รัฐบาล สปป.ลาว ประกาศลงนาม MOU จัดตั้ง Asia-Potash International

รัฐบาล สปป.ลาว และ SINO-KCL ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในโครงการ “Asia-Potash International Intelligent Circular Industrial Park” ในเขตท่าแขกและหนองบกของแขวงคำม่วน โดยรัฐบาลและ บริษัท SINO-AGRI International Potash Co., Ltd. (SINO-KCL) ได้ลงนาม MOU ในเวียงจันทน์ ซึ่งโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งโครงการวางแผนพัฒนาพื้นที่ 3 สวน ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมปุ๋ยโพแทช, สวนอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่โพแทช และเอเชีย-โพแทชทาวน์ โดยโครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,000 เฮกตาร์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 4.31 พันล้านดอลลาร์ ด้วยข้อได้เปรียบจากการสนับสนุนของรัฐบาล สปป.ลาว รวมถึงทรัพยากรภายในประเทศที่มีอยู่ ซึ่งเอื้อต่อการผลิตแร่โพแทช โดยบริษัท วางแผนผลิตปุ๋ยในสวนอุตสาหกรรมให้ได้ 3 ล้านตัน ภายในปี 2023 และขึ้นไปแตะ 5 ล้านตัน ภายในปี 2025 ขณะที่ Asia-Potash Town ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองคอมเพล็กซ์ที่ทันสมัยและใช้งานได้หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการดูแลสุขภาพ การศึกษา การพาณิชย์ กีฬา และบริการด้านต่างๆ ซึ่งหลังจากโครงการ Asia-Potash Industrial Park เริ่มดำเนินการ คาดว่า สปป.ลาว จะมีรายได้ประมาณ 320 ล้านดอลลาร์ต่อปี สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่น 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten61_National_y23.php

สปป.ลาว ลงนาม MoU เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางผ่านแดน

บริษัทของทั้ง สปป.ลาว และไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจไตรภาคี (MoU) ซึ่งได้ลงนาม ณ เวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟระหว่าง สปป.ลาว-ไทย และ สปป.ลาว-จีน โดยข้อตกลงนี้ลงนามโดยผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว (LNR) ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Global Multimodal Logistics, รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Pan-asia Silk Road และประธานบริษัท Kaocharoen Train Transport ซึ่ง LNR จะประสานงาน อำนวยความสะดวก ซึ่งตั้งเป้าหมายในการขนส่งทุเรียนและผลไม้อื่นๆ อย่างน้อย 20,000 ตันต่อเดือน จากไทยไปยังตลาดจีน โดยหลังจากทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน เปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2021 ความต้องการทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสารปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้โดยสารที่พุ่งสูงขึ้น ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 417,400 คน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 256.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การขนส่งสินค้ารวมอยู่ที่ 647,700 ตันในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 320

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten57_Deal_y23.php

MoC ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวภายใต้ MoU ไปบังกลาเทศ

ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) ได้อนุญาตส่งออกข้าวจำนวน 191,700 ตันที่จะส่งไปบังกลาเทศตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MoU) โดยจะมีการส่งออกข้าวจำนวน 200,000 ตันด้วยการชำระเป็นเงินหยวนของจีน ตามสัญญา ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2,788.56 หยวนต่อตัน ซึ่งกรมการค้าของเมียนมาได้ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวกว่า 191,700 ตัน มูลค่ากว่า 534 ล้านหยวน ให้กับบริษัทส่งออกข้าว 41 แห่ง ซึ่ง MOU ฉบับนี้ บังคลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2565-2570 ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-export-licence-for-rice-to-be-shipped-to-bangladesh-under-mou/

‘ไทย-ลาว’ ร่วมมือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่ววมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล กับกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 8 ปี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าความร่ววมือดังกล่าวจะกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศทั้งด้านการส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาทางเทคนิคและการขยายตลาด ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านบริการไปรษณีย์ โทรคมนาคมและดิจิทัลแพลตฟอร์ม

ทั้งนี้  นายบอเวียงคำ วงดารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่างๆ เพื่อประโยชน์ของคนไทยและชาวลาวในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/2432310/thailand-laos-ink-mou-covering-post-digital-tech

กัมพูชา-อินโดนีเซีย สร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน

กัมพูชาและอินโดนีเซีย จัดลำดับความสำคัญ 5 ด้าน เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน กล่าวโดย Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา หลังการพูดคุยกับ Sandiaga Salahudin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีภาคการท่องเที่ยว G20 โดยได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัมพูชาและอินโดนีเซีย ซึ่งลงนามระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2022 ณ จังหวัดสีหนุวิลล์ โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกันในการเริ่มต้น ซึ่งในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน 2022 การส่งออกของอินโดนีเซียไปยังกัมพูชาอยู่ที่ 367.54 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าของอินโดนีเซียจากกัมพูชาอยู่ที่ 23.15 ล้านดอลลาร์ ลดลงประมาณร้อยละ 1.97 โดยสินค้าส่งออกสำคัญของอินโดนีเซียมายังกัมพูชา ได้แก่ ถ่านหิน ยาสูบ เครื่องจักร ยา สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษเป็นหลัก ส่วนการนำเข้าของอินโดนีเซียจากกัมพูชาได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า ยาง และข้าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501158890/cambodia-indonesia-to-boost-economic-cooperation/

