ม.มหิดล ร่วมเสนอแนวคิดฟื้นฟูภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะทำงานจาก 21 ประเทศกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) โดยได้กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่อย่างยั่งยืนว่าภาคส่วนต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในคลัสเตอร์ เช่น ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture) รวมไปถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) ภายใต้นโยบาย BCG นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านอาหารและการเกษตร ผ่านการพัฒนาโภชนเภสัช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มผลผลิต และการทำการเกษตรแม่นยำสูง และในด้านการแพทย์และสุขภาพ ได้มุ่งเน้นไปสู่การแพทย์แม่นยำสูง เทคโนโลยีจีโนมิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ (medical hub) เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3300783

“เวิลด์แบงก์” ประเมินเวียดนามได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและรายได้มากที่สุดในสมาชิก RCEP

ตามรายงานของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่าได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าร่วมสมาชิกของเวียดนามจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยพิจารณาแบบจำลองจาก 4 ปัจจัยที่สะท้อนให้ทราบถึงสถานะของธุรกิจ 1) การปรับลดภาษีของกลุ่ม RCEP เพียงข้อตกลงการค้าฉบับเดียวเท่านั้น 2) ลดอัตราภาษีศุลกากรและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ การลดภาษีสินค้าเกษตร 35%,  สินค้าอุตสาหกรรม 25% และบริการ 25% 3) ต้นทุนการค้าระหว่างสมาชิกลดลง 1% ในช่วงปี 2565-2578 4) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเปิดกว้างทางการค้าและต้นทุนการค้าที่ลดลง ดังนั้น ผลจากการวิเคราะห์ พบว่ารายได้และการค้าที่แท้จริงของเวียดนามขยายตัวได้ดี ตลอดจนได้รับผลประโยชน์สูงสุดในสมาชิก RCEP รายได้ที่ทแจริงเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับระดับพื้นฐาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-get-highest-trade-income-gains-among-rcep-members-wb-post926211.vov

อุปสงค์ในประเทศขยายตัว ภาคการส่งออกกระตุ้นเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 65

องค์กรระหว่างประเทศหลายสถาบัน มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดี สำหรับผลการวิเคราะห์ขององค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก “Fitch Ratings” มีมุมมองในทิศทางที่เป็นบวกมากที่สุด โดยคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 7.9% ในปี 2565 และ 6.5% ในปีหน้า และสถาบันอื่นๆ เช่น ธนาคารโลก (5.5%) และธฯคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (6.5%) ทั้งนี้ Fitch Ratings มองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม สาเหตุสำคัญมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกเวียดนามยังคงขยายตัวแข็งแกร่ง ซึ่งภาคการส่งออกของเวียดนามมีความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน การเบี่ยงเบนของการค้าจากจีนและข้อตกลงการค้าหลายฉบับ ทั้งนี้ อันที่จริง การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตของเวียดนามมาหลายปีแล้ว แม้จะมีผลกระทบด้านลบจากการระบาดของโควิด-19 แต่มูลค่าการส่งออกของเวียดนามในปีที่แล้ว อยู่ที่ 336.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19%YoY

 

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/positive-domestic-demand-exports-to-boost-vietnam-s-growth-in-2022-818218.html

 

ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมียนมา พุ่งถึง 30,000 จัตต่อถุง

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการตลาดค้าส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวพันธุ์คุณภาพต่ำ (ข้าวเมล็ดยาว) ในประเทศมีราคาสูงถึง 30,000 จัตต่อถุง นอกจากนี้ราคาข้าวพันธุ์ปวาสันต์ยังมีมูลค่าถุงละ 40,000-50,000 จัตอีกด้วย ข้าวหอม “Pearl Paw San” ที่นิยมบริโภคและปลูกในพื้นที่เมืองชเวโบ เขตซะไกง์ ราคาพุ่งไปถึงถุงละ 50,000 จัต อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศค่อนข้างซบเซา ส่วนราคาส่งออกมีความเกี่ยวพันอย่างมากกับตลาดค่างินและตัวชี้วัดเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันเงินจัตอ่อนค่าลงลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ที่ 1,980 จัต ช่วงนี้ข้าวนาข้าวปีเริ่มถูกส่งเข้าสู่ตลาดข้าวบุเรงนองประมาณ 30,000-40,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้ตลาดข้าวบุเรงนองเป็นจุดสำคัญสำหรับการส่งออกข้าวผ่านทางทะเล

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/low-grade-rice-price-rises-over-k30000-per-bag-in-domestic-market/

เยอรมันสนับสนุนทุนด้านการเกษตรแบบยั่งยืน

เยอรมนีมอบเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านกีบ (1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาวิถีชีวิตและความยั่งยืนสี่ปีในจังหวัดเชียงขวางและเวียงจันทน์ เงินช่วยเหลือนี้จัดทำโดยกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐ (BMZ) โดยความร่วมมือกับ Adventist Development and Relief Agency (ADRA) ประเทศเยอรมนี โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งโครงการริเริ่มด้านการเกษตรและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และการเกษตรที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันของพลเมืองในท้องถิ่นผ่านการฝึกอบรมผู้ตรวจการ GAP การรับรอง การสมัคร และการมีส่วนร่วมในนโยบาย

