กัมพูชาลงนามข้อตกลงด้านการสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาตลาดซัพพลายเชนทางการเงิน” โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้รับการลงนามเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายกำกับการธนาคารในนามของผู้ว่าการ NBC และผู้แทนของ IFC ซึ่งโครงการพัฒนาตลาดห่วงโซ่อุปทานทางการเงินจะช่วยสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาในการปรับปรุงภาคเอกชนในประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ชาติด้านการเงินรวมสำหรับปี 2019-2025 เพื่อส่งเสริมภาคสินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการนี้จะมีบทบาทสำคัญในฐานะแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายสำหรับ SMEs และระบบทางการเงินในกัมพูชา ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนด้านกฎระเบียบและการปรับปรุงความรู้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50818714/agreement-to-support-cambodias-private-sector-development-signed/

ถนนในเมืองได้รับการปรับปรุงเพื่อการจราจรและขนส่งที่ดีขึ้น

ถนนหลายสายทั่วเมืองหลวงได้รับการปรับปรุงหรือซ่อมแซมโดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงการจราจรและทำให้การขับขี่ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน โดยโครงการจะมีงบประมาณลงทุน 2.4 พันล้านกีบ นอกจากนี้กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งยังได้ปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 13 ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งและการขนส่งสินค้าที่สำคัญระหว่างสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนามไทยและกัมพูชา ทั้งนี้การส่งเสริมดังกล่าวนอกจากกจะเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วถนนที่ปรับปรุงยังเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างชายแดนสปป.ลาวและเพื่อนบ้านอีกด้วย

ที่มา https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_City_41.php

RCEP ยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม

ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) เปิดโอกาสที่ดีให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนามในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก นาย Lê Duy Minh ประธานสมาคมฟาร์มและวิสาหกิจการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่า RCEP จะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนาม สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเปิดโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งข้อตกลงการค้าดังกล่าว มีจำนวนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วน 29% ของ GDP โลก และมีจำนวนประชากรรวม 2.2 พันล้านคน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะช่วยยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม เนื่องจากกลุ่มประเทศสมาชิกมีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสใหม่แก่การค้ากับจีน ได้แก่ การสื่อสาร บริการทางการเงิน โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/886346/rcep-offers-opportunity-to-expand-vietnamese-agricultural-exports.html

“นิกเกอิ เอเชีย” เผยเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 64

ตามข้อมูลของนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) เผยว่าในปีที่แล้ว เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 2.9% เนื่องมาจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งได้รับอนิสงค์จากการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ไว้ที่ 6.5% ทั้งนี้ นาย Gareth Leather นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัท Capital Economics ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการส่งออกของเวียดนามควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ ดำเนินเล็งจัดเก็บภาษีจากสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุน และกลุ่มประชากรที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ประกอบไปด้วยแรงงานจำนวนมากที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความได้เปรียบในการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในระยะสั้น คือ การควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/nikkei-aisa-vietnam-will-be-southeast-asian-growth-leader-in-2021-839093.vov

ค้าทวิภาคี ไทย – เมียนมา พร้อมดำเนินการหลังไทยเปิดชายแดน

การค้าที่ประตูพรมแดนชั่วคราวพิเศษเมืองหินขุนบริเวณชายแดนระหว่างเมียนมาร์และไทยกลับมาดำเนินการอีกครั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 64 หลังจากฝ่ายไทยเปิดด่านอีกครั้ง ประตูด่านมุต่อง  (Mawtaung) ในเขตตะนาวศรีประตูพรมแดนหินขุนในประเทศไทยถูกหลายครั้งเนื่องจากการระบาดของ COVID -19 ไทยตัดสินใจเปิดประตูอีกครั้งในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ แต่เริ่มการค้าได้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา การค้าทวิภาคีเมียนมาเปิดประตูชายแดนมะแว้ง แต่ไทยเปิดประตูพรมแดน Hsinkhu ชั่วคราวซึ่งหลังจากปิดบ่อยครั้งบ่อยครั้งจากการระบาดของโควิด -19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/bilateral-trade-resumes-after-thailand-reopened-its-border-gate

