การส่งออกข้าวของเมียนมาทะลุ 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 11 เดือน

ตามข้อมูล สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) การส่งออกข้าวและข้าวหักของเมียนมาร์มีมูลค่า 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณส่งออกกว่า 1.42 ล้านตันในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งการส่งออกดังกล่าวประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.343 ล้านตัน และการรค้าผ่านชายแดน มากกว่า 85,000 ตัน อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกข้าวในปีงบประมาณดังกล่าวสูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมีการส่งออกรวม 262,116 ตัน เป็นมูลค่า 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเดือน มกราคม 2567 และธันวา 2566 ที่มีการส่งออกรวม 213,605 ตัน และ 195,829 ตัน คิดเป็นมูลค่า 111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวอีกว่า นโยบายการเงินของธนาคารกลางเมียนมาในการควบคุมรายได้จากการส่งออก ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกข้าวและผลกระทบทางการเงินแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบด้านสภาพอากาศจากเอลนิลโญอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-exports-surpass-us712-mln-in-11-months/

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง 50-85 จ๊าดต่อลิตรในวันที่ 1 มีนาคม หลังจากเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,770 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันค่าออกเทน 95 2,885 จ๊าดต่อลิตร, สำหรับราคาดีเซลอยู่ที่ 2,565 จ๊าดต่อลิตรและราคาดีเซลพรีเมียม 2,610 จ๊าดต่อลิตร และราคาได้ปรับลดลงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,715 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,835 จ๊าดต่อลิตร, สำหรับราคาดีเซลอยู่ที่ 2,485 จ๊าดต่อลิตรและราคาดีเซลพรีเมียม 2,525 จ๊าดต่อลิตร อย่างไรก็ตา ความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดภายในประเทศมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับดัชนีราคาที่กำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นหลายชนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลดลงของราคา MOPS ส่งผลต่อราคาเชื้อเพลิงตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าน้ำมัน การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงระบุ ดังนั้น คณะกรรมการจึงทำหน้าที่ขับเคลื่อนตลาดเพื่อให้มั่นใจถึงเสถียรภาพด้านราคาและความมั่นคงของน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-oil-prices-set-to-dip/#article-title

ความร่วมมือด้านเทคโนโลยียานยนต์เมียนมา-อินเดีย โดดเด่นที่งาน Mach Auto Expo 2024

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมารายงานว่า เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำอินเดีย ได้เข้าร่วมงาน Mach Auto Expo ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 ที่เมืองลูเธียนา จังหวัดปัญจาบ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีบูธ 650 บูธจาก 12 ประเทศ จัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการมากกว่าหมื่นรายการ ภายในงานได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการค้าและการลงทุนระหว่างเมียนมาร์และอินเดีย โดยเน้นที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนตลาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งได้มีการหารือเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและความร่วมมือที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยียานยนต์ระหว่างเมียนมาและอินเดีย อย่างไรก็ดี งานแสดงสินค้าดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ถึง 26 กุมภาพันธ์ โดยเอกอัครราชทูต U Moe Kyaw Aung เข้าร่วมพิธีเปิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ในฐานะแขกพิเศษ ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Invest Punjab เอกอัครราชทูตและนักการทูตจากอิหร่าน คีร์กีซสถาน มาดากัสการ์ บุรุนดี มองโกเลีย และเอธิโอเปีย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการชาวอินเดียก็เข้าร่วมด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-auto-tech-collaboration-spotlighted-at-mach-auto-expo-2024/#article-title

รัฐมนตรีสหภาพ MoSWRR เข้าร่วมการประชุมเมียนมา-ไทยเรื่องการค้ามนุษย์

ดร. โซ วิน รัฐมนตรีสหภาพแรงงานเพื่อสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานใหม่ เข้าร่วมการประชุมเมียนมา-ไทย ครั้งที่ 29 เรื่องการส่งตัวกลับประเทศและการกลับคืนสู่สังคมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ งานนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงสวัสดิการสังคมฯ เมียนมา และกระทรวงสังคมฝั่งไทย โดยจัดขึ้นที่โรงแรม Park Royal ในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม รัฐมนตรีสหภาพได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ โดยพิจารณาว่าเป็นตัวอย่างเชิงบวกสำหรับภูมิภาค วัตถุประสงค์หลักของการประชุมคือเพื่อดำเนินการบันทึกความเข้าใจที่มุ่งต่อต้านการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี ภายใต้ความคิดริเริ่มนี้ กระทรวงได้ให้การสนับสนุนเงินเป็นจำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งรัฐบาลไทยมีบทบาทสำคัญในการจัดหาที่พักพิงแก่เหยื่อที่ถูกค้ามนุษย์จากเมียนมา ช่วยเหลือพวกเขาในการได้งานทำ และให้การสนับสนุนและค่าชดเชย นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการค้ามนุษย์ต่อสิทธิมนุษยชนและความซื่อสัตย์ ซึ่งจุดยืนเชิงรุกของรัฐบาลไทยในการป้องกันและต่อสู้กับปัญหานี้ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moswrr-union-minister-attends-myanmar-thailand-meeting-on-human-trafficking/#article-title

