ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ขายแอปเปิลจีนดีกว่าแอปเปิลไทย เหตุจากราคาที่ต่างกัน

แอปเปิลนำเข้าจากจีนหรือที่เรียกว่า panlonethee ขายได้ดีในตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ เมื่อเทียบกับแอปเปิลนำเข้าจากไทย เนื่องจากราคาต่างกันมาก เฉพาะผู้ที่มีกำลังซื้อเท่านั้นจึงจะสามารถบริโภคแอปเปิลจากไทยได้ และการค้าขายแอปเปิลจากจีนก็ดีขึ้นในปีที่แล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดี แอปเปิลจีน มีการบริโภคสูงและมีราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ทุกชนชั้น นอกจากนี้ แอปเปิลไทย เนื่องจากมีราคาแพง จึงมีผู้ค้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถขายผลไม้นำเข้าจากไทยในเมืองมัณฑะเลย์ได้ และตลาดผลไม้ส่วนใหญ่พึ่งพาผลไม้นำเข้าจากจีนและผลไม้พันธุ์พื้นเมืองเป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chinese-apples-sell-better-than-thailand-apples-in-mandalay-fruits-market-due-to-price-gap/

ภูมิภาคพะโคจะปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์

รัฐบาลภูมิภาคพะโคได้กำหนดพื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์ โดยบริษัท The Light House ซึ่งตั้งอยู่ในตำบล Yedashe อำเภอ Toungoo ภูมิภาคพะโค ที่ทำการรับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นและส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีมูลค่าเพิ่ม อย่าไรก็ดี ธุรกิจในกลุ่มผู้ประกอบการด้านป่าไม้จะเพิ่มรายได้ด้วยการปลูกกาแฟโรบัสต้า กาแฟของเมียนมาได้รับชื่อเสียงที่ดีในตลาดกาแฟโลกแล้ว และกำลังพยายามขยายการเพาะปลูกและการส่งออกให้เป็นพืชที่มีมูลค่าเพิ่มที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังส่งผลให้รายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากการปลูกกาแฟโดยรักษาคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และแสงแดด ความทนทานต่อสภาพอากาศและศัตรูพืช ซึ่งให้ผลผลิตถึง 2.82 ตันต่อเอเคอร์ ทั้งนี้ กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ราบซึ่งมีมูลค่าในตลาดโลกนั้นเหมาะสำหรับการปลูกในระดับความสูงไม่เกิน 2,500 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล และต้องการปริมาณน้ำฝนระหว่าง 60 ถึง 100 นิ้ว เมียนมาสามารถผลิตกาแฟได้ที่ประมาณ 7,000 ตันต่อปี โดยครึ่งหนึ่งของผลผลิตส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bago-region-to-grow-1000-acres-of-robusta-coffee/

YRIC รับรอง 3 โครงการในประเทศ 4 โครงการต่างประเทศ

ในการประชุมครั้งล่าสุด 6/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคย่างกุ้ง (YRIC) ไฟเขียวแก่วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งที่เป็นของพลเมืองเมียนมา และวิสาหกิจต่างชาติทั้งหมด 4 แห่ง โดยมีทุนจดทะเบียนประมาณ 4.845 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 4.02 พันล้านจ๊าด อย่างไรก็ดี วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งจะอัดฉีดการลงทุนในภาคโรงแรม และในส่วนของวิสาหกิจต่างชาติทั้ง 4 แห่งจะมีการลงทุนในภาคการผลิตเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เบาะรองนั่ง การทำผ้านวม และของเล่น โดยพื้นฐานการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ (CMP) การผลิตผ้ารองและการทำผ้านวมถูกกำหนดไว้เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80 และส่งออกร้อยละ 20 ธุรกิจเหล่านั้นจะสร้างงานมากกว่า 3,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-3-domestic-projects-4-foreign-projects/

