เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html

เมียนมาขาดดุลงบประมาณปี 2563-2564 ประมาณ 6.8 ล้านล้านจัต

ประธานาธิบดีอู วิน หมินท์ คาดเมียนมาจะขาดดุลงบประมาณที่ 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 หรือ 5.4% ของ GDP  มีรายได้ประชาชาติรวม 27.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นถึง -34.6 ล้านล้านจัต ค่าใช้จ่ายจะรวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูผลกระทบจาก COVID-19 และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงด้านศึกษาการ สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และการเกษตร การใช้จ่ายด้านประกันสังคมและสวัสดิการเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในขณะที่โครงการสำหรับคนพิการก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ในปีงบประมาณนี้รายได้จากภาษีคาดจะลดลง แต่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนกองทุนฉุกเฉินที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วมียอดรวม 100 พันล้านจัต เพิ่มเป็น 150 พันล้านจัต ในปี 2563-2564 ขณะเดียวกันการจัดสรรงบการใช้จ่ายสำหรับรัฐและภูมิภาคนั้นเพิ่มขึ้นจาก 267 พันล้านจัต เป็น 2.3 ล้านล้านจัต การขาดดุลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมื่อเทียบกับ 5.9% ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2562-2563 คาดว่าจะมีรายได้รวม 25.3 ล้านล้านจัตและมีค่าใช้จ่ายรวม 32.3 ล้านล้านจัตทำให้ขาดดุล 7 ล้านล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/budget-deficit-fiscal-2020-21-myanmar-k68-trillion.html

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

รายได้จากการส่งออกผลไม้ยังคงที่จากความต้องการกล้วยที่มีอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าแม้จะมีการระบาด COVID-19 เนื่องจากความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่นแตงโมและแตงกวา ในความเป็นจริงหากไม่มมีการระบาดของ COVID-19 เมียนมาอาจมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังชายแดนจีน ก่อนที่ COVID-19 จะระบาด แตงโมและแตงกวาเป็นเป็นผักและผลไม้หลักในการส่งออกเพราะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสองสามเดือนแรกของปีเมียนมาส่งออกกล้วยที่ปลูกในท้องถิ่นแถบชายแดนจำนวน 75,000 ตันที่มีรายรับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 70,000 ตันส่งออกทั้งปีที่แล้วจำนวน 290 ล้านดอลลาร์ รายรับจากการซื้อขายรวม ณ ชายแดนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-fruit-export-revenues-stable-due-strong-banana-demand.html

รัฐบาลวางแผนจ่ายเงินกระตุ้นสำหรับครัวเรือน 5.4 ล้านคน

รัฐบาลจะอัดฉีดเงิน 20,000 จัตให้กับแต่ละครัวเรือน 5.4 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศเพื่อการกระตุ้นการใช้จ่ายเงินตอบที่ชะลอตัวทางจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะแล้วเสร็จในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แรงงานเมียนมาหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้ตกงานเมื่อโรงงานปิดเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและคำสั่งยกเลิกเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้เกษตรกรท้องถิ่นหลายแสนคนไม่สามารถส่งออกผลผลิตได้เนื่องจากการปิดพรมแดนและชะลอตัวในตลาดท้องถิ่น ก่อนหน้านี้รัฐบาลขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิตอลกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก โดยระบบการชำระเงินผ่านมือถือจะถูกลองใช้ครั้งแรกในเมือง Pobbathiri ใน Nay Pyi Taw เมือง Meikhtila ใน Mandalay และเมือง Kalaw ในรัฐฉาน ปัจจุบันมีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 287 ราย ผู้เสียชีวิต 6 ราย และรักษาหายแล้ว 196 ราย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-plans-stimulus-payments-54m-households.html

ธนาคารในเมียนมาผ่อนปรนนโยบายการชำระหนี้เพื่อช่วยลูกค้า

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) อนุญาตให้ธนาคารในประเทศปรับโครงสร้างและกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายในประเทศ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งCBM คาดว่าผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะรุนแรงที่สุด โดยธุรกิจที่มีประวัติการชำระหนี้ดีสามารถเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ได้ KBZ Bank เป็นหนึ่งในธนาคารในประเทศที่เปิดตัวโครงการช่วยเหลือผู้กู้ ได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยลูกค้าสามารถยื่นขอขยายเวลาเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารจะชะลอการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยออกไป 6 เดือน ธนาคารอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร Yoma, CB Bank และ uab Bank ได้เปิดตัวโครงการที่คล้ายกันคือเลื่อนการชำระคืนเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/banks-myanmar-ease-repayment-policy-help-clients.html

ค่าแรงขั้นต่ำเมียนมาเริ่มบังคับใช้พฤศจิกายนนี้

ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน จากรายงานในวันที่ 18 มิถุนายนของสมาชิกของคณะกรรมการระดับชาติ สมาพันธ์สหภาพแรงงานในเมียนมาและสหพันธ์แรงงานอาคารและไม้แห่งเมียนมากล่าวว่าภูมิภาคและรัฐส่วนใหญ่ในประเทศได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 กำหนดให้มีการทบทวนค่าจ้างพื้นฐานทุก ๆ สองปี การปรับปรุงล่าสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 4,800 จัต ซึ่งการกำหนดค่าจ้างใหม่ควรจะตั้งถูกกำหนดในเดือนพฤษภาคม แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการคัดค้านภายใน 60 วัน อัตรานั้นจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-myanmar-daily-minimum-wage-likely-november.html

ศักยภาพเมียนมาด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19

เนื่องจากเมียนมามาเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19  จากการประชุมทางวิดีโอกับนางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐ นาย Sett Aung ผู้กำหนดแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังการวางแผนและอุตสาหกรรมและประธาน หอการค้าเมียนมา (UMFCCI)  ซึ่งเมียนมาเป็นประเทศที่มีความพอเพียงด้านอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเป็นผู้ส่งออกโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ โดย 70% ของประชากรอยู่ในพื้นที่ชนบทเศรษฐกิจหลักคือการเกษตร ดังนั้นจึงมีนโยบายในการพัฒนาภาคเกษตรที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ในอนาคต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-has-the-potential-to-supply-world-food-requirement-after-covid-19-union-minister

เมียนมาเตรียมจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19

เศรษฐกิจเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้เนื่องจากการระบาด COVID-19 นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐกล่าวระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีคลังที่สำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 63 ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามและสี่ของปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเมียนมาได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้ให้กู้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลร์สหรัฐเพื่อจัดการกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ประกอบไปด้วยกองทุนรวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น 250 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก และ 30 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลได้จัดทำแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ซึ่ง SMEs กว่า 2,000 แห่งได้รับเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากกองทุน 100 พันล้านจัต โดยมีการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมจำนวนมากถึง 500,000 ล้านจัตเพื่อช่วย SMEs และธุรกิจการท่องเที่ยวและการผลิตอื่น ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-prepared-manage-further-economic-fallout-dassk.html

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html