‘อาเซียน’ ส่งสิ่งของช่วยเหลือเมียนมา บรรเทาทุกข์เหยื่อจากพายุไซโคลนโมคา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นำส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียน (DELSA) ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือแก่เมียนมา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน ‘โมคา’ ทั้งนี้ จากการประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่ามีความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของสาธารณะ รวมถึงมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 145 คน บาดเจ็บไปกว่า 131 คน และผู้คน 912,000 คน ต้องอพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย ทั้งนี้ นายเกา กิม ฮวน เลขาธิการอาเซียน แสดงความเสียใจต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอดจนพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501297944/asean-delivers-relief-supplies-to-myanmar-to-help-victims-of-cyclone-mocha/

‘อุตฯ เมียนมา’ เผยเดือน เม.ย. ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) เปิดเผยข้อมูลทางสถิติในเดือน เม.ย. 2566 ว่าภาคอุตสาหกรรมของเมียนมาดึงดูดเงินลงทุนกว่า 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการปรับเพิ่มเงินลงทุนจากผู้ประกอบการในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการจีนรายหนึ่งที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมของเมียนมา ด้วยมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมทั้งสิ้น 1.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2565-2566 (เม.ย.-มี.ค.) การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่า 271.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอ มีโรงงานผลิตกว่า 541 แห่งที่อยู่ภายใต้สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-manufacturing-sector-attracts-3-7-mln-in-april/#article-title

‘อาเซียน’ จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับเมียนมา

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม การประชุมผู้นำสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนครั้งที่ 42 ที่เมืองลาบวน บาโจ ประเทศอินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซีย กล่าวว่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับวิกฤตเมียนมาร์ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุด เห็นได้ชัดว่ารู้สึกผิดหวังที่ความพยายามของผู้นำอาเซียนไม่ได้มีผลตามที่ต้องการ อย่างไรก็ดี นางเริตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย มองไปในทิศทางที่ดีมากกว่าถึงความคืบหน้าในการเข้าช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและอยู่ในช่วงเจรจากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่บทเรียนสำคัญของประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ คือ การจัดการกับความขัดแย้งในเมียนมา ทั้งการใช้กำลัง ความกล้าหาญ สติปัญญาและวิสัยทัศน์ของกลุ่มไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยให้สามารถเล่นบทเบาหรือหนักได้ในเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับสมาชิกอาเซียนบางประเทศ เมียนมาล้มเหลวในการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ประการ (5PC) ดังนั้น กลุ่มอาเซียนจึงยืนหยัดที่จะป้องกันไม่ให้ผู้นำเมียนมาเข้าร่วมการประชุมทางการเมือง ตลอดจนอาเซียนเรียกร้องให้เมียนมายุติความรุนแรงทุกรูปแบบ

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2576274/asean-must-reengage-with-myanmar

“รัฐบาลไทย” ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในนามของรัฐบาลไทย มอบความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน “โมคา” และได้แสดงความเสียใจแก่ชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนในครั้งนี้ และหวังว่าชาวเมียนมาจะฟื้นตัวจากช่วงเวลาที่ยากลำบากได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่นายอูชิซเว (H.E. U Chit Swe) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยและทุกภาคส่วนที่ให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมา และยังกล่าวเสริมว่ามี 18 เมืองที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุไซโคลน โดยกองทัพและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเร่งทำการช่วยเหลือผู้คน

ที่มา : https://tna.mcot.net/english-news-1176401

งานแสดงสินค้าชายแดนเมียนมา-จีน จัดขึ้นที่เมืองเนปิดอว์

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ระบุว่าการจัดงานแสดงสินค้าชายแดนจีน-เมียนมา จัดขึ้นที่เมืองเนปิดอว์ โดยงานแสดงสินค้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศและยกระดับความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน งานแสดงสินค้าจะมีร้านค้ามากกว่า 100 ร้าน รวมถึงมีร้านค้าจากประเทศจีน 40 ร้าน และอีกประมาณ 70 ร้านมาจากเมียนมา ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจีนได้นำเสนอสินค้าที่หลากหลาย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กาแฟและชา แมคคาเดเมีย อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัวและสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ในขณะที่เมียนมานำเสนอสินค้า ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME)

ที่มา : https://english.news.cn/20230520/db4afc67d0894fa795d0726bc53bac2a/c.html

ผู้เชี่ยวชาญ UN ชี้กองทัพเมียนมานำเข้าอาวุธจากจีน-รัสเซีย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่รัฐประหาร

กองทัพเมียนมานำเข้าอาวุธและยุทโธปกรณ์อื่นๆ อย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ (UN) กล่าวตามรายงานฉบับใหม่ที่เรียกร้องให้รัสเซียและจีนทำการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านที่เผชิญกับรัฐบาลทหารของเมียนมา ทั้งนี้ ทอม แอนดรูวส์ ผู้สื่อข่าวพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เปิดเผยว่า เฮลิคอปเตอร์ Mi-35, เครื่องบินรบไอพ่น MiG-29 และเครื่องบินแบบเบา Yak-130 ที่ผลิตในรัสเซีย และเครื่องบินไอพ่น K-8 ของจีน ถูกนำมาใช้ในการโจมตีทางอากาศที่โรงเรียน สถานพยาบาลและสิ่งก่อสร้างของพลเรือนหลายแห่ง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็น ยังเปิดเผยข้อมูลการค้าว่ามีการถ่ายโอนของอาวุธกองทัพและสินค้าอื่นๆ รวมถึงวัตถุดิบที่กองทัพเมียนมาใช้ในการผลิต นับตั้งแต่มีการรัฐประหารพบว่ามีการถ่ายโอนอาวุธจากรัสเซียเป็นมูลค่ากว่า 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากจีน 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/3220940/un-expert-says-myanmar-military-imported-us1-billion-weapons-china-russia-and-others-coup