สมาพันธ์ข้าวเมียนมาขยายโครงการข้าวราคาถูกไปยังภูมิภาค/รัฐอื่นๆ

ตามประกาศของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน โครงการข้าวราคาไม่แพงของสหพันธ์ข้าวเมียนมาจะเข้าถึงภูมิภาคและรัฐต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบัน MRF จำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta ในราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาค เนปิดอว์, ย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์, พะโค และ Ayeyawady โดยการประสานงานกับโรงสีข้าว ร้านขายข้าว และคลังน้ำมัน โดยโครงการราคาถูกครอบคลุมร้านค้า 58 แห่งในย่างกุ้ง 120 แห่งในมัณฑะเลย์ และ 96 แห่งในเนปิดอว์ ทั้งนี้ ยังมีบริการจัดส่งตรงถึงบ้านที่จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม ในเมืองเนปิดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ จะจัดให้มีสถาบันทางสังคม ศาสนา หน่วยงานราชการ โรงงาน และร้านอาหาร รับซื้อข้าวในราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน เป็นต้นไป ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และศูนย์การค้า จะกลับมาเปิดจำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta แบบแพ็คบริโภค (ถุงเล็ก กล่อง ภาชนะ) ในราคาต่ำกว่าอัตราเดิม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-extends-affordable-rice-scheme-to-other-regions-states/

เรือสินค้า 27 ลำให้บริการในเส้นทางการค้ามัณฑะเลย์ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของเดือนมิถุนายน

จากสถิติของกรมบริหารทางทะเลแห่งมัณฑะเลย์ พบว่าเรือบรรทุกสินค้า 27 ลำแล่นไปยังย่างกุ้ง พะโค และเมืองอื่นๆ ระหว่างวันที่ 10 ถึง 19 มิถุนายน โดยมีการบรรทุกปูนซีเมนต์มากกว่า 7,170 ตัน ข้าวโพดมากกว่า 12,590 ตัน และถุงกรวดปูนขาว 350 ลูกบาศก์ฟุต อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีรายงานว่า มีเรือบรรทุกสินค้า 93 ลำออกจากท่าเรือมัณฑะเลย์เพื่อขนส่งสินค้า ทั้งนี้ กรมเจ้าท่ายังเตือนผู้ควบคุมเรือบรรทุกเกินพิกัด เนื่องจากกระแสน้ำวนก่อตัวขึ้นในเขตอิระวดีครั้งแรกตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน ซึ่งพวกเขามีมาตรการจัดการความปลอดภัยทางทะเลตามขนาดและสินค้า และนำทางด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/27-freighters-serve-mandalay-trade-routes-in-2nd-3rd-week/#article-title

มูลค่าการซื้อขายในตลาดทุนเมียนมารวม 1.5 พันล้านจ๊าด ในเดือนพฤษภาคม

ตามรายงานรายเดือนที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์เมียนมา มูลค่าการซื้อขายครั้งใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 8 แห่งในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) จดทะเบียนสูงสุดกว่า 1.558 พันล้านจ๊าด โดยมีหุ้นซื้อขาย 603,906 หุ้นในเดือนพฤษภาคม ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดทุนจดทะเบียนมีมูลค่าการซื้อขาย 1 พันล้านจ๊าด ด้วยหุ้น 425,102 ในเดือนมกราคม, 693 ล้านจ๊าด ด้วย 253,178 หุ้น ในเดือนกุมภาพันธ์, 1.34 พันล้านจ๊าด ด้วย 560,687 หุ้นในเดือนมีนาคม และ 473 ล้านจ๊าด ด้วย 177,812 หุ้นในเดือนเมษายน ตามลำดับ ปัจจุบันหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 8 แห่ง ได้แก่ First Myanmar Investment (FMI), Myanmar Thilawa SEZ Holdings (MTSH), Myanmar Citizens Bank (MCB), First Private Bank (FPB), TMH Telecom Public Co Ltd (TMH), Ever Flow River Group Public Co Ltd (EFR), Amata Holding Public Co Ltd (AMATA) และ Myanmar Agro Exchange Public Co Ltd (MAEX) มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี เดือนที่ผ่านมา หุ้น MTSH ติดอันดับการซื้อขายด้วยหุ้นจำนวน 294,185 หุ้น คิดเป็นมูลค่า 854.24 ล้านจ๊าด ตามด้วยหุ้น FPB 202,769 หุ้น มูลค่ามากกว่า 311.78 ล้านจ๊าด หุ้น FMI 21,582 หุ้น มูลค่า 188.67 ล้านจ๊าด, หุ้น EFR 39,500 หุ้น มูลค่ามากกว่า 65.69 ล้านจ๊าด, หุ้น MAEX จำนวน 28,410 หุ้น มูลค่า 59.99 ล้านจ๊าด, หุ้น MCB 5,784 หุ้น มูลค่า 46.28 ล้านจ๊าด, หุ้น TMH 11,230 หุ้น มูลค่า 29.76 ล้านจ๊าด และหุ้น AMATA 446 หุ้น มูลค่า 2.06 ล้านจ๊าด ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/equity-market-trading-value-totals-k1-5b-in-april/

อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดปลอดภาษีจากเมียนมา

อ้างถึง The Hindu Business Line มีการรายงานว่า อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดเมียนมาโดยไม่มีภาษี ด้าน Vangili Subramanian ประธานสมาคมการตลาดเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไข่ของรัฐทมิฬนาฑู (PFMS) กล่าวว่า ณ ท่าเรือ VO Chidambaranar ในเมือง Thoothukudi ของรัฐทมิฬนาฑู มีเรือ 3 ลำที่บรรทุกข้าวโพดจอดเทียบท่าที่ท่าเรือของอินเดีย และเรืออีก 10 ลำถูกกำหนดให้เทียบท่าตามข้อตกลง ซึ่งตามโครงการปลอดภาษีของอินเดียสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ข้าวโพดของเมียนมาได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ตามการระบุของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เปิดเผยนามจากสมาคมการค้าแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเดิมทีอินเดียมีการจัดเก็บภาษีศุลกากร 60 เปอร์เซ็นต์ ภาษีสินค้าและบริการ 5 เปอร์เซ็นต์ และภาษีประกันสังคม 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับข้าวโพดที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวโพดภายใต้โควตาอัตราภาษี (TRQ) รัฐบาลกลางของอินเดียให้ภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ และนำเข้าข้าวโพดจำนวน 500,000 ตันภายใต้ TRQ ในปี 2020 ซึ่งกลุ่มธุรกิจฮินดูอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลว่าการนำเข้าข้าวโพดชุดแรกถูกกำหนดให้นำมาผลิตแป้ง และชุดที่สองสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล ซึ่งสำหรับการนำมาผลิตแป้งส่งออก คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวโพดแบบปลอดภาษีประมาณ 300,000 ตัน อย่างไรก็ดี นักวิจัยในนิวเดลี ชี้ให้เห็นว่าการนำเข้าข้าวโพดอาจต้องคำนึงถึงข้อจำกัดราคานำเข้าและข้อจำกัดของท่าเรือ เกษตรกรทางตะวันออกและทางใต้ของอินเดีย ซึ่งสภาพอากาศเลวร้ายเมื่อปีที่แล้ว คาดว่าจะมีผลผลิตสูงและมีรายได้ดีในปีนี้ นอกจากนี้ การนำเข้าข้าวโพด อาจทำให้เกิดผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ การครอบครอง และอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวอาจทำให้โครงสร้างตลาดเสียหาย ถึงแม้ว่า อินเดียจะมีความต้องการข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเฉพาะในภาคการเลี้ยงสัตว์ปีกเพียงอย่างเดียวก็มีความต้องการมากถึง 1 ล้านตัน ต่อปี และนอกจากภาคปศุสัตว์แล้ว อุตสาหกรรมการผลิตแป้งและเอทานอลยังมีความต้องการที่สำคัญอีกด้วย หลังจากที่รัฐบาลกลางอินเดียจำกัดการใช้อ้อยเพื่อการผลิตเอทานอล ความต้องการข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านตันในปีนี้ จาก 0.8 ล้านตันในปีงบประมาณที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/india-starts-to-import-myanmar-maize-duty-free/

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในประเทศเมียนมาจำเป็นต้องลดการนำเข้า

