วยเงินลงทุน 4.4 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างการจ้างงานรวม 1,171 ตำแหน่ง ส่วนอีกโครงการหนึ่งคือโครงการโรงงานผลิตรองเท้า  Sen Wang Ying New Material Co Ltd. ในจังหวัดกำปงสปือ ด้วยเงินลงทุนมูลค่า 4.1 ล้านเหรียญ และคาดว่าจะสร้างงานจำนวน 403 ตำแหน่ง รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่รวม 8 โครงการมูลค่ารวม 71.4 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานใหม่เกือบ 10,000 ตำแหน่ง ภายใต้อุตสาหกรรมสิ่งทอ กระเป๋าเดินทาง และรองเท้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50908192/new-garment-sector-investments-exceeding-8mn-approved-by-cdc/

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมการผลิตและการค้ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามการแถลงข่าวประจำไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่ากิจกรรมอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปยังบางจังหวัดและเมืองที่มีสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในขณะที่ การส่งออกยังคงเติบโตสูงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการขนส่งสินค้าสำคัญ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องจักรและผลผลิตทางการเกษตร ไปยังตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและอาเซียน ทั้งนี้ การล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นจากการะบาดของโควิด-19 ในบางพื้นที่นั้น ส่งผลให้การบริโภคลดลง โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-trade-growth-trend-sustained-despite-covid19-official/203243.vnp

เวียดนามเผยพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แต่ต้องดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น

ตามข้อมูลของ CBRE ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากเวียดนามกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของการย้ายฐานการผลิตจากกประเทศจีน บริษัทเวียดนาม เผยว่าอสังหาริมทรัพย์จะก้าวขึ้นเป็น “กระดูกสันหลัง” ของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประเทศ ทั้งนี้ รายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ณ เดือนพ.ค. 64 เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 394 แห่ง แบ่งออกเป็นสวนอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการอยู่ 286 แห่ง ด้วยอัตราการเช่า 71.8% และสร้างงาน 3.78 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้  ดร.ตรัน ดินห์ เตียน อดีตผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจของเวียดนาม กล่าวว่าท้องถิ่นได้โอกาสอันสำคัญ และเวียดนามจะเป็นแหล่งดึงดูกการลงทุนชั้นนำของโลก จากความได้เปรียบของข้อตกลงการค้าเสรี อีกทั้ง นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ไม่ควรร้อนใจเกินไป เนื่องจากสิ่งสำคัญในตอนนี้ คือ การหานักลงทุนเข้ามาผลักดันนิคมอุตสาหกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ips-set-up-but-vietnam-still-needs-to-do-more-to-attract-investors/202515.vnp

เวียดนามเผยผลผลิตอุตฯ เติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ พ.ย. 61

ตามรายงานของ IHS Markit ระบุว่าอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ท่ามกลางยอดคำสั่งซื้อใหม่พุ่งสูงขึ้น ต้นทุนของปัจจัยการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มีสัญญาบ่งชี้ว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลายลงในเดือนนี้ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน อยู่ที่ระดับ 54.7 เดือนเมษายน ซึ่งภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนเมษายน ได้รับแรงหนุนมาจากลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/81734/vietnam%e2%80%99s-production-rises-at-fastest-pace-since-nov-2018-.html

กัมพูชาพิจารณาให้โรงงานในเขตพื้นที่สีเหลืองกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง

โรงงานและสถานประกอบการอย่างน้อย 95 แห่ง ในเขตพื้นที่สีเหลืองเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตใหม่อีกครั้ง หลังจากที่รัฐบาลกัมพูชาได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ในเมืองพนมเปญและในเขตตาเขมาแบ่งออกเป็นสามโซน โดยโรงงานในเขตพื้นที่สีเหลืองเป็นโซนแรกที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติอีกครั้งภายใต้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งทางการกัมพูชากล่าวถึงการเริ่มห่วงโซ่การผลิตใหม่ในโรงงานและสถานประกอบการข้างต้นถือเป็นสัญญาณที่ดีในภาคการผลิตภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าคนงานมากกว่าครึ่งหนึ่ง สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ส่วนที่เหลือที่อยู่ในเขตพื้นที่สีส้มและสีแดงทางรัฐบาลยังคงจำเป็นต้องล็อกดาวน์และให้ทำงานจากทางบ้านอยู่จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50851509/nearly-100-factories-reopen-in-yellow-zones-but-virus-remains/

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน และสำนักงานการลงทุนจากต่างประเทศ เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคการลงทุนจากต่างประเทศ เกินดุลการค้า 14.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ธุรกิจในประเทศ ขาดดุลการค้า 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน 17 ภาคอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติมากที่สุด ด้วยมูลค่า 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลักและค้าส่ง ตามลำดับ ขณะเดียวกัน หัวเมืองของเวียดนามที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด คือ เมืองลองอัน (Long an) มูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเกิ่นเทอและโฮจิมินห์ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่ากระทรวงจะดำเนินงานตามกลไกต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจแก่นักลงทุนต่างชาติ และกำหนดการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-racks-up-nearly-19-billion-usd-in-trade-surplus-in-four-months/200766.vnp

กัมพูชาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรวมกว่า 6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020

การส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกัมพูชา รวมถึงสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.37 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 43 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกัมพูชา โดยจากรายงานระบุว่าการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าที่เกี่ยวกับการเดินทางของกัมพูชา มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่เพียง 3 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 9.32 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 ซึ่งสถานการณ์ภายในอุตสาหกรรมยังคงถดถอย เห็นได้ชัดจากการปิดตัวของโรงงานผลิตเสื้อผ้ากว่า 101 แห่ง ภายในปี 2020 โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มมูลค่า 11.18 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50832215/cambodia-exported-over-6-billion-worth-of-industrial-products-in-2020/