ทำไม สินค้าไทยมาแรงตลาดเวียดนาม

เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประชากรราว 90 ล้านคนที่อยู่ในวัยทำงาน พร้อมกำลังซื้อสูงในชนชั้นกลาง ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ เวียดนาม รายงานว่าในปี 2560 ตลาดค้าปลีกเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 1.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 ล้านล้านบาท) และยอดขายของร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าคาดว่าจะเติบโตเร็วมากที่สุด โดยเวียดนามถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในตลาดค้าปลีกลำดับที่ 6 ของโลกจาก 30 ประเทศ โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม พบว่าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า เป็นต้น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และคาดว่าในปี 2563 ภาคการค้าปลีกจะขยายตัวสัดส่วนร้อยละ 45 ของภาคการค้าปลีกทั้งหมดในเวียดนาม หากสังเกตตามเมืองหรือชนบท พบว่าจะเห็นสินค้าไทยวางขายในร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ มีอยู่จำนวนมาก เนื่องมาจากคนเวียดนามมองสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีกว่าสินค้าจีน แม้ว่าราคาจะแพงกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยม เนื่องจากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น จึงเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกของตลาดเวียดนาม สรุปได้ว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตต่อเนื่องทุกปี กลุ่มชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสความนิยมสินค้าไทยมาแรง จึงเป็นโอกาสทางของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะเข้าไปในตลาดเวียดนาม

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-product

ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนของชาวต่างชาติ

การทำธุรกิจหรือการลงทุนในต่างประเทศ แม้จะเข้าตลาดก่อน แต่ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าแย่งส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)ก่อน ก็ไม่สามารถชนะได้ และการก้าวต่อไปจะยากลำบากมาก เมื่อเข้าไปลงทุนหรือทำการค้า ต้องใจกล้าๆ ลงให้ถึงที่สุด เมื่อได้ Market Share แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ดี ต้องมั่นดูแลตลาดให้ดี อย่าให้คู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ หากเราใส่ใจรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ เราจะสามารถกินส่วนแบ่งได้อีกนาน ดังนั้นการที่บริษัทหนึ่งๆ กล้าเข้าไปในสภาวะที่คนอื่นไม่ได้เข้าหรือไม่กล้าเข้า อาจจะเป็นเพราะว่าเขามองว่าคู่แข่งน้อย การทำการตลาดย่อมง่ายกว่า ซึ่งจะมองด้านความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเมือง ว่ามีความผันผวนระยะสั้นมากกว่า เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็มักจะอยู่ไม่เกิน 2 – 3 สมัย พอความนิยมเสื่อมลง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่บริษัทจะไม่ค่อยกลัวกัน ยิ่งตอนมีการเลือกตั้ง นโยบายส่งเสริมการลงทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามา จะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่จะไปลงทุน ถ้าไม่มีสงครามกลางเมือง แค่เดินขบวนประท้วง หรือการสู้รบตามชายแดนเล็กๆน้อยๆ นักลงทุนย่อมไม่กลัวในการเข้ามาลงทุน ตัวอย่างเช่น การสู้รบที่รัฐฉานรัฐยะไข่ของเมียนมา ในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ หรือที่ย่างกุ้ง ก็ไม่มีการถอนการลงทุนออกไป สรุปว่า นักการค้าการลงทุน จะพิจารณาการลงทุนอย่างจริงจัง และมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ( Feasibility study) ก่อนจะตัดสินใจลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586359

จับตาเมียนมา ปูทางลงทุนท่องเที่ยว ‘รัฐยะไข่’

จากพิธีฉลองการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และอ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสะพานแงนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2558 โดยมีมูลค่าประมาณ 4,132 ล้านบาท ประกอบด้วยถนนฝั่งไทยความยาว 17.25 กม. ฝั่งเมียนมาความยาว 4.15 กม. นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเมย และจุดควบคุมชายแดนด้วย เป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมการค้าการท่องเที่ยว โดยโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในเอเชียและยุโรปกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก สหประชาชาติ (ESCAP) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายถนนโดยรวมในภูมิภาค และช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณด่านชายแดนเมียวดี-แม่สอด ปริมาณการค้าระหว่างไทย-เมียนมาในเดือนต.ค. 61-ม.ค 62 มีมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเมียนมารองจากจีน ปัจจุบันนโยบายรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ใน “รัฐยะไข่” โดยโฟกัสไปที่บริเวณแนวชายฝั่งรัฐยะไข่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมกำหนดชายหาดเป็นจุดหมายใหม่ โดยชูจุดขายเรื่องความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่ผ่านมาการเปิดชายหาด Ngapali ได้รับความนิยมสูง มีชาวต่างชาติเดินทางโดยรถยนต์จากย่างกุ้ง ซึ่งใช้เวลา 9-10  ชั่วโมง มากกว่า 60,000 คนต่อปี จากการสำรวจความเห็นของนักลงทุนพบว่าสนใจลงทุนด้านการท่องเที่ยวสูงสุด เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น เช่น เกษตร ประมง หรือปศุสัตว์ แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ราคาที่ดินที่สูงมาก โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลท้องถิ่นให้ข้อมูลว่าได้มีโครงการก่อสร้างถนนและสนามบินที่จะเริ่มเร็วๆ นี้ และยังมีโครงการใหม่ 5 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาเมืองใหม่และสนามบิน Mrauk-U เขตนิคมอุตสาหกรรม Ponnagyum โครงการพัฒนา Kyaetaw – Mingan และการปรับปรุงสนามบิน Ngapali และโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บนเกาะ Manaung หากโครงการทั้งหมดก่อสร้างแล้วเสร็จ เศรษฐกิจของเมียนมาน่าจะเติบโตและเป็นจุดที่น่าสนใจในอาเซียน

