‘เงินเฟ้อ’ เมืองฮานอย ม.ค. เพิ่มขึ้น 3.09%

สำนักงานสถิติฮานอย เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเมืองฮานอยในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 0.51% จากเดือนก่อน โดยมีกลุ่มสินค้า 10 รายการจากทั้งหมด 11 รายการที่ปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าวัฒนธรรม บันเทิง และการท่องเที่ยว ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสูงที่สุด อยู่ที่ 0.74% รองลงมากลุ่มขนส่ง เพิ่มขึ้น 0.73% และกลุ่มที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิงและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มบริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.07%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนี CPI ของเมืองฮานอย เพิ่มขึ้น 3.09% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มยาและบริการด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นสูงที่สุด (19.91%) ตามมาด้วยกลุ่มที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิงและวัสดุก่อสร้าง (6.37%) กลุ่มบริการอาหารและการรับประทานอาหาร (3.27%) และกลุ่มสินค้าวัฒนธรรม บันเทิง และการท่องเที่ยว (3.87%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanois-january-consumer-price-index-up-309-annually-post309381.vnp

เงินเฟ้อ สปป.ลาว ลดลง 16.9% ในเดือนธันวาคม

ในเดือนธันวาคม 2024 อัตราเงินเฟ้อของ สปป.ลาว ลดลงเหลือ 16.9% หลังจากเพิ่มขึ้นในเดือนก่อนหน้านี้ โดยหมวดที่มีการขึ้นราคาสูงสุดคือ ที่อยู่อาศัย การศึกษา และสุขภาพ ทั้งนี้ รัฐบาล สปป.ลาว ได้ดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน การส่งเสริมการผลิตในประเทศ และการปฏิรูปภาษี แม้ว่าความพยายามเหล่านี้จะมีผล อย่างไรก็ตามแต่ราคาสินค้ายังสูงทำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้ง ค่าเงินกีบยังคงเผชิญความท้าทายอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_004_Laos_inflation_y25.php

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว มิถุนายน 67 แตะ 26.2% สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว เดือนมิถุนายน 67 เพิ่มขึ้นเป็น 26.2% จาก 25.8% ในเดือนก่อน นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 เดือนของปีนี้ โดยราคาสินค้าในกลุ่มการดูแลสุขภาพและยารักษาโรคมีความผันผวนสูงอยู่ที่ 41.7% รองลงมาคือ ร้านอาหารและโรงแรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 35.3% ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเครื่องปรุงรสและอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.5% นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นๆ ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าและรองเท้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อใน สปป.ลาว เกิดจากค่าเงินกีบที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ บาทไทย และหยวนจีน ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาสินค้าและบริการนำเข้า รวมถึงความสามารถในการผลิตภายในประเทศที่อ่อนแอ ทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น เนื่องจาก สปป.ลาว ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและวัตถุดิบอย่างมาก ซึ่งเพิ่มผลกระทบของค่าเงินอ่อนค่าต่ออัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% ได้ผลักดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้สูงขึ้นอีก

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/27/laos-june-inflation-hits-26-2-percent-highest-in-2024/

‘ข้าวเวียดนาม’ ยังคงครองผู้นำตลาดฟิลิปปินส์ แม้มีการเปลี่ยนนโยบาย

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศฟิลิปปินส์ ระบุว่าสถานการณ์การค้าข้าวเวียดนาม-ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับทรงตัวในอนาคตอันใกล้นี้ ในขณะที่สำนักงานอาหารแห่งชาติ (NFA) พิจารณาแก้ไขกฎเกณฑ์การนำเข้าข้าว ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของเวียดนาม และการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ อยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานเข้ามาแทรกแซงโดยตรงต่อตลาดข้าวและสร้างความมีเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศ

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวราคาข้าวดังกล่าว สาเหตุสำคัญมาจากราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมาตรการก่อนหน้านี้ของรัฐบาลได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถควบคุมการขึ้นของราคาสินค้าได้

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเวียดนามยังคงเป็นผู้นำตลาดข้าวของฟิลิปปินส์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ และเวียดนามเป็นซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 72% ของการนำเข้าพืชผลทางการเกษตรทั้งหมด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-rice-continues-to-dominate-philippine-market-despite-policy-shifts-post288136.vnp

‘เวียดนาม’ เผยเงินเฟ้อ CPI ช่วง 5 เดือนแรกปี 67 เพิ่มขึ้น 1.24%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค.67 ปรับตัวขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้น 1.24% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.66 และเพิ่มขึ้น 4.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยเป็นผลมาจากการขาดแคลนเนื้อหมูที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในช่วงปลายปี 2566 รวมถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน พ.ค.67 เพิ่มขึ้น 2.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าเพิ่มขึ้น 2.78% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656490/cpi-rises-by-1-24-in-the-first-five-months.html

