CDC อนุมัติโครงการการลงทุนเพิ่ม ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) รายงานถึงโครงการการลงทุนใหม่ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา โดยสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) ได้ประกาศถึงการอนุมัติโครงการใหม่ 2 โครงการมูลค่ารวม 8.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานใหม่ให้กับคนในท้องถิ่นจำนวน 1,500 ตำแหน่ง โดยในบรรดาโครงการที่ได้รับการอนุมัติคือโรงงาน Gianni Vince Bags (Cambodia) Co Ltd. จากประเทศจีน ซึ่งโรงงานจัดตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาลด้วยเงินลงทุน 4.4 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างการจ้างงานรวม 1,171 ตำแหน่ง ส่วนอีกโครงการหนึ่งคือโครงการโรงงานผลิตรองเท้า  Sen Wang Ying New Material Co Ltd. ในจังหวัดกำปงสปือ ด้วยเงินลงทุนมูลค่า 4.1 ล้านเหรียญ และคาดว่าจะสร้างงานจำนวน 403 ตำแหน่ง รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่รวม 8 โครงการมูลค่ารวม 71.4 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานใหม่เกือบ 10,000 ตำแหน่ง ภายใต้อุตสาหกรรมสิ่งทอ กระเป๋าเดินทาง และรองเท้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50908192/new-garment-sector-investments-exceeding-8mn-approved-by-cdc/

กระทรวงเศรษฐกิจการคลังกัมพูชาร่วมกับสถานทูตญี่ปุ่นจัดเสวนาให้กับนักลงทุน

กรมสรรพากร หน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจการคลังกัมพูชา และสถานทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา ร่วมกันจัดเสวนาเกี่ยวกับการพิจารณาอัตราภาษี สำหรับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจกัมพูชาหรือนักลงทุนผู้ที่สนใจลงทุนในกัมพูชา รวมถึงการตั้งเป้าหมายในการร่วมพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในกัมพูชา เพื่อส่งเสริมการลงทุนและความสะดวกในการทำธุรกิจ ซึ่งจากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2021 กัมพูชาได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นรวมมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ ครอบคลุม 144 โครงการ ในการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50908193/gdt-and-japanese-embassy-hosts-virtual-discussion-with-investors/

อังกฤษได้รับสถานะ “คู่เจรจา” ของอาเซียน

อังกฤษพยายามขอสถานะ “คู่เจรจาของอาเซียน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหลังเบร็กซิท ที่จะเปลี่ยนไปเน้นความสัมพันธ์กับประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงในเอเชียและอินโด-แปซิฟิก มากยิ่งขึ้น และให้ความสำคัญน้อยลงกับสมาชิกอียู ที่อังกฤษถอนตัวออกมาเมื่อปี 2020 โดยอาเซียนกล่าวในแถลงการณ์หลังจากการประชุมสมาชิกครั้งล่าสุดว่า อาเซียนตกลงที่จะให้สถานะประเทศคู่เจรจาแก่สหราชอาณาจักร โดยมองจากความสัมพันธ์กับอาเซียนและความร่วมมือในอดีตที่ผ่านมาและการมีส่วนร่วมกับอาเซียนเมื่อครั้งที่อังกฤษจะเป็นสมาชิกอียู การที่อังกฤษได้รับสถานะประเทศคู่เจรจา จะทำให้อังกฤษสามารถเข้าร่วมในการประชุมในระดับสูงของการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษหวังว่าจะสามารถช่วยให้มีความร่วมมือในทางปฏิบัติกับอาเซียนในประเด็นอื่น ๆ ด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนี้แล้ว อังกฤษยังสมัครเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยอังกฤษคาดหวังว่าจะช่วยเปิดตลาดใหม่ๆ ให้กับสินค้าและบริการจากอังกฤษ พร้อมทั้งเสริมสร้างการเชื่อมต่อด้านการพาณิชย์ที่มีอยู่ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ที่มา : https://tna.mcot.net/world-752244

สปป.ลาวพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 250 ราย

จากรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 250 รายเมื่อวันอังคาร ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศไทย จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เหล่านี้ ยอดรวมทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 7,015 ราย ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นยอดที่ติดเชื้อสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกมาของสปป.ลาว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้แนะนำให้ทุกคนแสดงความรับผิดชอบและสนับสนุนการต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ในขณะเดียวกัน โครงการฉีดวัคซีนก็กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจะได้รับการฉีดวัคซีนภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 16.55 ของประชากรลาวทั้งหมดได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มแรกแล้วและร้อยละ 14.05 ได้รับวัคซีนทั้งสองโดส สปป.ลาวถือเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผนการฉีดวัคซีนของสปป.ลาวดำเนินการได้ต่อเนื่องมาจากการช่วยเหลือจากพันธมิตรที่สำคัญทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ เป็นต้น จึงทำให้สปป.ลาวต่อสู้กับโควิด-19ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_250New_150.php

มิน อ่อง หล่าย สถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมียนมา ลั่นจัดเลือกตั้งใน 2 ปี