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/31192

ความกังวลต่อปัญหาภายในประเทศของนักลงทุน

ความกังวลในความสงบและการสู้รบของชนชาติพันธ์กับรัฐบาลกลางของเมียนมา ที่ได้รับฟังมาจากข่าวสารจากหลายช่องทาง ต่างได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้นักลงทุนมองว่าประเทศที่สงบที่สุดคือสิงคโปร์ รองลงมาก็มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ส่วนไทยอยู่อันดับท้ายๆ จากสถานการณ์การเมือง Death Lock และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ว่าการค้าการลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) เข้ามาในไทยและเมียนมาอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่าอยู่ที่ช่วงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ดังนั้นมาลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอย่างไร การที่จะลงทุนหรือทำการค้าหากเราได้มีโอกาสครองตลาด สามารถต่อรองกับคู่ค้า เพราะสามารถแสดงให้คู่ค้าทั้งสองฝั่งคือฝั่งซื้อและฝั่งขาย ถ้าหากอยากได้โอกาสธุรกิจมาเป็นอันดับแรก ต้องประเมินว่าใช่เวลาอันเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บางธุรกิจที่มีน้อย เช่น สิ่งทอ หากมองด้านความเสี่ยง ก็จะมองว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะลงทุนทางด้านนี้ หรือถ้าจะบอกว่าคู่ค้าที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เช่น โรงย้อม โรงพิมพ์ผ้า โรงงานการ์เม้นต์ ยังมีน้อย สามารถตัดสินใจทันทีว่าไม่ลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้มาแน่ อาจจะรีบเข้ามาลงทุน แต่นี่เป็นมุมมอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความคิดของตัวเอง ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่จะรอเวลาได้หรือเปล่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586290

FTA อียู-เวียดนาม จะกระเทือนส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในอียู?

สหภาพยุโรปและเวียดนาม ได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) เมื่อปลายปี 2558 ในสาระสำคัญของความตกลง EVFTA คือ การลดภาษีสินค้านำเข้ากว่าร้อยละ 99 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด ซึ่งการลดภาษีสินค้าดังกล่าว จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเวียดนามมากขึ้น แต่หากพิจารณาเฉพาะหมวดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนั้น ในระยะสั้นถึงกลาง ไม่ได้ส่งผลให้เวียดนามได้เปรียบไทยมากนัก เพราะแม้ว่าไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าสินค้าประเภทนี้ในปัจจุบัน แต่อัตราภาษีนำเข้าในอียูก็อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คืออยู่ที่ร้อยละ 0-4 ประกอบกับไทยมีฝีมือการเจียระไนอัญมณีที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงทำให้ไทยยังคงเป็นที่ต้องการจของตลาดโลกรวมถึงตลาดอียูอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในระยะยาว EVFTA อาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทย เพราะแม้ว่ามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามไปยังอียูจะยังค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น หากเวียดนามได้พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และสินค้าอัญมณีเวียดนามก็อาจแย่งส่วนแบ่งการตลาดของไทยในอียูได้ในอนาคต เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและการตลาดเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id=2605&Lang=TH&mail=1

ธุรกิจ Training center ด้านการโรงแรม โอกาสของไทยในกัมพูชา

ในปี 2018 มีเม็ดเงินลงทุนถึง 2.6 หมื่นล้านบาท หรือเกือบ 16% ของการลงทุนทั้งหมด ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมทำให้ปัจจุบันขาดแคลนแรงงานภาคการบริการ Skilled labor เป็นจำนวนมาก จากผู้ประกอบการกว่า 1,700 แห่ง ไม่พอใจแรงงานถึง 78% พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะที่สำคัญ อย่าง การให้บริการ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ภาษาและการสื่อสาร นี่จึงเป็นช่องทางของธุรกิจ Training center เพราะไทยมีขนาดอุตสาหกรรมติด 1 ใน 10 ของโลก โดยพื้นฐานหลักสูตรควรเน้นระดับพื้นฐานถึงระดับกลางอย่างเชฟ พนักงานขาย พนักงานต้อนรับถึงผู้บริหารระดับกลาง โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา การตั้งเป็นสถาบัน การเปิดการสอนแบบมอบใบประกาศนียบัตร หรือแบบ Training course และสำคัญที่สุดคือ การร่วมมือกับคนท้องถิ่น ร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/582515?fbclid=IwAR3MbhOik1g0L2rSk0W_7Q8fhGuD84L9m9fgHSr5Mnb1sPwB9oCvgeQW2FM