‘เวียดนาม’ เผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น

คุณ เหงียน ถิ เฮือง (Nguyen Thi Huong) หัวหน้าสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. ถึงแม้ว่าจะได้รับแรงกดดันอย่างมากจากตลาดระหว่างประเทศและในประเทศ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 3.93% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ใกล้กับเพดานที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้ที่ระดับ 4-4.5%

ในขณะเดียวกัน นายเหงียน บิช ลา (Nguyen Bich Lam) นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอย่างมาก รวมถึงการแข่งขันที่รุงแรงในตลาดต่างประเทศ และความตึงเครียดในทะเลแดง ซึ่งอาจเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและเกิดความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก

นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อด่องเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังไม่มีแผนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย จากตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง สิ่งเหล่านี้จะถือว่าเป็นภาระต้นทุนในการนำเข้าและเงินเฟ้อในประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mounting-inflationary-pressure-requires-governments-flexible-moves-post286015.vnp

‘เวียดนาม’ ชี้เสาหลักทางเศรษฐกิจ ส่งสัญญาณเชิงบวก

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังคงมีทิศทางไปในเชิงบวกในปีนี้ จากตัวชี้วัดดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในช่วง 4 เดือนแรกที่มีการขยายตัว 6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่เงินลงทุนเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐฯ สูงถึง 20.1% ของงบประมาณประจำปี เพิ่มขึ้น 5.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตัวเลขการค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม พบว่ามูลค่าการค้าปลีกและบริการ เพิ่มขึ้น 8.5% และการส่งออก เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งจากตัวชี้วัดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจมีสัญญาณเชิงบวก

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจเวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความไม่มั่งคงของเศรษฐกิจโลก และภาวะเงินเฟ้อ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมุ่งส่งเสริมไปที่การบริโภคภายในประเทศ การยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ รวมถึงดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/key-economic-pillars-show-positive-growth-post285814.vnp

IMF คาดอัตราเงินเฟ้อกัมพูชาทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในปี 2024

IMF คาดอัตราเงินเฟ้อกัมพูชาจะยังคงทรงตัวในปีนี้ที่ร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.1 ในปี 2023 สอดคล้องกับภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิก ตามรายงานของ IMF Regional Economic Outlook ในเดือนเมษายน 2024 จากข้อมูลของ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวกว่าร้อยละ 6 ในปีนี้ และเติบโตสู่ร้อยละ 6.1 ในปี 2025 เป็นรองแค่เพียงฟิลิปปินส์ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับประเทศในโซนเอเซีย ขณะที่ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้รายงานเสริมว่าในช่วงปี 2024 การเติบโตของกัมพูชาจะถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 8.6 ในขณะที่ภาคบริการจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 และภาคการเกษตรที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 สำหรับความท้าทายต่อเศรษฐกิจกัมพูชา ได้แก่ หนี้ภาคเอกชนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น การฟื้นตัวที่อ่อนแอจากภาคการก่อสร้าง ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง และจำนวนเที่ยวบินสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต่ำ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501483848/imf-says-cambodias-inflation-to-be-stable-at-2-3-percent-in-2024/

ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/

‘เวียดนาม’ คงรักษาอัตราเงินเฟ้อต่ำ ปี 67

จากการประชุมของรัฐบาลที่เมืองฮานอย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เล มินห์ ไค เป็นประธาน ทางกระทรวงการคลังกล่าวในที่ประชุมว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 0.26 -0.39% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 4.0-4.5% ในปี 2567 และยังได้กล่าวชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงดิ้นร้นฟื้นตัวและความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์โลก รวมถึงความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ พลังงานและทองคำ

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.31%YoY เดือน ม.ค. และ 1.04%YoY เดือน ก.พ. ขณะที่เดือน มี.ค. ลดลง 0.23% ทำให้ดัชนี CPI เฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี เพิ่มขึ้น 3.77%YoY

อย่างไรก็ดี รองนายกรัฐมนตรี เล มินห์ ไค ได้สั่งให้กระทรวงและหน่วยงานของรัฐฯ ติดตามสถานการณ์ตลาดและเตรียมแนวทางแก้ไข เพื่อเข้าแทรกแซงเมื่อจำเป็นเพื่อรักษาระดับเงินเฟ้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654489/keeping-cpi-low-key-to-inflation-control-this-year.html