6 เดือนหลังการรัฐประหาร นายพลอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ได้ประกาศสถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมย้ำว่าจะบริหารประเทศภายใต้ภาวะสถานกาณณ์ฉุกเฉินต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งใหม่ใน 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เมียนมาตกอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินมาตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งการรัฐประหารครั้งนั้น กองทัพเมียนมาอ้างความชอบธรรมเพราะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่กองทัพมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการร่าง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/490206

เวียดนามเผชิญการผลิตและผลผลิตทรุดหนัก เดือนก.ค. เหตุโควิด-19 ระลอก 4

ตามรายงาน IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 45.1 ในเดือนก.ค. จากระดับ 44.1 ในเดือนมิ.ย. บ่งชี้ว่าสภาพธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน เป็นผลมาจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ธุรกิจบางส่วนจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว ในขณะที่ธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งดำเนินกงานได้ลดลง เนื่องจากมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม โดยสิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อยอดคำสั่งซื้อใหม่และการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อีกทั้ง กิจการยังเผชิญกับปัญหาด้านการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุจากการระบาดและการขาดแคลนวัตถุดิบ ตลอดจนต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83506/vietnam-faces-steep-decline-in-production-output-in-july.html

“เวียดนาม” ส่งออกไปอียูพุ่ง 15.5%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่ามูลค่าจากการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, รองเท้า, เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้า, อาหารทะเล, กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าของเวียดนามจากสหภาพยุโรป อยู่ที่ 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนามที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เวียดนามได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-155-percent-rise-in-exports-in-eu-market/205702.vnp

การค้าระหว่างประเทศเมียนมาพุ่ง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากของกระทรวงพาณิชย์ การในช่วง 9 เดือนแรก (1 ต.ค-9 ก.ค.) ของปีงบประมาณ 63-64 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 363.9 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ แม้มูลค่าการค้ารวมจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 โดยการส่งออกอยู่ที่ 11.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 11.6 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน การค้าระหว่างประเทศเมียนมาโดนผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องคุมเข้มชายแดนและจำกัดการค้าขายในบางพื้นที่ชายแดน การค้าหยุดชะงักจากขนส่ง และการปิดทำการของธนาคารทำให้การค้าลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค จากสถิติพบว่าเมียนมากขาดดุลการค้ามาตลอด โดยในในปีงบฯ 62-63 ขาดดุลที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,ปีงบฯ 61-62 ขาดดุลที่ 1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ,ปีงบฯ 60-61 ขาดดุลที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ , ปีงบฯ 59-60 ขาดดุลที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์ และปีงบฯ 58-59 ขาดดุลที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://gnlm.com.mm/regional-trade-tops-6-billion-in-seven-months-reports-moc/#article-title

กัมพูชาส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 27 แต่อุปสงค์จากจีนและเวียดนามกลับเพิ่มขึ้น

กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศลดลงร้อยละ 27.3 ในช่วงเดือร ม.ค.-ก.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า การส่งออกลดลงเนื่องจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวสารเกือบ 310,000 ตัน ในช่วงเวลาดังกล่าว สร้างรายได้เกือบ 262 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ผู้ส่งออก 58 ราย โดยจีนยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่ทำการนำเข้าข้าวกัมพูชาในคิดเป็นเกือบ 154,000 ตัน ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามถือเป็นหนึ่งประเทศที่นำเข้าข้าวจากกัมพูชามากที่สุด ซึ่งนำเข้าข้าวมากกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 81 คิดเป็นมูลค่ากว่า 330 ล้านดอลลาร์ ส่วนทางด้านสหพันธ์ข้าวกัมพูชาได้เรียกประชุมฉุกเฉินเมื่อเดือนที่แล้ว ในการหารือเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้ส่งออกและโรงสี โดยสมาชิกกำลังพยายามหาผู้ซื้อมากขึ้นในจีนและตลาดในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาในการส่งออกข้าวไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50907302/rice-exports-plunge-27-percent-but-demand-from-china-and-vietnam-rises/

รัฐบาลกัมพูชาพิจารณาลดโครงการการลงทุนภาครัฐ

รัฐบาลกัมพูชากำลังพิจารณาปรับลดจำนวนโครงการการลงทุนสาธารณะภายใต้งบประมาณภาครัฐ เพื่อรักษาเงินทุนสำหรับใช้ในการต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ลดรายจ่ายลงเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกว่าเพิ่มเติมว่าหากในกรณีที่จำเป็น โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับอนุมัติบางโครงการอาจจะถูกยกเลิก เพื่อดำรงเงินทุนไว้สำหรับการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 โดยปีที่แล้ว รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนสาธารณะทั้งหมด 629 โครงการ สำหรับปี 2021-2023 ในจำนวนนี้ 203 โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่มีมูลค่าโครงการรวม 8.397 พันล้านดอลลาร์ และเป็นโครงการใหม่ 426 โครงการที่ต้องใช้เงินทุนถึง 4.399 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50907215/government-considering-reducing-public-investment-projects/