กัมพูชาคาด GDP ปี 2023 โต 5.6%

กัมพูชาคาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ในปี 2023 ตามข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา หลังจากในปี 2022 เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 5.2 แม้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนทั่วโลก อย่างเช่น สงครามยูเครนรัสเซียที่กำลังดำเนินอยู่ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และการฟื้นตัวของโควิด-19 ทั่วโลก นำโดยภาคธุรกิจที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 11.7 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก อาทิเช่น เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของกัมพูชาคาดว่าจะมีการเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ 5.5 ในปีนี้ สำหรับอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวอย่างน้อยร้อยละ 30 ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางมายังกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 2.28 ล้านคน ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501226196/cambodia-expects-5-6-gdp-growth-in-2023/

“อีอีซี” จัดทำงบตามแผนบูรณาการปี 67 เสนอ 100 โครงการพัฒนาตามแนวทาง BCG ด้วย 5 แนวทาง

นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ รักษาการแทนเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 คณะที่ 5.1 ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงานเป็นประธานว่า สกพอ.และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะเจ้าภาพรองแผนงานบูรณาการอีอีซี ร่วมกับหน่วยงาน 17 กระทรวง 42 หน่วยงาน จัดทำโครงการ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อีอีซีทุกมิติ ผ่านการมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง BCG จำนวน 100 โครงการ ด้วย 5 แนวทางสำคัญได้แก่ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และระบบดิจิทัล 2.การพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทันสมัย และมีมาตรฐาน 4.การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ให้เกิดการพัฒนาทัดเทียมนานาชาติ และ 5.การส่งเสริมการลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายผลักดันให้เกิดการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่อีอีซี และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 500,000 ล้านบาทต่อปี เกิดอัตราการขยายตัวของ GDP ในพื้นที่อีอีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ส่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40,000 คน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/418049

“สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซ” ได้รับความนิยมในเวียดนาม

สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และถือว่าค่อนข้างปลอดภัยในแวดวงสตาร์ทอัพเชิงนวัตกรรมในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยไม่ได้หมายถึงความสำเร็จ เพราะการจะประสบความสำเร็จได้ในตลาดที่กำลังพัฒนานั้น ต้องใช้ความพยายามและความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก โดยเวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านอีคอมเมิร์ซ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 72.1 ล้านคน คิดเป็น 73.2% ของประชากรทั้งประเทศ และอยู่ในอันดับที่ 12 ในแง่ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกในเดือนกันยายน ปี 2565 นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าในปีที่แล้ว ขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซค้าปลีกของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 16.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 7.5% ของรายได้ของประเทศจากการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/innovative-start-ups-in-the-e-commerce-sector-2103908.html

“ผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม” ก้าวเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

แม้ว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่า 90% ในเวียดนาม ยังเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ บริษัท CNS AMURA Precision Company ได้ดำเนินธุรกิจสู่การเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบดิจิทัลและบริษัทมีคำสั่งซื้อใหม่กับพันธมิตรทางธุรกิจต่างประเทศ นับว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่ หลังจากที่บริษัทกลายเป็นซัพพลายเออร์เทียร์ 1 ของซัมซุง นอกจากนี้ Mr. Tran Ba Linh ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของบริษัท Dien Quang Lamp Joint Stock Company กล่าวว่านวัตกรรมสายการผลิตโดยการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

ที่มา : https://www.sggpnews.org.vn/vietnamese-small-medium-sized-firms-carrying-out-digital-transformation-post99855.html

ราคาถั่วลิสงในเมียนมา พุ่งขึ้น! หลังความต้องการทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ เริ่มฟื้นตัว

ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์ เผย ปัจจุบันราคาถั่วลิสงขยับขึ้นเป็น 7,000 จัตต่อ viss  (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาเคยร่วงลงอยู่ระหว่าง 4,700-5,750 จัตต่อ viss ในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้ค้าชาวจีนเข้ามารับซื้อที่ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์เป็นจำนวนมากส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 จนถึงวันที่ 13 มกราคม 2566 ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกถั่วลิสงผ่านช่องทางชายแดนไปแล้วมากกว่า 15,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 17.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/peanut-price-rebounds-on-strong-domestic-foreign-demand/#article-title

สปป.ลาว สรุปความคืบหน้าโครงการทางด่วน 5 สาย

สปป.ลาว รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างทางด่วน 5 สาย ภายใต้แผนยุทศาสตร์ 5 ปี ของรัฐบาล กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง Dr.Viengsavath Siphandone หลังจากเข้าร่วมประชุมกับรัฐบาล ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่าทางด่วนทั้ง 5 สาย นี้ถือเป็นส่วนที่มีสำคัญเป็นอย่างมากในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนในช่วงปี 2021-2025 โดยโครงการส่วนแรกก่อสร้างขึ้นระหว่างเมือง เวียงจันทน์และวังเวียง อยู่ในขั้นตอนของการเลือกบริษัทที่จะเข้ามาก่อสร้าง ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ของรัฐบาล ส่วนโครงการที่สองจะจัดสร้างระหว่างเมือง วังเวียง และหลวงพระบาง ส่วนโครงการที่สามกำหนดให้เป็นเส้นทางระหว่างเมือง หลวงพระบางไปยังอุดมไซ โดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการเจรจาต่อรอง สำหรับโครงการที่สี่เส้นทางถูกกำหนดจากเมือง อุกมไซ ไปยังบ่อเต็น และในโครงการที่ห้าจากมณฑลหลวงน้ำทา ถึงเขตห้วยทราย ในจังหวัดบ่อแก้ว ซึ่งทุกสายผ่านการตรวจสอบและการอนุมัติทางเทคนิคแล้ว จะเหลือแค่เพียงการเจรจาเพื่อลงนามในข้อตกลงสัมปทานต่อไป โดยคาดว่าหลังจากโครงการทั้งห้าแล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางจาก 4 ชั่วโมงในปัจจุบัน เหลือเพียง 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและทำให้ผู้คนสามารถเดินทางระหว่างเวียงจันทน์และวังเวียงได้สะดวกขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten17_Ministry_y23.php

กัมพูชาพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงนาม FTA กับสวิตเซอร์แลนด์

กัมพูชามองหาโอกาสลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะกับสวิตเซอร์แลนด์ หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ Pan Sorasak เข้าหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Helene Budliger Artieda ในระหว่างการประชุม World Economic Forum ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ โดยปัจจุบันการค้าระหว่างกัมพูชาและสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งในปี 2020 มูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 379 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 974 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 โดยปัจจุบันกัมพูชาได้ลงนาม FTA ระหว่างจีนและเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงยังได้มีการพูดคุยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมของประเทศกัมพูชาเอมิเรตส์ (CAM-UAE CEPA) พร้อมกับการมองหาโอกาสในการทำข้อตกลงที่คล้ายกันกับญี่ปุ่นและบังคลาเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501225199/cambodia-looks-at-fta-possibility-with-switzerland/

กัมพูชาเดินหน้าสร้างทางเดินรถไฟความเร็วสูง พนมเปญ-ปอยเปต

กัมพูชาเดินหน้าสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม กรุงพนมเปญ-ปอยเปต ที่เป็นจังหวัดซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทย โดยใช้เงินกู้สัมปทานจากจีน ภายใต้การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโดย China Road and Bridge Corporate (CRBC) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระยะทางเดินรถไฟความเร็วสูงจะมีความยาวอยู่ที่ 382 กม. ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ และจะต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยจะมีสถานีย่อยอย่างน้อย 33 แห่ง ตลอดเส้นทางเดินรถ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงคาดว่าจะใช้ความเร็วสูงสุดได้ที่ 160 กม./ชม. ต่างจากปัจจุบันที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 30 กม./ชม. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรองรับภาคการขนส่งและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดและเมืองที่ตั้งอยู่ตามแนวเส้นทาง ในขณะที่ปัจจุบันกัมพูชามีเส้นทางรถไฟอยู่สองสาย สายใต้เชื่อมระหว่างพนมเปญกับสีหนุวิลล์ และสายเหนือเชื่อมเมืองหลวงกับปอยเปต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501225200/cambodia-puts-high-speed-train-on-track/

“FTA ไทย-อียู” “จุรินทร์” เล็งเสนอ ครม. เห็นชอบอีก 2 สัปดาห์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการหารือทวิภาคีกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส (H.E. Mr. Valdis Dombrovskis) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป ว่าถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของไทยกับสหภาพยุโรป ที่ได้มีการเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ที่มีผลสัมฤทธิ์ที่ฝ่ายการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย มีข้อสรุปแสดงเจตจำนงร่วมกันในการเริ่มต้นให้แต่ละฝ่ายดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การจัดทำ FTA ในส่วนของประเทศไทย จะนำเข้าหารือเดินหน้าเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการจัดทำ FTA ไทย-อียู ต่อไป ส่วนสหภาพยุโรป จะนำผลการหารือไปดำเนินการภายในของสหภาพยุโรปเพื่อขอคำรับรองจากสมาชิก 27 ประเทศต่อไป โดยตั้งเป้าจะดำเนินการตามกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อประกาศนับหนึ่งการเริ่มต้นเจรจา FTA ไทยกับสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย รองจากจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ถือว่าเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญ โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 41,038 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าประมาณ 7% ของการค้ากับโลก และไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 22,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17% สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปอียู เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์และอุปกรณ์ แอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ และไก่แปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากอียู เช่น เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และยา เป็นต้น ปัจจุบันอียูมี FTA กับประเทศอาเซียน 2 ประเทศ คือ เวียดนามและสิงคโปร์ ถ้ากระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามเป้าหมาย ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 และถ้าประสบความสำเร็จไทยจะมีตลาดการค้าที่เราได้เปรียบคู่แข่งจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น 27 ประเทศ และจะเป็นแต้มต่อทางการค้าให้กับไทย รวมถึงเป็นการสร้างเงิน สร้างอนาคตให้กับประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/554278

‘อาเซียน’ เปิดฉากถกประเด็นด้านเศรษฐกิจ เร่งดันกฎระเบียบเอื้อเปิดเสรีภาคบริการ เล็งจัดตั้งสำนักเลขาธิการ RCEP หนุนใช้ e-Form D เต็มรูปแบบ

‘อาเซียน’ ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) อย่างเป็นทางการครั้งแรก ถกประเด็นเศรษฐกิจสำคัญ ทั้งผลักดันทำกรอบอำนวยความสะดวกด้านบริการ จัดตั้งสำนักเลขาธิการ RCEP หนุนใช้ e-Form D เต็มรูปแบบ เดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของ MSMEs การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เร่งติดตามความคืบหน้าการอัปเกรด FTA พร้อมคุยญี่ปุ่นหารือแนวทางจัดทำแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.dtn.go.th/th/home