เมื่อเช้าวานนี้ ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายบริการกลาโหม พล.อ.มิน ออง หล่าย ได้ให้คำแนะนำระหว่างการตรวจสอบโรงงานทอผ้าทัดมาดอว์ (เมติลา) ในเมืองเมติกติลา เขตมัณฑะเลย์ ว่า เมียนมาจะต้องพยายามอย่างต่อเนื่องในการผลิตสิ่งทอคุณภาพสูงโดยใช้สำลีหรือด้ายที่ผลิตในประเทศ โดยที่ห้องประชุมของโรงงาน ผู้จัดการโรงงาน อู นาย ลิน รายงานต่อนายพลอาวุโสเกี่ยวกับการดำเนินการตามคำแนะนำของนายพลอาวุโสในการทัศนศึกษาเมื่อเดือนกันยายน 2565 ซึ่งได้กล่าวรายงานถึงประวัติโดยย่อของโรงงาน การผลิตเส้นด้าย การดำเนินการด้านการเกษตร และงานเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อสวัสดิการของพนักงาน และการผลิตเส้นด้าย 2/80 เส้น โดยใช้สำลีท้องถิ่น อย่างไรก็ดี พลเอกอาวุโสเน้นย้ำว่าเนื่องจากมีการผลิตสิ่งทอต่างๆ รวมถึงมุ้ง ผ้าห่ม และผ้าปูที่นอนที่บ้าน จึงจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อลดปริมาณการนำเข้า และยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าหากด้ายและสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรม MSME ตอบสนองความต้องการในประเทศได้ ปริมาณการนำเข้าสิ่งทอจะลดลง นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งทอสำหรับเครื่องแต่งกายที่ผลิตที่โรงงาน และแนะนำถึงการรักษามาตรฐานตามความต้องการของตลาด รวมทั้งได้ตรวจสอบความคืบหน้าของการติดตั้งเครื่องจักรที่โรงงานปั่นเส้นด้ายและโรงงานย้อมผ้าสำหรับผลิตด้ายคุณภาพสูง ที่มีการประสานงานกับผู้จัดการโรงงานและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/home-production-of-textile-products-essential-to-cut-imports/

ปรับปรุงเส้นทางการค้าด่านหม่อตอง-สิงขร ดึงดูดผู้ค้ามากขึ้น

ตามการระบุของผู้ค้าท้องถิ่น เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปริมาณการค้าที่ด่านชายแดนหม่อตอง-สิงขร ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนเมียนมา-ไทยในเขตตะนาวศรี เพิ่มขึ้นเนื่องจากเส้นทางการค้าที่ดีขึ้น ดึงดูดธุรกิจการค้าชายแดนเมียนมาให้ยกระดับการค้าผ่านด่านมากขึ้น โดบมีผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นสินค้าส่งออกหลัก เช่นเดียวกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น พริก กล้วย และหัวหอม ผลไม้ สินค้าอุปโภคบริโภค และอาหาร นำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากมีเส้นทางการค้าที่ดี พื้นที่นี้จึงอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกสำหรับผู้ประกอบการและคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามสถิติที่เผยแพร่โดยกระทรวงการค้า ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 8 มิถุนายน มูลค่าการส่งออกที่ชายแดนหม่อตองอยู่ที่ 0.8377 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออก 0.8220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 0.0157 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่ประตูชายแดนหม่อตองได้รับการเปิดอย่างถาวรโดยเมียนมา ในขณะที่ประตูชายแดนสิงขรในประเทศไทยยังคงถูกกำหนดให้เป็นประตูชายแดนชั่วคราวพิเศษ ซึ่งระยะทางจากมะริดไปยังหม่อตองคือมากกว่า 120 ไมล์ และค่าใช้จ่ายในการขนส่งรถบรรทุกอยู่ที่ประมาณ 700,000 จ๊าด หรือเกินกว่าจำนวนนั้นเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/improved-trade-routes-at-mawtaung-singkhorn-border-checkpoint-attracts-more-traders/

การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมาทะลุ 970 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนเม.ย.-พ.ค

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 971.957 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกว่า 379 ล้านดอลลาร์ เทียบกับที่บันทึกไว้ (592.7 ล้านดอลลาร์) ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566-2567 อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-agri-produce-exports-cross-us970m-in-apr-may/