ส่งออกไปรัสเซีย เม.ย.ดิ่งหนัก “รถยนต์-ชิ้นส่วน” สูญหลังโดนนานาชาติคว่ำบาตร

นายกิตตินันท์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เปิดเผยถึงการส่งออกของไทยไปรัสเซียว่า ตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ.65 ที่รัสเซียเริ่มใช้ปฏิบัติการทางทหารกับยูเครน จนทำให้นานาชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซียหดตัวอย่างรุนแรง โดยเดือน มี.ค.65 มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 22.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบถึง 73.02% เมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.65 มีมูลค่า 207.80 ล้านเหรียญฯ ลดลง 6.56% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เดือน เม.ย.65 มูลค่าเหลือเพียง 16.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบหนักถึง 76.77% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 65 มูลค่า 224.40 ล้านเหรียญฯ ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น 23.64%

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2411480

“Apple” เตรียมย้ายฐานการผลิต iPad บางส่วนไปเวียดนาม เหตุปัญหาห่วงโซ่อุปทานของจีน

สำนักข่าว Nikkei Asia ระบุว่าเป็นครั้งแรกของกิจการยักษ์ใหญ่อย่างแอ๊ปเปิ้ล (Apple) ทำการย้ายฐานการผลิต iPad บางส่วนออกจากประเทศจีนและไปยังประเทศเวียดนาม หลังจากเผชิญกับการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดในนครเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือน อย่างไรก็ดี บริษัท Apple ต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนมานานแล้ว แต่จำนวนผู้ป่วย COVID-19 ในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันในไม่กี่เดือนต่อมา ทำให้แผนการดำเนินการล่าช้าออกไป ทั้งนี้ การป้องกันปัญหา Supply Chain ของบริษัทแอ๊ปเปิ้ล จะทำการขอความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ในการจัดหาชิ้นส่วนเพิ่มเติม เช่น แผนวงจรและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตในนครเซี่ยงไฮ้ที่เผชิญกับข้อจำกัดจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ขนส่งล่าช้าและประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Supply-Chain/Apple-to-shift-iPad-capacity-to-Vietnam-amid-China-supply-chain-woes

“เวียดนาม” ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม IIP ม.ค.-พ.ค.65 ขยายตัว

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในช่วงตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพ.ค.65 เพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมี 61 จังหวัดจากทั้งหมด 63 จังหวัดทั่วประเทศที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค.65 เพิ่มขึ้น 10.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปของเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.2% ตามมาด้วยการผลิตไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 5.5%, อุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน เพิ่มขึ้น 4.1% และการจัดหาน้ำ การจัดการและการบำบัดน้ำเสีย เพิ่มขึ้น 2.5% อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-sees-iip-growing-in-61-provinces-in-jan-may/

ความต้องการข้าวจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่ม หนุนราคาข้าวเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการศูนย์ขายส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวหักเมียนมาเริ่มปรับตัวขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันราคาข้าวหักอยู่ระหว่าง 27,000-30,000 จัตต่อตะกร้า (น้ำหนัก 108 ปอนด์) โดยราคาไม่ต่างจากราคาข้าวคุณภาพต่ำที่ส่งออกมากนัก เมื่อเดือนเม.ย.2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 170,000 ตัน โดยมีมูลค่าประมาณ 58.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งข้าวมูลค่ากว่า 119,260 ตัน เป็นการส่องออกยังทางทะเล มูลค่า 41.298 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผ่านชายแดน มูลค่า 4,180 ตัน ผ่านชายแดนจีน โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (10,000 ตัน) แคเมอรูน (9,000 ตัน) แองโกลา (15,000 ตัน) มาดากัสการ์ (8,500 ตัน) จีน (14,300 ตัน) ฟิลิปปินส์ (12,200 ตัน) ศรีลังกา (250 ตัน) และฮ่องกง (180 ตัน) ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ โปแลนด์ (8,800 ตัน), ลิทัวเนีย (8,200 ตัน), อิตาลี (8,690 ตัน), สเปน (15,180 ตัน), บัลแกเรีย (7,750 ตัน) และเบลเยียม (700 ตัน)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-foreign-demand-drive-broken-rice-price-up/

