พาณิชย์ เผย SEOM ทำแผนฟื้นฟูศก.หลังวิกฤตโควิด-19 เชื่อมห่วงโซ่การผลิตอาเซียน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Official Meeting : SEOM) ครั้งที่ 3/51 ระหว่างวันที่ 22-25 ก.ค.63 ผ่านระบบทางไกล เพื่อติดตามความคืบหน้าการทำงานของคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อเตรียมรายงานความสำเร็จต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ที่กำหนดจัดขึ้นในเดือน ส.ค.นี้ สำหรับการทำงานของเสาเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 มีความคืบหน้าดังนี้ 1.พร้อมใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (ASEAN-Wide Self Certification) ในเดือน ก.ย.63 โดยผู้ส่งออกจะสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของอาเซียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องไปขอรับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) จากหน่วยงานภาครัฐ 2.พร้อมลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียน ในช่วงการประชุม AEM ครั้งที่ 52 ในเดือน ส.ค.นี้ 3.ได้ข้อสรุปการเจรจา MRA สินค้าวัสดุก่อสร้าง และเตรียมลงนามในปีนี้เช่นกัน ซึ่ง MRA ทั้งสองฉบับจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์และวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากเมื่อผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานทดสอบมาตรฐานในประเทศอาเซียนที่ส่งออกแล้วไม่ต้องตรวจซ้ำในประเทศอาเซียนที่นำเข้า และ 4.พร้อมใช้ความตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาเซียนในปี 2563 เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยทำการค้าระหว่างเกิดโควิด-19 ทั้งนี้ การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2562 มีมูลค่าการค้ารวม 107,674 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 62,841 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าของไทยจากอาเซียน 44,833 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-77a1ea9aee8320ed899b2ea2d5eb7329

การส่งออกไม้ของเวียดนามกลับมาฟื้นตัว ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 5.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยในเดือนมิ.ย. ยอดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ของเวียดนามที่ 769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเดือนมิ.ย. การส่งออกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ชะลอตัวลงในบางตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน แคนาดาและออสเตรเลีย เป็นต้น และมีข้อสังเกตสำคัญชี้ให้เห็นว่าตลาดยุโรป มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายระดับภูมิภาค รวมถึงประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 แบบคลื่นลูกที่ 2 ส่งผลให้กระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคในยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) จะมีผลบังคับใช้วันที่  1 สิ.ค. และบรรลุในการคุ้มครองการลงทุนทวิภาคี

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-wood-exports-recover-during-the-first-half-of-the-year-22790.html

เวียดนามเผยม.ค.-ก.ค. ดึงดูดเม็ดเงิน FDI ลดลง 6.9% (18.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 18.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยมี 526 โครงการที่ได้รับอนุญาตใหม่ ยอดการลงทุนที่เป็นการลงทุนเพิ่มในโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว มีนักลงทุนต่างชาติ 4,459 รายที่เข้ามาลงทุนและซื้อหุ้น มูลค่าราว 4.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเกือบร้อยละ 55 ของยอดทั้งหมด ขณะที่ ร้อยละ 28.8 ก๊าซ น้ำและจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ การลงทุน FDI ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม, ภาค FDI คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของยอดส่งออกทั้งประเทศ

ที่มา : https://e.nhipcaudautu.vn/economy/vietnams-jan-jul-pledged-fdi-drops-69-to-1882bln-3336300/