“เมียนมา” อนุญาตส่งออกเครื่องประดับเพชร

กระทรวงเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ภายใต้รัฐบาลทหารเมียนมา เปิดเผยว่าอนุญาตให้ทำการส่งออกเครื่องประดับเพชรไปยังต่างประเทศได้ ก่อนหน้านี้กระทรวงฯ ห้ามให้มีการส่งออกเพชรเจียระไนและเครื่องประดับเพชร แต่ปัจจุบันรัฐบาลทหารเมียนมาอนุญาตให้ส่งออกเครื่องประดับเพชรได้แล้ว โดยผู้ค้าเพชรรายหนึ่งกล่าวว่าหลังจากเมียนมาอนุญาตให้ส่งออกเครื่องประดับเพชรไปยังต่างประเทศได้ ส่งผลให้ผู้ค้าสามารถทำการค้าขายได้มากขึ้น เพราะสามารถนำเครื่องประดับเพชรที่ทำมาจากทองนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี จากการประกาศของกระทรวงฯ ยังมีข้อห้ามส่งออเพชรเจียระไน นอกจากนี้ มีการเปลี่ยนคำนิยามของคำว่า ‘เพชร’ เปลี่ยนมาเป็น ‘เพชรหยาบและเจียระไน ซึ่งยังไม่ได้ทำเป็นเครื่องประดับ’

ที่มา : https://mizzima.com/article/myanmar-diamond-jewelry-export-allowed

“เมียนมา” เผยเดือน เม.ย. ส่งออกข้าวลดลง 47,888 ตัน

กลุ่มสหพันธ์ข้าวของเมียนมา (MRF) เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของเมียนมาในเดือน เม.ย. 2566 ลดลงเหลือ 47,888 ตัน หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 144,034.86 ตัน โดยมาเลเซียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเมียนมาในเดือน เม.ย. ด้วยปริมาณ 8,050 ตัน ขณะที่เบลเยียมเป็นผู้นำเข้าข้าวหัก (Broken Rice) มากที่สุดจากเมียนมา มีปริมาณการนำเข้าสูงถึง 15,725 ตัน ทั้งนี้ เมียนมาทำรายได้จากการส่งออกข้าวและปลายข้าว อยู่ที่ 853,472 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณการส่งออกมากกว่า 2.2 ล้านตัน ในช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 นอกจากนี้ ข้าวเป็นพืชผลทางการเกษตรที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในเมียนมา รองลงมาถั่วและถั่วพัลส์ (Pulses)

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2023/05/10/myanmar039s-rice-exports-decline-to-47888-tonnes-in-april

ค้าชายแดนเมียนมา-จีน ทะลุ 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการค้าชายแดนเมียนมากับประเทศจีนในเดือน เม.ย. มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 267.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐของปีงบประมาณ 2023-2024 โดยตัวเลขการค้าชายแดนข้างต้น เพิ่มสูงขึ้นจาก 135.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2022-2023 ทั้งนี้ เมียนมาทำการค้าชายแดนกับจีนผ่านด่านมูเซ (Muse) ตามมาด้วยด่านชายแดน Lweje, Chinshwehaw, Kampaiti และ Kengtung เป็นต้น อย่างไรก็ดี ด่านมูเซเป็นด่านการค้าชายแดนรายใหญ่ที่ทำรายได้จากการค้าชายแดนจีนและเมียนมา อยู่ที่ 185.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การค้าชายแดนเมียนมาและจีนในปัจจุบันกลับสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจากเทศกาลวันปีใหม่ของเมียนมา โดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 คันผ่านพรมแดนของประเทศ นอกจากนี้ พรมแดนจีนและเมียนมา คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-values-cross-us267-mln-in-april/#article-title

บริษัทเบียร์ต่างชาติ 3 ราย จ่ายภาษีให้รัฐบาลเมียนมา 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเมียนมา “Justice for Myanmar” รายงานในเดือนที่แล้วว่าผู้ผลิตเบียร์ต่างประเทศ ได้แก่ ไฮเนเก้น (Heineken), คาร์ลสเบิร์ก (Carlsberg) และไทยเบฟเวอเรจ (Thai Beverage) ที่ดำเนินกิจการในเมียนมา หลังมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 โดยบริษัทเบียร์ต่างชาติดังกล่าวทำการจ่ายภาษี 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจ่ายภาษีในครั้งนี้ถือเป็นการสนับสนุนผู้ที่ก่ออาชญากรรมสงครามและยังมีส่วนร่วมโดยตรงต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ต้องตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมเป็นอาชญากรรมของสภาทหารหรือไม่ หรือจะหยุดจ่ายภาษี

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/myanmar/beer-05082023095704.html