เงินเฟ้อเมียนมาผ่อนคลายลงจากอุปสงค์ที่ลดลง

รายงานของCentral Statistical Organization (CSO)ในเดือนมิถุนายน 63 การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 ได้ส่งผลต่อระดับเงินเฟ้อในเมียนมาลดลงตามไปด้วย สัญญาณของการผ่อนคลายเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมหลังจากมีผู้ติดเชื้อรายแรกในเมียนมา อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ 7.9 ในเดือนมิถุนายน ในความเป็นจริงแล้วเงินเฟ้อในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเกิดการระบาด โดยพุ่งสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเมื่อรัฐบาลเลิกอุดหนุนอัตราค่าไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ด้วยราคาไฟฟ้าและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เช่น อาหารและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ 63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 ของเดือนกรกฎาคม 62 ธุรกิจในท้องถิ่นได้รับความเดือดร้อนส่วนใหญ่ประสบปัญหายอดขายและกระแสเงินสดลดลงส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อลดลงไปด้วย จากผลการสำรวจของธนาคารโลก ระบุว่าร้อยละ 16 บริษัทต่างๆ ปิดกิจการชั่วคราวเฉลี่ยแปดสัปดาห์จากการระบาดของ COVID-19 เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อของเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้ประมาณร้อยละ 6 จนถึงปีหน้า ขณะเดียวกันการเติบโตของ GDP คาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปีงบประมาณ 61-62 เหลือเพียงร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณปัจจุบัน การคาดการณ์ของธนาคารโลกนั้นเลวร้ายกว่ามาก GDP ของเมียนมาจะลดเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ในปีนี้ ข้อมูลของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซียเผยหากควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสในประเทศได้รวดเร็วเท่าใด GDP อาจฟื้นตัวได้ในปีหน้าโดยแตะที่ระดับร้อยละ 6 และร้อยละ 7.2

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/pressure-eases-myanmar-inflation-due-declining-consumer-demand.html

ย่างกุ้งเตรียมผลักดันโครงการ FDI ขนาดใหญ่ 3 โครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการการลงทุนของย่างกุ้งเปิดเผยว่ากำลังเร่งจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการของเขตอุตสาหกรรม 3 แห่ง ซึ่งจะช่วยธุรกิจในท้องถิ่นและสร้างโอกาสในการทำงานในภูมิภาคเนื่องจากการลงทุนใหม่อื่น ๆ อาจใช้เวลาเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โครงการทั้ง 3 ได้แก่ Hlegu Industrial Park, Yangon Amata Smart Eco City และ Korea-Myanmar Industrial Complex ซึ่งทั้ง 3 โครงการได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) โดยโครงการ Hlegu Industrial Park มีมูลค่า 230.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มบริษัท Sembcorp Industries ในสิงคโปร์ครอบคลุมพื้นที่ 566 เฮกตาร์ในเมืองแลกูและเมืองย่างกุ้ง ข้อตกลงสำหรับโครงการนี้ลงนามโดย Sembcorp CSSD Myanmar Co และพันธมิตรในพื้นที่ Phatama Group Co Ltd และ Myanmar Agribusiness Public Corp (MAPCO) โครงการที่ 2 ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาร์ (Korea-Myanmar Industrial Complex : KMIC) เป็นโครงการของรัฐกับรัฐ (G2G) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งอยู่ในเมืองแลกูและเมืองย่างกุ้งซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อนสิ้นปีนี้ โครงการที่ 3 Yangon Amata Smart Eco City  มีมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการนี้จะเกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยและอมตะเอเชีย (เมียนมา) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทยคืออมตะคอร์ปอเรชัน การพัฒนาจะอยู่ในเขตเมือง East Dagon โครงการการลงทุนใหม่นี้เป็นโครงการจากต่างประเทศ 2 โครงการมูลค่า 6.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการลงทุนในประเทศ 1 โครงการมูลค่า 2.17 พันล้านจัตในภาคการผลิต คาดว่าจะสร้างโอกาสในการทำงาน 1,073 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-push-three-large-fdi-projects-boost-economy.html