เมียนมาอนุมัติกู้สินเชื่อของ ADB หนี้คงค้างที่ 8.8 ล้านล้านจัตในปี 61-62

หนี้ในประเทศและต่างประเทศของเมียนมาอยู่ที่ 40.8 ล้านล้านจัต ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 40 ของ GDP ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมแจ้งให้รัฐสภาทราบเกี่ยวกับรายงานหนี้สินประจำปี 2561- 2562  ในวันที่ 24 กรกฎาคม หนี้ของประเทศประมาณร้อยละ 63 เป็นหนึ้ภายในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันเงินทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้กับกระทรวงการก่อสร้างและกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน คาดว่าในปีนี้หนี้จะเพิ่มขึ้นอีกโดยรัฐบาลได้กู้ยืมเงินจาก ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสนับสนุนโครงการระดับประเทศและโครงการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของ COVID-19 สภาผู้แทนราษฎรของเมียนมาอนุมัติการกู้ยืมเงิน 171.3 ล้านดอลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ใช้ในโครงการไฟฟ้าเขตชนบทในรัฐกะเหรี่ยง เขตอิรวดี เขตพะโค และเขตมะกเว คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับ 2,815 หมู่บ้าน จำนวน 400,400 ครัวเรือน เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเวลา 32 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผันแปดปีซึ่งจะเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1 สำหรับส่วนที่เหลืออีก 24 ปี อัตราดอกเบี้ยจะเป็นร้อยละ 1.5 โดยอัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 15

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-adb-loan-outstanding-debt-hits-k408-trillion-2018-19.html

INFOGRAPHIC : ผู้ผลิตอุตสาหกรรมและแปรรูปเวียดนาม 80.6% เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สถานการณ์ธุรกิจในประเทศ คาดว่าจะดีขึ้นหรือยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แบ่งออกเป็นประเภทธุรกิจ ดังต่อไปนี้

คาดการณ์แนวโน้มการทำธุรกิจในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ภาพรวมธุรกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 80.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 19.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจ FDI : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 75.9% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 24.1% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • รัฐวิสาหกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 79.7% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 20.3% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจเอกชน : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 82.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 17.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น

คาดการณ์แนวโน้มการผลิตและยอดตำสั่งซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ปริมาณการผลิต : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 48.8% มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมา 33.1% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.1% แย่ลง ตามลำดับ
  • ยอดคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 45.1% มองว่าได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมา 36.6% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.3% แย่ลง ตามลำดับ
  • ส่งออกคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 43.9% มองว่าได้รับยอดส่งออกคำสั่งซื้อไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา 34.2% เพิ่มขึ้น และ 21.9% แย่ลง ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/806-processing-manufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/179048.vnp

เวียดนาม-นิวซีแลนด์ เร่งส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน

กระทรวงการคลังเวียดนามและกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด่วยความร่วมมือด้านการเงิน ณ กรุงฮานอย วันที่ 23 ก.ค. เอกสารดังกล่าวได้รับการลงนามโดยคุณ Wendy Matthews เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำเวียดนาม พร้อมด้วยคุณ Tran Xuan Ha รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งการเซ็น MoU จะช่วยในการจัดระเบียบและความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมระหว่างกระทรวงการคลังเวียดนาม-นิวซีแลนด์ รวมถึงความร่วมมือทวีภาคีในมิติต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงงบประมาณ, บริหารการเงินการคลังภาครัฐ, การจัดการหนี้, นโยบายภาษี, ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและประเด็นทางการเงินอื่นๆ ทั้งนี้ นิวซีแลนด์มีความสามารถในการส่งเสริมเวียดนามหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ การวิจัย การพัฒนาและการบังคับใช้นโยบาย เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-new-zealand-boost-financial-cooperation-ties-416435.vov

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 63 โต 3%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 น่าจะเติบโตแบบชะลอตัวต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ร้อยละ 3 เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวของธนาคารฯ สูงกว่าการคาดการณ์ของ IMF ไว้ที่ร้อยละ 2.7 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ ADB ที่ร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะกลับมาฟื้นตัว อันจะเป็นแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามยังคงค่อนข้างพึ่งพาเศรษฐกิจโลก รองจากสิงคโปร์ โดยมีอัตราการค้าเทียบกับจีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 198 อันดับสูงสุดในเอเชีย ได้แรงหนุนจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 63 โตร้อยละ 3 อีกทั้ง การส่งเสริมของนโยบายการเงินและการคลังจะเข้ามาผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของรัฐบาลไว้ที่ร้อยละ 4-5 นอกจากนี้ ยอดการลงทุน FDI จะลดลงในปีนี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนและความเชื่อมั่นในการลงทุนทั่วโลกหดตัวลง คิดเป็นมูลค่ารวม 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-2020-growth-seen-at-3-stanchart-313393.html

