‘อาเซียน’ เร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจก้าวสู่ยุคดิจิทัล คาดปีหน้า GDP อาเซียนโตถึง 5.2%

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ร่วมถกแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาค เน้นเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสานสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่ม ย้ำจุดยืนการเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ การใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมหนุนศึกษาข้อริเริ่มที่ช่วยรับมือกับความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข มั่นใจ ปีหน้า GDP อาเซียนจะขยายตัวเพิ่มถึง 5.2% ด้าน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่อนาคต ควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค (APEC) ของไทยในปีนี้ด้วย สำหรับในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 2565) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 31,125.2 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.2% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกจากไทยไปอาเซียน มูลค่า 17,906.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17% และการนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 13,218.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.4%

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3325478

เร็วๆ นี้ รถไฟลาว-จีนจะเชื่อมท่าเรือแห้งธนาเล้ง

ทางการกำลังเตรียมเชื่อมต่อทางรถไฟลาว-จีน จากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งธนาเล้ง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้รถไฟได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 ท่าเรือแห้งธนาเล้งได้ให้บริการขนส่งสินค้าลาว-จีนจำนวน 11,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดทำการอย่างเป็นทางการ นายสาคน พิลังกาม กรรมการผู้จัดการท่าเรือแห้งธนาเล็ง กล่าวว่า จากตู้สินค้า 11,000 ตู้ ร้อยละ 80 ขนส่งสินค้าระหว่างทางจากจีนผ่านลาวไปยังประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย สินค้าที่จัดส่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ปุ๋ย เสื้อผ้าและสิ่งทอ ทั้งนี้เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกยิ่งขึ้น บริษัท ท่าโบกธนาเลง จำกัด ได้ลงทุนก่อสร้างรางรถไฟระยะทาง 1.2 กิโลเมตร จากทางรถไฟลาว-ไทย ไป ท่าบกธนาเลง ขณะที่ บริษัท ลาว-จีน เรลเวย์ จำกัด กำลังลงทุนในการก่อสร้าง ของทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ถึงธนาเลนระยะทาง 2.8 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างลาว-จีนกับสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งทนาเล้งนั้นใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้น  เมื่อทางรถไฟสายใหม่เสร็จสิ้น จะช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านธนาเล้งจากจีนมาไทย จากไทยไปจีน ผ่านธนาเล้งได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten98_Laoschina.php

พิษเงินเฟ้อลาวพุ่ง-กีบอ่อนค่าทุบค้าชายแดน7หมื่นล.หงอย

เศรษฐกิจลาวฝืดหนัก ปม “เงินเฟ้อพุ่ง-กีบอ่อนค่า” ต่อเนื่อง ทำการค้า 7 หมื่นล้าน สะเทือน “ทูตพาณิชย์ สปป.ลาว” หวั่น สินค้าไทย รถยนต์-อุปโภคบริโภค โดนหางเลข ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ปัญหาลามกระทบค้าขายชายแดนเงียบเหงา “ตั้งงี่สุ่น” ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่อุดร ลูกค้าลดวูบ เศรษฐกิจของประเทศลาวที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 และถูกซ้ำเติม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดผลพวงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินกีบกลับอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ยิ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของลาวมีอาการที่หนักขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลให้ธุรกิจการค้าชายแดนลาว-ไทย ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ทั้งนี้ ปัญหาเงินกีบที่อ่อนค่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ล่าสุดพบว่า ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย โดยเฉพาะรถยนต์ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคแม้จะยังมีความต้องการ แต่ผู้บริโภคระวังการจับจ่าย ทำให้ผู้นำเข้าระวังมากขึ้นและสต๊อกสินค้าตามความต้องการ

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 – 27 พ.ค. 2565

‘ศก.เวียดนาม’ เผิชญกับความท้าทายใหม่ ท่ามกลางความไม่แน่นอนโลก

The Economic Information Daily ซึ่งเป็นสื่อในเครือของสำนักข่าวซินหัวที่เป็นสื่อของรัฐบาลจีน ได้ตีพิมพ์บทความระบุว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความผันผวน ตามรายละเอียดชี้ให้เห็นว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจท้องถิ่นได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ เศรษฐกิจของประเทศมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 เวียดนามก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตของ GDP เป็นบวก นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการดำเนินใช้ชีวิตกำลังจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนเกิดโรคระบาด แต่ก็กำลังเผชิญกับอุปสรรคใหม่ อาทิ ปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและปัจจัยดังกล่าวเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-economy-facing-new-challenges-amid-global-uncertainties-post946020.vov

รองนายกฯ เวียดนาม ตั้งเป้า GDP โต 6.5%

การประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 15 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นาย เล วัน แถ่ง (Le Van Thanh) รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามปี 2565 ให้โตได้ตามเป้าหมาย 6-6.5% ถือเป็นเป็นความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ในปัจจุบันเวียดนามมุ่งรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระดับมหภาคและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แสดงได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.1% นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินงานตามมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและมุ่งป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ตลอดจนขอความร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อและเพิ่มรายรับงบประมาณของภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/growth-target-of-65-remains-big-challenge-deputy-pm-post945860.vov

เดือนเม.ย.66 ของงบฯ 65-66 เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาทะลุ! 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการบริษัทแห่งการบริหารการลงทุนและบริษัท (DICA)  เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. 2565 เมียนมามีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการลงทุนของจีน 2.782 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยไต้หวัน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮ่องกง 1.215 ล้านดอลลาร์ และประเทศอื่นๆ รวมเป็น 5.997 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในช่วงหกเดือนของงบประมาณย่อยปี  2564-2565 พบว่าประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา คือ สิงคโปร์ 297.349 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วย จีน 142.137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง  109.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,  เกาหลีใต้ 62.693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ใต้หวัน 8.641 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทย 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us6-mln-foreign-investment-flows-in-april-this-2022-2023fy/