อุตสาหกรรม 4.0 สู่ผลกระทบต่อการจ้างงานในกัมพูชา

การศึกษาใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาควรพิจารณาพัฒนาแผนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมในภาคส่วนสำคัญ ๆ และวางแผนลงทุนอย่างเพียงพอในการพัฒนาทักษะสำหรับงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ผ่าน 6 ข้อสำคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษาถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0 โดย ADB ทำการศึกษานี้ศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวในกัมพูชาเป็นลำดับแรก ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยศึกษาเกี่ยวกับการจ้างงาน ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย 4IR จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยี 4IR จะกำจัดงานในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและการท่องเที่ยวในรูปแบบปัจจุบัน แต่การสูญเสียเหล่านี้จะถูกชดเชยด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากผลผลิตที่สูงขึ้น อาจทำให้ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39 ในภาคการผลิตเสื้อผ้า และร้อยละ 2 ในการจ้างงานการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805649/industry-4-0-impact-will-transform-skills-and-jobs-says-adb/

อุตสาหกรรมอาหารเมียนมาพร้อมเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021

สภาพัฒนาการค้าฮ่องกงเชิญชวนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021 ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 12 ถึง 16 สิงหาคม 64 ซึ่งเมียนมาคาดจะเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกอาหารและเชื่มโยงกับตลาดประเทๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มแล้วภายในงานยังจัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแพคเกจจิ้ง ฉลากความปลอดภัย โลจิสติกส์ การบริการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งทางผู้จัดงานคาดว่าจะมีบริษัทเข้าร่วมจากประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลี เม็กซิโก โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เป็นต้น สำนักงานสถานกงสุลใหญ่เมียนมาในฮ่องกงกล่าวว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนลด 50% ของค่าธรรมเนียมหรือ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ผู้ประกอบการเมียนมาที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.hktdc.com ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคมเป็นต้นไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-expo-reaches-out-myanmar-food-companies.html

เมียนมาตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 64 โต 6%

รัฐบาลเมียนมาคาดเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต 6% ในปีงบประมาณ 63-64 ตามคำแถลงงบประมาณของกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 2.6% ภาคอุตสาหกรรม 6.5% และภาคบริการ 7.4% ในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ารัฐบาลควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญให้กับภาคการเกษตรเพื่อสร้างการเติบโตเป็นกลยุทธ์ที่ดี ภาคเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด -19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานซึ่งทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน ด้าน นาย อู หม่อง หม่อง เล รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมากล่าวว่า ควรปลูกพืชผลที่ทำกำไรและต้นทุนให้ต่ำ สร้างตลาดสำหรับผู้ขายและผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควรให้ความสำคัญกับการประมงมากขึ้นเพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทางทะเลเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-6pc-economic-growth-2021.html

อุตสาหกรรม ICT ของเวียดนาม ทำรายได้ราว 126 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MIC) เปิดเผยว่าจำนวนธุรกิจเวียดนามที่อยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) มีทั้งสิ้น 45,500 ราย รวมถึงบริษัทลงทุนจากต่างชาติ ที่ทำรายได้รวมประมาณ 126 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามติด 1 ใน 20 ประเทศที่ใช้ถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก ประมาณ 68.17 ล้านคน (70% ของประชากรรวม) ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 94 ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ใช้งานเฉลี่ยสูงสุด 6 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบกับอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จำเป็นกับทุกคนและชาวเวียดนามมองเห็นประโยชน์ในการใช้อินเทอร์เน็ต เนื่องจากอินเทอร์จะก้าวข้ามเข้าสู่ระบบนิเวศเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติจัดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGDI) ของเวียดนามอยู่ที่ 86 ดีขึ้น 2 อันดับ และได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียและโลก ขณะที่ ปัจจุบัน ผลการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่อันดับที่ 6 รองจากฟิลิปปินส์ บรูไน ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์

ที่มา : https://vietreader.com/business/finance/27149-vietnam-ict-industry-reaches-estimated-us126-billion-revenue-in-2020.html

กนอ.ประกาศเดินหน้าแผนปี’64 ศูนย์กลางฐานการผลิตของภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Industry Toward 2021” ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 หลังสถานการณ์โควิด-19 ในงานฉลองครบรอบ 48 ปี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) “The Journey of Sustainable Partnership” ว่า ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงฯได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายหลายประการที่เป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประการแรก คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งผลักดันมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม ประการที่สอง : การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากด้วยการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ประการที่สาม : การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็น มิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2486117

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุน FDI 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) อยู่ที่ประมาณ 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) แบ่งออกเป็น 1,947 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 10.36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ, 798 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนต่ำกว่า 5.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 5,172 โครงการที่มาจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติด้วยมูลค่ารวม 5.73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมากที่สุด ด้วยมูลค่าราว 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.7 ของเงินลงทุนรวม รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า แก๊สและน้ำ มูลค่ามากกว่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (20.3% ของเงินลงทุนรวม), ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.1% ของเงินลงทุนรวม), การค้าปลีกค้าส่งและซ่อมยานยนต์ มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (6.1% ของเงินลงทุนรวม) และภาคอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-reaching-212-billion-usd-in-first-nine-months/187681.vnp

เผยตัวเลขการผลิตเพิ่มขึ้น 3 เดือนติด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.อยู่ที่ระดับ 85.47 ขยายตัวจากเดือน มิ.ย. 3.12% เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่หดตัว 14.69% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว รวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 56.01% จากเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 55.07% ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังทยอยฟื้นตัวขึ้น สู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 กรณีดังกล่าว ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยารักษาโรค ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน รวมถึงปัญหาน้ำท่วมจีน ได้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง และอุตสาหกรรมบางประเภทต้องขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากฐานการผลิตในต่างประเทศ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายราย ต้องย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทย กรณีดังกล่าว จึงสอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีการเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1918876

INFOGRAPHIC : ผู้ผลิตอุตสาหกรรมและแปรรูปเวียดนาม 80.6% เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สถานการณ์ธุรกิจในประเทศ คาดว่าจะดีขึ้นหรือยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แบ่งออกเป็นประเภทธุรกิจ ดังต่อไปนี้

คาดการณ์แนวโน้มการทำธุรกิจในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ภาพรวมธุรกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 80.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 19.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจ FDI : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 75.9% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 24.1% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • รัฐวิสาหกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 79.7% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 20.3% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจเอกชน : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 82.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 17.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น

คาดการณ์แนวโน้มการผลิตและยอดตำสั่งซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ปริมาณการผลิต : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 48.8% มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมา 33.1% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.1% แย่ลง ตามลำดับ
  • ยอดคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 45.1% มองว่าได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมา 36.6% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.3% แย่ลง ตามลำดับ
  • ส่งออกคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 43.9% มองว่าได้รับยอดส่งออกคำสั่งซื้อไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา 34.2% เพิ่มขึ้น และ 21.9% แย่ลง ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/806-processing-manufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/179048.vnp

เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html