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_German39.php

Q4/2021 ท่าเรือสีหนุวิลล์กัมพูชา กำไรพุ่งแตะ 5.9 ล้านดอลลาร์

ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) รายงานถึงกำไรสุทธิที่มูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์ ในช่วง Q4/2021 อันเนื่องมาจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้นและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ โดย PAS มีรายรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 21 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ถูกบันทึกไว้ที่ 864,729 ดอลลาร์ ซึ่งปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ของ PAS เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.30 สู่ 9,350 TEU เท่ากันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขนส่งสินค้าขั้นต้นลดลงร้อยละ 1.65 มาอยู่ที่ปริมาณ 29,229 ตัน โดยในระยะถัดไป PAS กำลังเร่งทำการศึกษาโครงการขยายท่าเรือแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับเรือขนาด 60,000 ตัน หรือเรือตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ได้ 5,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030709/sihanoukville-autonomous-port-q4-net-surges-to-5-9-million/

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพื่อลดการพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศและช่วยเหลือโครงการด้านทุนที่เชื่อมโยงกับการผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน และภาคส่วนสำคัญอื่นๆ โดยรัฐบาลจะเน้นการใช้จ่ายเพื่อสังคมในปีนี้ เพื่อช่วยให้ประเทศฟื้นตัวจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในปี 2022 รัฐบาลกัมพูชาคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.6 โดยคาดว่าจะกลับไปขยายตัวร้อยละ 7 ภายในปี 2024 ทางด้านอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เนื่องจากปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานและต้นทุนในการขนส่งที่สูงขึ้น บวกกับต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น โดย NBC คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 2.6 ในปีนี้ และอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ประมาณ 4,075 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030711/government-wise-in-testing-the-market-with-300m-debt/

‘นายกฯ เวียดนาม’ สั่งคุมราคาน้ำมัน เหตุรักษาเสถียรภาพตลาดในประเทศ

นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ (Pham Minh Chinh) นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้สั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงาน รักษาเสถียรภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ อีกทั้งสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าทำการตรวจสอบศูนย์หน่วยจำหน่ายและสถานีการค้าทั่วประเทศ เพื่อจัดการกับผู้ที่ทำการกักตุนน้ำมันในการแสวงหากำไรและการละเมิดอื่นๆ นอกจากนี้ รัฐบาลได้สั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อทำการศึกษาและเสนอแนวทางปรับนโยบายภาษีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการประชาชนจังหวัดและส่วนกลางให้ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมการขายน้ำมันที่ร้านค้าปลีกในท้องที่อย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11199502-pm-orders-balance-of-petrol-demand-supply-for-domestic-market.html

‘เวียดนาม-อินเดีย’ เผยการค้าทะลุ 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำนักงานการค้าเวียดนามประจำอินเดีย อ้างรางานจากรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าระหว่างประเทศเวียดนามและอินเดียในปี 2564 มีมูลค่าเกินกว่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกมีมูลค่า 6.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20%YoY ในขณะที่อินเดียมีมูลค่า 6.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 56% ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดอินเดียในเดือน ธ.ค. ได้แก่ โลหะ (79.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน, โทรศัพท์และส่วนประกอบ, เครื่องจักรและอะไหล่ เป็นต้น โดยสินค้าประเภทวัตถุดิบพลาสติก สารเคมี ยางและถ่านหิน เป็นสินค้าเวียดนามที่มีการเติบโตสูงที่สุดในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 231%, 162% และ 138% ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamindia-trade-exceeds-13-billion-usd/222475.vnp

เมียนมา ชี้ มันสำปะหลัง ต้องการลงทุนเพิ่ม เพื่อเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย เมียนมาส่งออกมันสำปะหลังได้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันปริมาณการส่งออกค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 50 ตันต่อเดือน และมีการพยายามส่งออกไปยังจีนให้มากขึ้น โดยมันสำปะหลังหนึ่งตันมีมูลค่าประมาณ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังต่ำ ส่วนใหญ่มีการปลูกอยู่ในเมือง Kyonpyaw, Yekyi, Ngathainggyoung, Kyaunggon และ Thaboung ในเขตอิรวดีโดยมีพื้นที่มากกว่า 30,000 เอเคอร์ทั่วภูมิภาค มีผลผลิตต่อเอเคอร์ประมาณ 3,500 viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงและราคามันสำปะหลังที่ลดลงในปีงบประมาณ 2563-2564 นอกจากนี้ ตลาดยังขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ราคามันสำปะหลังลดลงจาก 103 จัต มาอยู่ที่ 80 จัตต่อ viss ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันราคาแป้งมันสำปะหลังก็ปรับลดลงจาก 850 จัตมาเป็น 500-550 จัตต่อ โดยเมียนมามีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่มีความต้องการคิดเป็น 90% ของความต้องการทั้งโลก ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณการปลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทดแทนแป้งสาลี ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดภายในประเทศมีการบริโภคไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-needs-market-promotion-to-penetrate-more-foreign-markets/