‘กาแฟเวียดนาม’ ราคาพุ่ง

จากข้อมูลวันที่ 5 มิ.ย. ระบุว่าราคากาแฟในพื้นที่ที่ราบสูงตอนกลาง (Central Highlands) ของเวียดนาม ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 122,000 – 123,500 ด่องต่อกิโลกรัม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อย่างไรก็ดี ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาและการเก็งกำไรในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ รวมถึงราคากาแฟ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคากาแฟโรบัสต้าในเมืองลอนดอนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอยู่ที่ประมาณ 3,846 – 4,319 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

นอกจากนี้ โคลัมเบีย เปรูและฮอนดูรัส อยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟ ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคากาแฟยังคงปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-coffee-prices-on-the-rise-post288072.vnp

‘เซมิคอนดักเตอร์เวียดนาม’ เดินหน้าส่งเสริมอสังหาริมทรัพย์เชิงอุตสาหกรรม

นายโทมัส รูนีย์ (Thomas Rooney) ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริการอุตสาหกรรมของบริษัท Savills Vietnam กล่าวว่าเวียดนามจะกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำของนักลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ ตลอดจนเวียดนามอยู่ในจุดทำเลที่ตั้งที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีแหล่งธาตุหายาก (Rare Earth) จำนวนมากที่จำเป็นในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์

ทั้งนี้ นายโทมัส ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่ากระแสการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะส่งผลต่อความต้องการโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและความพร้อมของระบบบำบัดน้ำ โดยการยกระดับคุณภาพของโรงงานดังกล่าว มีไว้เพื่อดึงดูดนักลงทุนเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ภาครัฐบาลและเอกชน ควรจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันในการส่งเสริมบรรยากาศทางด้านการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานและกำลังแรงงาน เพื่อให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอสังหาริมทรัพย์เชิงอุตสาหกรรม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656840/viet-nam-s-semiconductor-industry-poised-to-bolster-industrial-real-estate-experts.html

รัฐบาลไฟเขียวจับมือเอเปกพัฒนาการท่องเที่ยว

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2567 สาธารณรัฐเปรู ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 ขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกรับทราบและรับรองผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเอเปก ปี พ.ศ. 2563-2567 รวมทั้งมอบนโยบาย และกำหนดทิศทางการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยในการประชุมจะได้ร่วมกันรับรองร่างเอกสาร 3 ฉบับ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (4 มิ.ย. 2567) ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติแล้ว ได้แก่ 1.ร่างถ้อยแถลงการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 2.ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายหลักการในการป้องกันและลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และ 3.ร่างแนวคิดโครงการแพลตฟอร์มเอเปกเพื่อเผยแพร่โอกาสความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ทั้งนี้ สาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายในภาคการท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในขณะที่ ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ เป็นโครงการวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยสาธารณรัฐเปรู ซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาของการทำอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขยะอาหารในภาคการท่องเที่ยว และได้มีข้อเสนอแนะ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนหลักการของเอเปคให้เป็นรูปธรรม และร่างแนวคิดโครงการฯ ที่มีเป้าหมายในการสร้างแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน การถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนโอกาสด้านความร่วมมือที่มีอยู่ และการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก อย่างไรก็ดี ร่างเอกสารฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของเขตเศรษฐกิจเอเปก เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว และกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก อย่างครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนบทบาทเด่นของประเทศไทยในเวทีนานาชาติด้วย