รัฐบาลเมียนมาวางแผนซื้อข้าวสำรองเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์เผยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะซื้อข้าวเพิ่มอีก 20,000 ตันเพื่อเป็นแหล่งสำรองข้าว  เมื่อต้นปีรัฐบาลเมียนมาประกาศจะซื้อข้าว 50,000 ตันจากเกษตรกรเพื่อการสำรองหลังตรวจพบ COVID-19 ในเมียนมาเป็นครั้งแรก และจะซื้อเพิ่มอีก 20,000 ตัน ข้าวได้รับการจัดหาจากบริษัทส่งออก 12 แห่งและเก็บไว้ที่โกดัง 9 แห่ง ระหว่างวันที่ 30 เมษายนถึง 12 มิถุนายน 2563 มีการซื้อข้าวจากเมืองย่างกุ้ง 40,000 ตัน 3,000 ตันจากมัณฑะเลย์ และ 1,000 ตันจากเนปิดอว์ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เมียนมาส่งออกข้าวได้สูงสุด 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2562-2563 มีการซื้อข้าวจากผู้ค้าข้าวในท้องถิ่นมากถึง 38 พันล้านจัตและคาดว่าจะซื้อข้าวสำหรับส่งออกได้มากถึง 10% เพื่อทำการสำรอง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-plans-buy-more-reserve-rice.html

นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาถึงสปป.ลาวลดลงกว่า 60%

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาสปป.ลาวในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ลดลง 60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการปิดด่านชายแดนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 จากการรายงานของกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงจาก 2,228,459 คนในเดือนม.ค.-มิ.ย. ในปี 62 เป็น 886,447 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนลดลงจาก 1,462,985 เป็น 555,475 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน ไทยลดลงจาก 942,470 คน เป็น 350,098 ในขณะที่เวียดนามลดลงจาก 468,632 เป็น 186,174 จีนลดลงจาก 261,199 เป็น 138,457 เกาหลีใต้ลดลงจาก 46,967 เป็น 40,207 และญี่ปุ่นลดลงจาก 44,559 เป็น 11,081 ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเนื่องจากด่านชายแดนระหว่างประเทศถูกปิดในช่วงการระบาดของโควิด -19 ทุกส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้รับผลกระทบรวมถึงโรงแรม รีสอร์ทและเกสต์เฮาส์ บริษัททัวร์และสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศ นอกจากนี้เหตุการณ์สำคัญหลายอย่างได้ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยมีมูลค่ามากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐที่หายไปจากภาคธุรกิจในช่วงสองเดือนแรกของปี สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NERI) ระบุว่านักท่องเที่ยวจากจีนและไทยซึ่งเป็นตลาดชั้นนำของลาวลดลง 16% และ 5% ตามลำดับในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_International_142.php

กัมพูชาศึกษาความเป็นไปได้ในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม

การศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรมในจังหวัดเสียมเรียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงขยะเป็นพลังงานและรักษาความสะอาดในเขตเมือง ซึ่งโรงงานมีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 12 เมกะวัตต์ ถูกเสนอโดยบริษัท MIZUDA ของจีน โดยใช้ขยะอย่างน้อย 210,000 ตันต่อปี เพื่อผลิตพลังงานประมาณ 750,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม โดยคณะผู้แทน MIZUDA ซึ่งบริษัทได้สรุปการสำรวจเมื่อปลายปี 2019 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดเสียมเรียบปัจจุบันมีขยะประมาณวันละ 480 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 600 ตัน ในปี 2022 และ 1,000 ตันภายในปี 2035 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมราฐให้การต้อนรับโครงการโดยเน้นว่าจะมีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและจัดจัดสรรไฟฟ้าประมาณร้อยลละ 10 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในจังหวัด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747710/feasibility-study-on-waste-to-energy-plant-in-siem-reap-province-proposed/