กัมพูชาลงนาม MoU ร่วมกับเกาหลีใต้ หวังเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตร

รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา (MAFF) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Korea Agro-Fisheries and Food Trade Corporation และ Orient Group ของกัมพูชา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 ก.ค.) เพื่อปูทางให้ภาคเอกชนของกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังเกาหลีใต้ได้เพิ่มขึ้น ด้าน Sokhon รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันกัมพูชามีผลผลิตส่วนเกิน อาทิเช่น ข้าว มันสำปะหลัง กล้วย มะม่วง และยางพารา พร้อมที่จะส่งออก หลังจากมีสต็อกเพียงพอสำหรับป้อนตลาดภายในประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยังได้ลงนาม MoU ไตรภาคีอีกฉบับหนึ่งกับมหาวิทยาลัยและ Orient Group เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรในกัมพูชา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพิ่มผลผลิต ห่วงโซ่มูลค่าการผลิต การเพิ่มมูลค่า และความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัย โดยปัจจุบันกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 111.35 ล้านดอลลาร์ ไปยังเกาหลีใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากคิดเป็นปริมาณการค้ารวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 421.33 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501124224/kingdom-inks-mou-to-export-agro-products-to-s-korea/

ไทย-กัมพูชา ลงนาม MoU ปราบแก๊ง Call Center

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคมของกัมพูชา ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค รวมถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งทั้งสองประเทศได้แต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานระหว่างกัน ไปจนถึงการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในประเทศไทยและกัมพูชา เพื่อให้สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้อย่างทันท่วงที ประสานงานและอำนวยความสะดวกในกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามสนธิสัญญาระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน รวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศของผู้เข้าร่วมทั้ง 2 ฝ่าย ไปจนถึงมีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของทั้งไทยและกัมพูชา และ ความร่วมมือทางด้านอื่นๆ ตามที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501107583/thai-cambodian-mou-on-suppression-of-cyber-scams-approved/

EuroCham Cambodia และ GMAC ลงนาม MoU สนับสนุนกัมพูชา

EuroCham Cambodia และ GMAC ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าของยุโรปและแบรนด์แฟชั่นที่ได้ดำเนินการอยู่ในกัมพูชา ผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสองสมาคมและกลุ่มสมาชิก สู่การเพิ่มมูลค่าการส่งออกระหว่างสหภาพยุโรป โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในหมวดสินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า อยู่ที่ 11.38 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป แต่ในขณะเดียวกันส่วนแบ่งการตลาดของกัมพูชาในตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐฯ กลับปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในปี 2021 ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 4.87 จากในปี 2020 ที่กัมพูชามีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 13.30 ตามข้อมูลการนำเข้าจากสำนักงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งสหรัฐฯ (OTEXA)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501045339/eurocham-cambodia-and-gmac-ink-agreement-to-better-support-european-brands-sourcing-from-cambodia/

กัมพูชา-อินโดนีเซีย ลงนาม MoU กระตุ้นภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน

ในระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2022 ที่สีหนุวิลล์ Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา และ Sandiaga Salahudin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและนวัตกรรมของอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างทั้งสองประเทศ ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยเร็วที่สุด ซึ่งในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังเน้นที่ 1.การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการจัดงานแสดงการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ 2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวางแผนและจัดการสถานที่ท่องเที่ยว 3.ส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4.ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ 5.ส่งเสริมความร่วมมือในการจัดงานท่องเที่ยว งานประชุม และในด้านอื่นๆ และ 6. ส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501009619/cambodia-indonesia-sign-mou-to-boost-tourism-connect-direct-flights-between-the-two-countries/

กระทรวงสาธารณะ เร่งการค้าข้ามพรมแดน

รัฐบาลกำลังร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งการค้าข้ามพรมแดน ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการและกลไกการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดน MOU จัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับข้อมูลศุลกากร (ASYCUDA) ระบบจะใช้ระบบนี้ที่จุดผ่านแดนเพื่อให้การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรไฟล์ความเสี่ยงแบบบูรณาการเพื่ออัปโหลดเข้าสู่ระบบ ASYCUDA ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชายแดนเพื่อปรับปรุงการกวาดล้างชายแดนผ่านข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO-TFA) ข้อตกลงนี้กำลังดำเนินการภายใต้กองทุน Multi-donors Trust Fund- โครงการการแข่งขันและการค้าของสปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารโลก รัฐบาลของออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministries_245_21.php