บริษัทในพื้นที่ลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือพาณิชย์แห่งใหม่ในอิระวดี

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 63  Ever Flow River Public Co (EFR) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้งและ Ayeyar Hinthar Holdings (AHH) จะร่วมมือกันพัฒนาท่าเรือ Ayeyarwaddy International Industry Port (AIIP) โดย EFR  Unison Choice Services ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของ EFR จะร่วมมือกับ AHH เพื่อจัดตั้ง A Logistics Co Ltd ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสำหรับโครงการ โดย AIIP Unison Choice Service จะถือหุ้นร้อยละ 60 ใน A Logistics ขณะที่ AHH จะถือร้อยละ 40 AIIP จะมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าที่ผลิตในเมียนมาและการนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น นอกจากนี้ยังจะเปิดใช้เส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อโดยตรงกับท่าเรือในและต่างประเทศ EFR ให้บริการโลจิสติกส์รวมถึงการขนส่งการขนส่งทางอากาศ คลังสินค้า การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และการกระจายสินค้า จนถึงช่วงการระบาดของ COVID-19 EFR ได้พัฒนาโครงการที่สำคัญ 2 โครงการ Hlaing Inland Terminal และ Logistic Center มีมูลค่า 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้งจะประกอบไปด้วยศูนย์โลจิสติกส์ คลังสินค้าทัณฑ์บน (bonded warehouse ) คลังสินค้าภายในประเทศและอาคารสำนักงาน 7 ชั้นบนพื้นที่ 40 เอเคอร์ และกำลังสร้างศูนย์กระจายสินค้าในมัณฑะเลย์อีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/local-firms-develop-new-commercial-port-ayeyarwady.html

บริษัทในย่างกุ้งทั้งหมดต้องชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ภายในเดือนตุลาคมนี้

จากข้อมูลของกรมสรรพากร (IRD) บริษัททั้งหมดในย่างกุ้งจะต้องยื่นภาษีทางออนไลน์ เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีการค้าหรือภาษีสินค้าพิเศษผ่านระบบการชำระเงินผ่านมือถือโดยเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ผู้เสียภาษีจะสามารถชำระภาษีผ่านบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต แอปธนาคารบนมือถือ และบัตรเดบิตขององค์กรที่ออกโดยสมาคมระบบการชำระเงินของเมียนมา (MPU) โดยได้เชื่อมต่อกับธนาคาร 5 แห่ง เช่น  CB Bank และ KBZ ปัจจุบันมีการนำส่งรายได้จากภาษี 50,000 ล้านจัต ผ่านระบบออนไลน์ ผู้ที่จ่ายภาษีเงินได้ ณ สำนักงานสรรพากรจะต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการโอนบัญชีธนาคาร ธุรกิจต่างๆ จะนำระบบการชำระภาษีบนมือถือมาใช้แทนสมุดบัญชีเงินฝากแบบเก่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/all-yangon-firms-must-use-e-tax-payment-october.html

ธุรกิจในมัณฑะเลย์ขอสินเชื่อ COVID-19 รอบที่ 2

จากรายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมภูมิภาคมัณฑะเลย์ (MRCCI) มีธุรกิจ 648 ราย ยื่นขอสินเชื่อ COVID-19 รอบที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 100 พันล้านจัต โดยสามารถยื่นใบสมัครตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมถึง 10 สิงหาคม 2563 พบว่าธุรกิจการผลิตอาหารยื่นขอกู้มากที่สุด เงินกู้รอบที่ 2 ส่วนใหญ่จะออกให้กับธุรกิจด้านการเกษต รปศุสัตว์และประมง การส่งเสริมการค้าและห่วงโซ่อุปทาน การแปรรูปอาหารตลอดจนหน่วยงานตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศและศูนย์ฝึกอาชีพ ในการปล่อยกู้นอบแรกมีผู้ยื่นขอสินเชื่อผ่าน MRCCI ทั้งหมด 417 ราย แต่มีเพียง 330 รายเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติ มีการปล่อยเงินกู้จำนวน 1 แสนล้านจัต ให้กับธุรกิจทั้งหมด 3,393 แห่ง ตั้งแต่เดือนเมษายน 63 โดยมีอัตราดอกเบี้ย 1% และระยะเวลาชำระคืนหนึ่งปี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-mandalay-businesses-apply-second-covid-19-loan.html