วิกฤตน้ำมันเลวร้ายลง หลังปั๊มน้ำมันเวียงจันทน์เริ่มไม่มีจำหน่าย

ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศต้องต่อสู้กับวิกฤตด้านเชื้อเพลิงที่รุนแรง สมาชิกสมาคมเชื้อเพลิงและก๊าซแห่งลาวกล่าวเมื่อวันพุธว่า อุปทานน้ำมันที่ผู้นำเข้าซื้อไว้คาดว่าจะมาถึงลาวในสัปดาห์หน้า สมาคมเชื้อเพลิงและก๊าซสปป.ลาวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิง วิกฤตนี้ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วประเทศ แม้ว่าทางการจะดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤต ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทที่แข็งค่า จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศลาวประสบปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้ามาจากหลวงน้ำทา ซึ่งน้ำมันหมดในปลายเดือนมีนาคม กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย กล่าวว่า สถานการณ์เลวร้ายลงในเมืองปากเซและจังหวัดสะหวันนะเขต ก่อนที่ปัญหาจะกระทบกระทั่งเวียงจันทน์ในที่สุด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Fuel104.php

โครงการถนนวงแหวนหมายเลข 3 ของกัมพูชา แล้วเสร็จร้อยละ 75

โครงการถนนวงแหวนหมายเลข 3 แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 75 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2022 ภายใต้งบประมาณการก่อสร้างรวม 300 ล้านดอลลาร์ แหล่งเงินกู้จากทางประเทศจีน ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในเดือน มกราคม 2019 โดยโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน กันยายน 2022 ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ซึ่งถนนวงแหวนหมายเลข 3 มีระยะทางรวม 52 กม. โดย 47 กม. สร้างด้วยปูนซีเมนต์ และอีก 5 กม. สร้างด้วยแอสฟัลต์ มีความกว้างอยู่ที่ 22 ม. ทอดยาวจากถนนแห่งชาติหมายเลข 4 โดยเริ่มจาก Por Sen Chey ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นทางฝั่งตะวันตกของกรุงพนมเปญ และผ่านถนนแห่งชาติหมายเลข 2 และ 3 ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนแห่งชาติหมายเลข 1 ในส่วนตะวันออกของท่าเรืออิสระของเมืองหลวง ก่อสร้างโดยบริษัท Shanghai Construction Group Co., Ltd.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501085667/ring-road-3-approaches-75-completion-milestone/

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์ในกัมพูชา เพิ่มขึ้นกว่า 120% ในช่วง 6 ปี

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 17.872 ล้านคนในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 120 จาก 8.099 ล้านคน ในปี 2016 ตามข้อมูลจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของกัมพูชา (TRC) ในขณะที่ Chhin Ken ประธานสมาคมเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งกัมพูชา กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของการใช้อินเทอร์เน็ตแสดงให้เห็นว่าชาวกัมพูชายอมรับเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการศึกษา ช็อปปิ้ง และโซเชียลเน็ตเวิร์กเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาและขยายโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G และการวางรากฐานสำหรับ 5G ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรคมนาคม 45 รายในกัมพูชา และ 5 รายเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ Smart, Cellcard, Viettel, Cootel และ SeaTel เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501085471/internet-users-go-up-120-percent-in-six-years/

เอกชนไทย–ลาวเดินหน้าขยายโอกาสการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว

ประธานกรรมการหอการค้าไทยเผยเอกชน ไทย-สปป.ลาว เดินหน้าขยายโอกาสการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว เสนอรัฐเร่งเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติของ 2 ประเทศ เพื่อให้การค้าการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอนาคต นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ ฯพณฯ พันคำ  วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2565 ถือเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำของทั้งสองประเทศจะได้กระชับความสัมพันธ์ และร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย-สปป.ลาว ให้ก้าวหน้าต่อไป โดยเฉพาะในบริบทการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือกับความผันผวนของสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน

ที่มา : https://tna.mcot.net/business-953320

BAY ชี้แนวโน้มส่งออกชะลอตัวจากแรงกดดันศก.-การค้าโลก คาดทั้งปีโต 6%

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 65 ยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอลง โดยองค์การการค้าโลก (WTO) ล่าสุดได้ปรับลดคาดการณ์ปริมาณการค้าโลกในปี 2565 ขยายตัวเหลือ 3.0% จากเดิมคาดไว้ 4.7% เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกในหลายประเทศเอเชียซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อาทิ ไต้หวัน เกาหลี รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของประเทศแกนหลักเติบโตชะลอลงต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2022/204231

รัฐบาลให้คำมั่นแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำมัน กีบอ่อน หนี้สินประเทศ

รัฐบาลให้คำมั่นที่จะดำเนินการที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงและหนี้ที่เป็นหนี้กับบริษัทเอกชนและต่างประเทศ คำมั่นสัญญานี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายของสองวาระแห่งชาติ ซึ่งพยายามบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ และควบคุมกับการป้องกันค้ายาเสพติด ในการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีที่จัดขึ้นที่เวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบที่จะจัดหาแหล่งการลงทุนระยะยาวเพิ่มเติมจากภาคเอกชนในประเทศลาวและประเทศอื่นๆ และผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ให้ก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการใช้จ่ายและรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten103_Govtvows.php