สหรัฐฯวางแผนสนับสนุนกัมพูชาเพิ่มเติมในวงเงิน 66.2 ล้านดอลลาร์

รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้ลงนามอย่างเป็นทางการในหนังสือแลกเปลี่ยน ซึ่งสะท้อนถึงปริมาณเงินสนับสนุนจำนวน 66.2 ล้านดอลลาร์ ในข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสำหรับกัมพูชา โดยรัฐมนตรีอาวุโสกัมพูชารับผิดชอบภารกิจพิเศษ ร่วมกับรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้เป็นตัวแทนฝ่ายกัมพูชา ร่วมประชุมกับหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่ง CDC กล่าวว่าการระดมทุนเพิ่มเติมจะสนับสนุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาจำนวน 43.3 ล้านดอลลาร์ ภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อม 22.9 ล้านดอลลาร์ โดยตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2019 รัฐบาลสหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชามาแล้วประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 6.10 ของการเบิกจ่าย ODA ทั้งหมด ซึ่งความช่วยเหลือนี้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของ RGC ตามที่ระบุไว้ใน Rectangular Strategy IV และแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติปี 2019-2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50793668/u-s-to-provide-additional-66-2-million-to-aid-cambodias-development/

สุริยะหารือสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียนดึงทุนธุรกิจดิจิทัลในไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) นำโดยนายไมเคิล มิคาลัก รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการภูมิภาค สภาธุรกิจ USABC พร้อมด้วยนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ และผู้แทนจากบริษัท รวม 38 บริษัท ได้เข้าหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมแบบกึ่งออนไลน์ โดยพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลไทยเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 อีกทั้งส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการใช้วัตถุดิบหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งนี้การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อรับรองการทำธุรกิจยุคดิจิทัล โดยรัฐบาลได้เดินหน้าเปิดประมูลคลื่น 5 จี และเร่งพัฒนาโครงข่าย 5G ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลได้ ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ยกระดับการทำงานสู่ระบบออนไลน์ โดยได้ผลักดันการใช้ระบบฐานข้อมูล ประมวลผล และสนับสนุนอุตสาหกรรม (I-industry) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้เกิดการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (online service) อำนวยความสะดวกในการให้บริการกับผู้ประกอบการผ่านระบบ

ที่มา : https://tna.mcot.net/latest-news-600958

กนอ.ประกาศเดินหน้าแผนปี’64 ศูนย์กลางฐานการผลิตของภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Industry Toward 2021” ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 หลังสถานการณ์โควิด-19 ในงานฉลองครบรอบ 48 ปี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) “The Journey of Sustainable Partnership” ว่า ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงฯได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายหลายประการที่เป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประการแรก คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งผลักดันมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม ประการที่สอง : การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากด้วยการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ประการที่สาม : การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็น มิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2486117

ธุรกิจเวียดนามและจีน ลงนามสัญญาราว 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจเวียดนามลงนามสัญญา 18 ฉบับกับทางผู้ประกอบการจีน ด้วยมูลค่า 758.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในงานแสดงสินค้าชายแดนเวียดนาม-จีน ครั้งที่ 20 เกี่ยวกับธุรกรรมการส่งออก-นำเข้าแร่โลหะ, สารเคมี, สินค้าทางการเกษตร ป่าไม้และประมง และปุ๋ย เป็นต้น โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม นับว่าเป็นครั้งแรกที่จัดงานในลักษณะ Virtual Platform เนื่องจากอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของงานนี้ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระดับทวิภาคีระหว่างเมืองลาวไค (Lao Cai) – มฑฉลยูนนาน (Yunnan) มีส่วนทำให้ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-china-firms-sign-contracts-worth-nearly-us760-million-at-trade-fair-315354.html

เวียดนามเกินดุลการค้าพุ่ง 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้า 754 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน และส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าสูงถึง 20.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออก 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า 24.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 รองลงมาเครื่องนุ่งห่ม (31.9%), เครื่องจักรและส่วนประกอบ (14.1%), รองเท้า (24.6%), ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (29.4%) และอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 254.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และมูลค่าการนำเข้ารวม 234.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า มองว่าผลการดำเนินงานทางการค้าของเวียดนามนั้นอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องมาจากการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ เช่น ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA)

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-further-expands-to-us2006-billion-in-11-months-315366.html

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมามุ่งผลิต-ส่งออกที่หลากหลายขึ้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมาจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายโดยการกระจายตลาดเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดน้อยลงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19  ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาต้องเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความไม่แน่นอนว่าจะมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เมื่อใด ปัจจุบันตลาดเครื่องนุ่งห่มของเมียนมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี และอีกเล็กน้อยในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหลายประเทศเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบส่งผลให้มีคำสั่งซื้อน้อยลง ทั้งนี้ประเทศที่นำเข้าผ้าดิบจากจีนและเมียนมาอาจพิจารณาหันมานำเข้าจากอินเดียหรือปากีสถานแทน การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้น และการยกเลิกคำสั่งซื้อซึ่งส่งผลให้งานหายากขึ้นและการปลดแรงงานออกเนื่องจากนักการถอนการลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้โรงงาน CMP (Cut-Make-Pack) ปิดตัวลงมากถึง 64 แห่งส่งผลให้มีผู้ตกงานมากกว่า 25,000 คน ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก CMP ไปเป็นแบบ FOB (Free on Board) เพื่อะเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและการขยายตลาด ทั้งนี้ภายใต้โครงการที่ริเริ่มโดยสหราชอาณาจักรซึ่งสนับสนุนให้โรงงานเสื้อผ้า 5 แห่งในย่างกุ้งและพะโคเริ่มผลิต อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) แทน เมียนมามีรายได้เกือบ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกเสื้อผ้าในปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งลดลงกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-garment-sector-told-diversify.html