ตระนาวศรีมีแผนส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังไทย

ตามประกาศของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน แม้ว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดในเขตตะนาวศรีจะระงับชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของโควิด -19 แต่กำลังมีแผนส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังไทย สมาคมสหกรณ์สามแห่งในเมืองเกาะสอง เขตตะนาวศรี ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไปยังต่างประเทศ ดังนั้นพวกเขามีรายได้ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกในปีงบประมาณ 2562-2563 ปัจจุบันเมียนมามีรายได้จากการส่งออกประมงกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณนี้ ขณะนี้กรมประมงได้ประสานงานความร่วมมือกับผู้แปรรูปปลาและผู้ส่งออกเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ประมงเป็นไปตามกฎและข้อบังคับของประเทศผู้นำเข้ารวมถึงประเทศในยุโรป

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/taninthari-region-plans-to-export-marine-products-to-thailand

MCDC เปิดประมูลใบอนุญาตประกอบธุรกิจในปี 63-64

กรมสรรพากรของคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ (MCDC) จะออกใบอนุญาตธุรกิจทั่วไปสำหรับปีงบประมาณ 2563-2564 สำหรับการประมูลในเร็ว ๆ เช่น ร้านขายเนื้อหมูและเนื้อแกะ บริการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับห้องอาบน้ำและห้องสุขาสาธารณะ โรงรับจำนำ บริการจัดเก็บภาษีท่าเทียบเรือ ธุรกิจเกสต์เฮาส์และบริการเก็บค่าธรรมเนียมที่จอดรถสำหรับจักรยานรถจักรยานยนต์และยานพาหนะอื่น ๆ โดยจะเริ่มเปิดประมูลตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้หรือต้นเดือนกันยายน มีการขายที่จอดมากกว่า 40 แห่งในราคาประมาณ 700 ล้านจัต สำหรับที่จอดรถและมีแผนที่จำเป็นในการเก็บค่าธรรมเนียม 100 จัตสำหรับจักรยาน 200 จัตสำหรับรถจักรยานยนต์ และ 300 จัตสำหรับรถยนต์ต่อคัน หากผู้ชนะการประมูลฝ่าฝืนกฎจะได้รับคำเตือนเป็นครั้งแรกโดยการปรับ 200,000 จัต ครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 3 อยู่ที่ 500,000 จัต และจะเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถาวรหากยังคงฝ่าฝืนกฎต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mcdc-auction-general-business-licenses-2020-21.html

การค้าเมียนมาเพิ่มขึ้นแม้มีการระบาดของ COVID-19

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าแม้ว่าการระบาดของ COVID-19 แต่รายรับจากการส่งออกของเมียนมากลับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน การค้าชายแดนกับบังกลาเทศ อินเดีย ไทยและจีนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้วรวมทั้งเส้นทางการเดินเรือการค้ารวมจนถึงปีนี้มีมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการส่งออกไปจีนลดลงราว 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 24 กรกฎาคมของปีงบประมาณนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันการส่งออกเมล่อนไปยังประเทศจีนลดลงประมาณร้อยละ 20 ในทางกลับกันการส่งออกข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกข้าวโพดอยู่ที่ 2.5 ล้านตันเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว ขณะนี้รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมามีมากกว่า 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว อีกทั้งความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่น แตงโม และแตงกวาที่ลดลง เมียนมายังเพิ่มความพยายามในการทำตลาดผลไม้อื่น ๆ เช่น อะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) ตลอดจนอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-increase-despite-covid-19.html