เมียนมาบรรลุเป้าการค้าชายแดน มูลค่า 26.567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์

รายงานระบุว่า เมียนมาดำเนินการค้าขายมูลค่ารวม 25.9768 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านด่านการค้าชายแดน มอตอง เกาะสอง และกัมไปติ เมื่อจำแนกตัวเลขแล้ว ชายแดนมอตองมีมูลค่าการค้ารวม 0.9648 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการส่งออก 0.6582 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.3066 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ ด่านการค้าเกาะสอง มีการส่งออกรวม 4,922.645 ตันและการนำเข้า 1,354.572 ตัน ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 6.065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกหลักประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมายังประเทศไทยภายใต้ระบบ FOB สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึกยักษ์ ปลาหมึก ปู และน้ำมันปาล์ม ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในทำนองเดียวกัน ชายแดนกัมไปติก็มีปริมาณการค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 123.91 โดยมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 18.947 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี จำนวนการค้าเป้าหมายสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ตั้งไว้ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มูลค่าการค้าที่แท้จริงอยู่ที่ 26.567 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายถึง 130 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exceeds-border-trade-targets-achieving-us26-567m-in-feb-third-week/

ผู้ค้าผลไม้เมียนมาหันมาจับตาตลาดในประเทศ ท่ามกลางการเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการส่งออก

ผู้ค้าผลไม้เมียนมา กล่าวถึง อุปสรรคในการคมนาคมในช่องทางเชียงตุง ช่องมองลา และพะโม ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในฝั่งจีน การถูกระงับที่ชายแดนเพราะนโยบายฝั่งจีนที่มีความเค้มงวดมากขึ้น ความเสียหายของสินค้าจากการคมนาคมบนถนนที่ขรุขระส่งผลต่อคุณภาพของแตงโมที่ส่งไปยังประเทศจีน ส่งผลให้ราคาสินค้าตกต่ำลง ทำให้ผู้ค้าจึงเริ่มจับตาดูตลาดภายในประเทศ เนื่องด้วย ราคาส่งออกในปัจจุบันไม่ครอบคลุมค่าขนส่งและต้นทุนทั่วไปอื่นๆ ค่าอากรที่ด่านชายแดนอยู่ที่ 35,000-40,000 หยวนต่อรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุกแตงโม 100 คันมุ่งหน้าสู่จีน มีเพียง 10 คันเท่านั้นที่สามารถครอบคลุมค่าขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าผลไม้เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยืดเยื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน สืบเนื่องจากเมื่อปี 2021 ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ขัดขวางการส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาไปยังจีน ระเบียบศุลกากรจีนเพิ่มความล่าช้า รถบรรทุกล่าช้าเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อคุณภาพแตงโม และมีเพียง 1 ใน 5 รถบรรทุกที่มุ่งหน้าไปยังจีนเท่านั้นที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ค้าจำเป็นต้องพิจารณาเวลาการส่งมอบ ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายในขณะที่พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-eye-domestic-market-amid-export-loss/

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น

จากดัชนีราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น ราคาอาหารเ เช่น Monhinga (ก๋วยเตี๋ยวปลาแบบดั้งเดิมพร้อมเครื่องเสริม) แป้งทอด ขนมปัง แป้งนาน และอื่นๆ มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งในปีนี้ โดยราคาส่วนผสมที่สูง (ข้าวสาลี ไข่ ข้าว น้ำมัน และอื่นๆ) ในการทำอาหารเหล่านั้น กระตุ้นให้ผู้ขายต้องขึ้นราคาอาหารจากเดิมอย่างน้อย 300–500 จ๊าด ในทำนองเดียวกัน ราคาข้าวสาลีขยับขึ้นเป็น 155,000 จ๊าดต่อถุง จากเดิม 145,000 จ๊าดต่อถุง รวมทั้งราคาขายปลีกน้ำตาลก็เพิ่มขึ้นเป็น 4,300 จ๊าดต่อviss และราคาแป้งยังเพิ่มขึ้นเป็น 5,200-5,400 จ๊าดต่อviss จาก 4,800 จ๊าดต่อviss  อย่างไรก็ดี เนื่องจากราคาของชำในครัว ซึ่งรวมถึงข้าว ปลา เนื้อสัตว์ และผัก พุ่งสูงขึ้น ร้านแผงลอยริมถนนบางแห่งที่เสิร์ฟข้าวแกงพม่าก็ขึ้นราคาอาหารหนึ่งมื้อเป็น 3,000 จ๊าด ซึ่งส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rising-inflation-sends-breakfast-costs-soaring/#article-title

รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมโรงงานการผลิตรถบัส Daewoo และโรงงานกระดาษ (Yeni)

วานนี้ ดร. ชาร์ลี ธาน รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของสหภาพแรงงาน เยี่ยมชมโรงงานการผลิตรถบัส Daewoo ในเมือง Htaukkyant เมือง Mingaladon เขตย่างกุ้ง  โดยได้มีการเข้าตรวจสอบการผลิตรถบัสโดยสาร Daewoo และให้คำแนะนำในการเร่งดำเนินโครงการประกอบและผลิตรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการสนับสนุนการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ รัฐมนตรีสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทปฏิบัติตามพันธกรณีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ด้วยการจัดตั้งสถานีชาร์จและที่ชาร์จมือถือสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าตามระเบียบการที่จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยังได้เดินทางไปยังโรงงานกระดาษ (Yeni) ในเขตพะโค เพื่อดำเนินการเยี่ยมชมและตรวจสอบงานซ่อมแซมและปรับแต่งเครื่องจักรผลิตเยื่อและกระดาษขนาดเล็ก โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อผลิตเครื่องจักรผลิตเยื่อกระดาษขนาดเล็กที่สามารถผลิตได้สามถึงห้าตันต่อวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเครื่องจักรที่สามารถผลิตได้มากถึงสิบตันต่อวัน นอกจากนี้ เขายังสั่งว่าการออกแบบเครื่องผลิตเยื่อกระดาษขนาดเล็กควรผ่านการประมวลผลล่วงหน้า และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการควรได้รับการตรวจสอบและปรับปรุง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moi-union-minister-visits-daewoo-bus-manufacturing-workshop-paper-factory-yeni/

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกเดินทางร่วมงาน VIFA EXPO ครั้งที่ 15 ที่ประเทศเวียดนาม

คณะผู้แทนเมียนมานำโดย U Min Min รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางออกจากย่างกุ้งไปยังเวียดนามเมื่อวานนี้ เพื่อเข้าร่วมงาน Vietnam International Furniture and Home Accessories Fair ครั้งที่ 15 ซึ่งวางแผนจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ ที่ SKY EXPO Vietnam International Exhibition Center ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยนิทรรศการนี้จะเปิดโอกาสให้นักธุรกิจ เช่น ผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านจากต่างประเทศ ได้ร่วมเจรจาโดยตรงระหว่างนักธุรกิจด้วยกัน และบรรลุโอกาสในการร่วมมือทางธุรกิจเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เมียนมาไปยัง ตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนเมียนมาจะเข้าร่วมงาน ศึกษาสภาพการปลูกมะพร้าวและการส่งออกในเวียดนาม และหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/deputy-minister-for-commerce-leaves-for-15th-vifa-expo-in-vietnam/

ความต้องการกาแฟที่ปลูกในท้องถิ่นของเมียนมาเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ตามการระบุของ ผู้ปลูกกาแฟ ระบุว่าทั้งอุปสงค์และอุปทานของกาแฟทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลาดพืชผลเพิ่มขึ้น ซึ่งในพม่ามีการปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นหลัก ซึ่งกาแฟเมียนมาได้รับความนิยมทั้งในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2562 ตามข้อมูลของผู้ปลูกและผู้ผลิตกาแฟ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออก ความต้องการจากเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจากการวิจัย พบว่าความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไร่กาแฟได้รับการสนับสนุนระดับรัฐ ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาคกาแฟมีการพัฒนาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในเมียนมามีกาแฟหลายประเภทที่ผลิตจาก Ywangan และ Myeik ซึ่งราคากาแฟอาราบิก้าอยู่ที่ 28,000 จ๊าดต่อกิโลกรัม และกาแฟอาราบิก้าได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-locally-grown-coffee-demand-rises-in-both-local-and-foreign-markets/