GIZ ทำข้อตกลงกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มการบริโภคที่ยั่งยืนในสปป.ลาว

Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ลงนามกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เงินสนับสนุนทางเทคนิคจำนวน 600,000 ยูโรสำหรับการบริโภคที่ยั่งยืน โครงการ“ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนในเอเชีย: The Next Five” (SCP) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ได้รับทุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนีโดยร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์และภูฏานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการผลิตและบริการที่ยั่งยืนและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณทั้งหมดสำหรับห้าประเทศคือ 5 ล้านยูโรโดยมีระยะเวลาโครงการสามปีสปป.ลาว คาดว่าโครงการนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของสปป. ลาวโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (ฉบับที่ 030 / NA) ซึ่งออกเมื่อวันที่ 2 2 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งระบุไว้ในข้อ 4 วรรค 3 ว่ารัฐบาลส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_GIZ39.php

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ชี้ผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนเพิ่มมาตรฐานสินค้า

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ได้เรียกร้องให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนการปลูกมะม่วงกับกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานของผลไม้ภายในกัมพูชา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดตั้งกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง และร่วมงานกับบริษัททั้งในและต่างประเทศในการทำคอนแทรคฟาร์มมิ้งเพื่อแปรรูปและส่งออกมะม่วง โดยจากข้อมูลของ MAFF ราคาสินค้าเกษตรรวมทั้งมะม่วงมีความผันผวนตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงอุปสงค์และอุปทานในตลาดที่ไม่แน่นอน กระทรวงฯ จึงพยายามอย่างมากในการแสวงหาตลาดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงของกัมพูชา โดยเฉาพะเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 131,890 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตเฉลี่ย 18.78 ตันต่อเฮกตาร์ โดยผลผลิตในปี 2020 อยู่ที่ 1.75 ล้านตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817427/mango-farmers-asked-to-register-to-boost-standards/

กัมพูชาส่งเสริมธุรกิจด้านการเกษตร

Khmer Enterprise (KE) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ร่วมกับ Cambodia Partnership for Sustainable Agriculture (CPSA) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคการเกษตรของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมนวัตกรรมการปรับตัวทางเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการผลิต การพัฒนาทักษะทางธุรกิจ การเชื่อมโยงด้านวิชาการกับอุตสาหกรรม และการเป็นผู้ประกอบการในภาคการเกษตร รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกสนับสนุนภาคการเกษตรภายในประเทศ โดย KE และ CPSA ยังได้เปิดตัวโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรที่ยั่งยืน และมีประสิทธิผลมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาหลักสองประการที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรในกัมพูชา ได้แก่ ปัญหาผลผลิตต่ำ และปัญหาแรงงานภาคการเกษตรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่น้อยลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817350/promoting-business-in-farming/

“พาณิชย์” เผย “ทุเรียน-ถุงมือยาง” แชมป์ใช้สิทธิ์ FTA-GSP ปี 63

กรมการค้าต่างประเทศเผยยอดใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าปี 63 มีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 10.46% ตามการส่งออกที่ชะลอตัว เผย “ทุเรียนสด” นำโด่งใช้ FTA “ถุงมือยาง” นำใช้สิทธิ์ GSP คาดปี 64 ยอดใช้สิทธิ์เพิ่มตามการฟื้นตัวของการส่งออก และการพัฒนางานบริการให้ยื่นขอใช้สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในปี 2563 ที่ผ่านมามีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.46% ซึ่งเป็นไปตามการส่งออกในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.06% ของสินค้าที่ได้สิทธิประโยชน์ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 58,077.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.41% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.53% และการใช้สิทธิภายใต้ GSP มูลค่า 4,261.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.03% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 70.12%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000018374