บริษัทเยอรมันพร้อมลงทุนต่อไปในเมียนมา

บริษัท เยอรมันในเมียนมากำลังปรับลดการลงทุนและแผนการขยายธุรกิจเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เมื่อเร็ว ๆ นี้คณะผู้แทนอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของเยอรมันในเมียนมา (AHK) เปิดเผยรายงานการสำรวจแนวโน้มธุรกิจ – AHK World Business Outlook 2020 Results สำหรับเมียนมา – การวัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจและผลกระทบของ coronavirus ที่มีต่อ บริษัท เยอรมันในเมียนมาร์ ผลการศึกษาพบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของ บริษัท ที่ทำการสำรวจมีแผนที่จะลดการลงทุนเมื่อเทียบกับก่อนการระบาดของ COVID – 19 เนื่องจากความท้าทายและขาดความมั่นใจ มีเพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้นที่วางแผนเพิ่มการลงทุนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จากรายงานคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วที่สุดภายในปีหน้า  ร้อยละ46 ในการสำรวจคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะใช้เวลานานขึ้น มีเพียงร้อยละ6.7 เท่านั้นที่คาดว่าจะฟื้นตัวในปีนี้ มากกว่าสองในสามบริษัทมองว่าการขาดมาตรการสนับสนุนทางธุรกิจในการเอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ถึงกระนั้นมากกว่าร้อยละ 86 ระบุว่าพวกเขามุ่งมั่นที่จะให้เมียนมาเป็นที่ตั้งถาวรสำหรับธุรกิจ ปริมาณการค้ารวมระหว่างเมียนมาและเยอรมนีทะลุ 820 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2561-2562 ในปีนี้ส่งออกสินค้ามูลค่ารวม 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าและสิ่งทอ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ยา คณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) การลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทเยอรมนีในเมียนมาคือ Metro Wholesale ซึ่งมีช่องทางการค้าปลีกในประเทศประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/german-companies-myanmar-struggle-meet-investment-targets.html

สมาคมเมียนมา – อินเดีย เริ่มใช้ระบบนายหน้าในการนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศ

สมาคมเมียนมา – อินเดียตอนบนเริ่มธุรกิจนายหน้าการค้าหลังจากเศรษฐกิจเมียนมากลับสู่สภาวะปกติหลังจากการระบาดของโควิด -19 เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าจากเมียนมาและอินเดีย แม้ว่าผู้ค้าจากอินเดียต้องการทำธุรกิจในเมียนมา แต่ยังไม่มีพันธมิตรหรือผู้เชื่อมโยงทางการค้า ดังนั้นหากผู้ค้าของอินเดียที่ค้าขายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือถั่วมา โดยสามารถจะเชื่อมโยงกับคู่ค้าในเมียนมาได้ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในเดือนมีนาคมการค้าระหว่างสองประเทศหยุดชะงักลงและประตูพรมแดนที่รัฐชิน สะกาย และมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าหลัก ดังนั้นการค้าจึงดำเนินการผ่านเส้นทางเดินเรือเท่านั้น การค้าในปีงบประมาณ 2561-2562 มีมูลค่ารวม 201 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกมูลค่า 177.ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนการระบาดของ COVID-19 องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)ได้ปรับปรุงถนนที่เชื่อมโยง Reed กับ Tiddim และ Kalay ในรัฐ Chin เพื่อเชื่อมโยงการค้า เมียนมาส่งออกถั่วพลูและถั่วเป็นหลักตลอดจนเสื้อผ้าและพลาสติกไปยังชายแดนของอินเดีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2019 ในปีงบประมาณ 2562-2563 การส่งออกผ่านชายแดนจากสองเส้นทางนี้มีมูลค่าเพียง 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/traders-broker-direct-imports-exports-between-myanmar-india.html