กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา

ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-ไทยมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศไทยมีมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน 2566 -มีนาคม 2567) โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่า 927 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่บันทึกไว้ในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่มีมูลค่า 5.35 พันล้านดอลลาร์โดยเมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับไทยผ่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง อย่างไรก็ดี ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนมีการค้าขายที่ครอบคลุมมากที่สุดซึ่งมีมูลค่า 2.69 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ด่านชายแดนเมียวดี มูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.147 พันล้านดอลลาร์, ที่เกาะสอง 234.38 ล้านดอลลาร์, ที่ท่าขี้เหล็ก 171.66 ล้านดอลลาร์, ที่มะริด 154.3 ล้านดอลลาร์ และที่มอตอง 26.779 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-totals-us4-4-bln-in-2023-2024fy/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

‘ตลาดอสังหาฯ เวียดนาม’ ไตรมาสแรกปี 66 มีสัญญาเชิงบวก

จากข้อมูลของสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เวียดนาม (VARS) เปิดเผยผลการรายงานสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์เวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้และการคาดการณ์แนวโน้มในไตรมาสที่สอง นาย Tran Van Binh รองประธานและเลขาธิการสมาคมฯ กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาสแรก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวก รวมถึงได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของสมาคมฯ พบว่าลูกค้าและนักลงทุนส่วนใหญ่ 70% มีความต้องการที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของลูกค้า

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลฝั่งอุปทานของตลาดอสังหาฯ เวียดนาม แสดงให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 20,541 แห่ง รวมถึงที่อยู่อาศัยใหม่ 4,300 แห่ง โดยเฉพาะโครงการอสังหาฯ ที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ มีความพร้อมที่จะปล่อยสู่ตลาด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654024/real-estate-market-has-positive-performances-in-q1-vars.html

แขวงบ่อแก้วปรับขึ้นค่าธรรมเนียมค่าน้ำประปา สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนในพื้นที่

รัฐวิสาหกิจน้ำประปาแขวงบ่อแก้ว กำหนดให้ครัวเรือนต้องจ่ายเงิน 10,000 กีบต่อใบเสร็จรับเงินค่าน้ำทุกใบ ทำให้ชาวบ้านแสดงความไม่พอใจ โดยระบุว่าเป็นมาตรการที่สร้างภาระให้กับชาวบ้านที่เกิดจากรัฐบาล ชาวบ้านบางรายยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินในอนาคต โดยกำลังจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 3,000 กีบ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2567 ยิ่งสร้างความไม่พอใจของชาวแขวงบ่อแก้ว หลายคนเรียกร้องความโปร่งใสและความรับผิดชอบจากรัฐบาล โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของนโยบายที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งมีความยากลำบากจากปัญหาเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานจำนวนมากในปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/11/new-water-bill-receipt-fee-sparks-outrage-among-residents-in-bokeo/

เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title

ยอดขายมันสำปะหลังพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการของจีนที่สูงแม้ราคาจะยังทรงตัว

ตามข้อมูลของผู้ปลูกมันเทศในตลาด ราคามันสำปะหลังในตลาดยังคงทรงตัว แม้ว่ายอดขายจะดีเนื่องจากมีความต้องการสูงจากประเทศจีน โดยราคาขายส่งมันสำปะหลังผงในตลาดอยู่ที่ประมาณ 3,000 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี จีนและอินเดียเป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา รวมทั้งเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง ดังนั้นมันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่สามารถแสวงหารายได้จากต่างประเทศให้กับประเทศเมียนมาได้ นอกจากนี้ ในอดีตมันสำปะหลังมีการปลูกแบบดั้งเดิมแต่ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการกำหนดกรอบการผลิตซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ โดยผลผลิตหัวมันเทศสามารถขุดได้ภายใน 8 เดือน และผลผลิตสำเร็จรูปอาจลดลงหากขุดหลังจากผ่านไป 15 เดือน ในการทำต้นกล้าสามารถขุดได้หลังจากผ่านไป 10 เดือน และโอกาสที่จะถึงระยะปลูกอาจต่ำหากขุดหลังจาก 15 เดือน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-powder-sales-surge-amid-high-chinese-demand-despite-steady-prices/#article-title