7 มีนาคม 2562

4 กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมียนมา

การปฏิรูปเศรษฐกิจ ริเริ่มแผนการพัฒนาเมียนมาอย่างยั่งยืนและจัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นในปี 2561 การลงทุน ตั้งเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการลงทุน ในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าในประเทศทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมการส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกับ ADB และ JICA ปรับปรุงคุณภาพทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เมืองและชนบท พัฒนาระบบไฟฟ้า โครงการพลังงานน้ำและโครงการแสงอาทิตย์ 2561 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพิ่มจำนวนโรงแรม ยกเว้นการตรวจลงตราให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ กำหนดมาตรการออก Visa on Arrival ให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน จึงเป็นที่มาของผู้ประกอบการที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะใน 4 ประเด็นหลักที่คาดว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/28721

19 กุมภาพันธ์ 2562

ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

ในปัจจุบัน การทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง “E-Commerce” มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากคนเวียดนามชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูง ซึ่งในช่วงปี 2559-2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้น 8.8% จาก 5.4% ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics ทั้งนี้ 5 อันดับสินค้าและบริการออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ขายดีในเวียดนาม ได้แก่ เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงาม รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน และอุปกรณ์สำนักงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและรับสินค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยกับเวียดนาม มีบริบทแตกต่างกัน นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้านอีคอมเมิร์ซแรงมากอีกประเทศ ด้านผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซของไทยควรศึกษาโอกาส เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17759

พฤติกรรมการโอนเงินของชาวกัมพูชา เทคโนโลยีไม่ซับซ้อนแต่แก้ปัญหาได้ตรงจุด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางธุรกรรมทางการเงินล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่ในกัมพูชาเองยังมีวิธีการโอนเงินด้วยวิธีที่ง่ายไม่ซับซ้อน ด้วยความที่ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคารเป็นของตัวเองจึงไม่สามารถทำธุรกรรมผ่าน ATM หรือระบบออนไลน์ได้ และยังรั้งตำแหน่งท้ายสุดในกลุ่ม CLMV ของจำนวนผู้มีบัญชีธนาคาร ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือรายใหญ่คือ Wing (Cambodia) มีสาขามากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการตั้งแต่โอนเงินส่วนบุคคล ชำระสินค้า และโอนเงินระหว่างประเทศ โดยมีค่าธรรมเนียม 0.38 – 2.5 เหรียญสหรัฐ โอนครั้งละไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ และในปัจจุบันคนรุ่นใหม่เริ่มมีการใช้ระบบดิจิตอลกันมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการ/นักลงทุนไทยควรทำความเข้าใจและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50457.pdf

28 กุมภาพันธ์ 2562

อันดับการมีส่วนร่วมใน CLMV ของญี่ปุ่นแซงไทยขึ้นมาอยู่อันดับ 3 โดยเน้นลงทุนภาคบริการใน CLMV มากขึ้น (CLMV-EPI)

ดัชนีบทบาททางเศรษฐกิจใน CLMV (CLMV-EPI) ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ไทยหลุดจาก 1 ใน 3 ของกลุ่มประเทศที่ลงทุนใน CLMV โดยถูกแทนด้วยญี่ปุ่นที่เน้นการลงทุนโดยตรง (FDI) ในอุตสาหกรรมที่ไม่เน้นการผลิต ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมการค้าปลีก การธนาคาร โลจิสติกส์ หรือภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Service) มากขึ้น โดยเฉพาะกัมพูชาและเมียนมา หากเอ่ยถึงอุตสาหกรรมภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Service) แม้ไทยจะมีการลงทุนอยู่แล้ว แต่เป็นแบบดั้งเดิมและไม่ซับซ้อน มีการคาดการณ์ว่าอนาคตเทคโนโลยีที่ใช้จะซับซ้อนขึ้น ใช้แรงงานที่มีทักษะสูง โลจิสติกส์ที่ทันสมัย ตัวอย่างคู่แข่งในอาเซียนสำคัญอย่าง Lazada จากสิงคโปร์ Grab ของมาเลเซีย หรือ traveloka จากอินโดนีเซีย ล้วนเป็นสิ่งท้าทายของไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาตำแหน่งใน CLMV ให้ได้

ที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CLMV_0119.aspx