ที่มา : https://www.thaipost.net/general-news/599375/

เมียนมาส่งออกยางกว่า 19,000 ตันไปยังตลาดต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาจัดส่งยางมากกว่า 19,400 ตัน มูลค่า 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม โดยส่งออกผ่านช่องทางการค้าทางทะเลไปยังจีน 8,270 ตัน ไปยังมาเลเซียกว่า 6,670 ตัน ไปยังเวียดนาม 2,190 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย 500 ตัน ไปยังญี่ปุ่น 360 ตัน ไปยังอินเดีย 315 ตัน  ไปยังเกาหลีใต้กว่า 100 ตัน และส่งออกไปยังศรีลังกาและบังคลาเทศอีกเล็กน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รวมกว่า 17,300 ตัน มูลค่า 23.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 24 พฤษภาคม เมียนมาส่งมอบยางให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางด่านชายแดน มากกว่า 1,610 ตันให้กับไทย และ 516 ตันให้กับจีน รวมกว่า 2,120 ตัน มูลค่า 2.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตามสถิติกระทรวงพาณิชย์เผยอีกว่า เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียว จำนวน 147,170 ตัน มูลค่าประมาณ 131.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม แบ่งเป็นถั่วดำ 66,036 ตัน มูลค่า 64.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ถั่วเขียว 53,630 ตัน มูลค่า 34.787 ล้านเหรียญสหรัฐ และถั่วแระกว่า 27,500 ตัน มูลค่า 32.26 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-19000-tonnes-of-rubber-to-foreign-markets-in-may/

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกทะลุเป้าท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา รายงานว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังช่วยแก้ไขปัญหาของบริษัทที่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยร่วมมือกับสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุและเกินเป้าหมายการส่งออกของประเทศ รวมถึงการส่งออกหลัก เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด และยางพารา ตามที่ ก.ล.ต. กำหนด เพื่อการส่งออกตามข้อกำหนดเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ยังได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่พบในการส่งออกโดยประสานงานกับสมาคมต่างๆ เช่น สหภาพเมียนมา สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรม สมาพันธ์ข้าวเมียนมา ถั่ว ข้าวโพด และงา สมาคมพ่อค้าเมล็ดพันธุ์พืช, สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา, สมาคมอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา, สมาคมผู้ปลูกและผู้ผลิตยางแห่งเมียนมา และสมาคมผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงและส่งออกแห่งเมียนมา อย่างไรก็ดี ในบรรดาการส่งออกต่างประเทศ ข้าว 2.5 ล้านตันถูกกำหนดให้ส่งออกในปีงบประมาณ 2567-2568 จากสถิติที่รายงานวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ซึ่งเรือบรรทุกข้าว 8 ลำจอดเทียบท่าที่ท่าเรือระหว่างประเทศ 8 แห่งเพื่อส่งออกข้าว โดยข้าวทั้งหมด 135,920 ตัน แบ่งเป็นข้าว 12,500 ตันจากท่าเรือ Alone International Port Termina 12,500 ตันจากท่าเรือนานาชาติย่างกุ้ง 10,000 ตันจากท่าเรือเมียนมา (เดิมชื่อท่าเรือโบ ออง จ่อ) 9,800 ตันจากท่าเรือนานาชาติวิลมาร์และท่าเรือ Sule Pagoda Wharves จำนวน 91,120 ตันจะถูกส่งออก นอกจากนี้ เรืออีก 4 ลำกำลังจะเทียบท่าที่ท่าเรือนานาชาติย่างกุ้งเพื่อส่งออกข้าว 74,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aims-to-surpass-national-export-targets-amid-economic-growth/

จำนวนนักเรียนในระดับมัธยมปลายของ สปป.ลาว ลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาเศรษฐกิจ

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เผยจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างเกรด 4 และเกรด 7 ทั่วประเทศลาวลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกัน สะท้อนจากจำนวนนักเรียนที่ทำการสอบเข้าระดับมัธยมปลายมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษในปีการศึกษานี้ โดยจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 4 ที่เข้าสอบมีเพียง 68,850 คน ซึ่งลดลงจาก 76,322 คนในปีที่แล้ว และ 83,544 คนในปี 2565 ส่วนจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 7 ที่เข้าสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเพียง 46,744 คน จาก 50,276 คนในปีที่แล้ว และ 55,828 คนในปี 2565 ปัจจัยหลักเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ค่าจ้างที่ต่ำ และอัตราเงินเฟ้อมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่ออัตราการออกกลางคันของนักเรียน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/05/decline-in-secondary-school-enrollments-continues-for-third-consecutive-year/