รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/

กัมพูชา สปป.ลาว ให้คำมั่นหนุนภาคพลังงาน

กัมพูชาและสปป.ลาวตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในภาคพลังงาน เนื่องจากกัมพูชานำเข้าพลังงานหมุนเวียนจากลาวในปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่ Suy Sem และ Daovong Phonekeo ถ้อยแถลงของกระทรวงกล่าวว่าในการประชุม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและขยายความร่วมมือในภาคพลังงาน ทั้งกรอบทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์ และแลกเปลี่ยนการศึกษาสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำของทั้งสองประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮงและภาคกลางตอนล่าง 2 ในอนาคต แก้ว รัตนนัค อธิบดีการไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ระบุว่า ไฟฟ้าที่นำเข้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของลาวมีส่วนทำให้พลังงานหมุนเวียนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามในปี 2562 กัมพูชาซื้อไฟฟ้า 2,400 mW จากสปป.ลาว โดยระยะแรกเริ่มในปี 2567 ตามด้วยระยะที่สอง ระยะที่สาม และระยะที่สี่ในปี 2568, 2569 และ 2570 ตามลำดับ ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยผลักดันภาคพลังงานของสองประเทศให้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นและมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนและภาคเศรษฐกิจโดยรวม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980061/cambodia-laos-pledge-to-boost-energy-sector/

กัมพูชาเรียกร้องอินโดนีเซียเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน

กัมพูชาได้เรียกร้องให้อินโดนีเซียดำเนินการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศกับกัมพูชา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดแล้ว โดย Sok Sangvar ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวในงาน Famtrip ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ดีระหว่างสองประเทศในด้านการเจรจาต่อรอง การค้า การท่องเที่ยว และอื่นๆ ในหัวข้อ “Exploring the Land of Sunda” ที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในกรุงพนมเปญ โดยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา Citlink ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสายการบินได้เพิ่มเที่ยวบินระหว่างจาการ์ตาและพนมเปญ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่เที่ยวบินดังกล่าวถูกระงับไปในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยด้านน้ำหนักบรรทุก โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียให้คำมั่นที่จะผสานกับทางการอินโดนีเซียในการติดต่อขอเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศให้กลับมาให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980346/cambodia-urges-indonesia-to-resume-direct-flights/

สถานภาพความร่วมมือทางด้านการสนับสนุนและการลงทุน กัมพูชา-จีน

ตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2020 จีนได้ให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนแก่กัมพูชามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ และการลงทุนรวมของจีนภายในกัมพูชาอีกประมาณ 27,000 ล้านดอลลาร์ โดยเรื่องนี้ถูกกล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจัดโดยสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของกัมพูชา โดย Sok Chenda Sophea เลขาธิการ CDC และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีนักธุรกิจชาวจีนประมาณ 300 คนเข้าร่วมด้วย ในการปราศรัยของเขา เลขาธิการ CDC ได้สรุปว่าจนถึงปี 2020 จีนได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับกัมพูชาถึง 4,655 ล้านดอลลาร์ และปริมาณการลงทุนของจีนในประเทศสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนตุลาคม โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคการค้าและจากข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2022 และข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีอื่นๆ กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980054/china-has-provided-over-4-billion-in-grants-and-27-billion-in-investment-from-1992-to-2020/

อาเซียนเนื้อหอม สหรัฐฯเชิญประชุม ม.ค.ปีหน้า

แหล่งข่าวด้านสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เผยเมื่อ 28 พ.ย.ว่า สหรัฐฯเตรียมจัดงานเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดี โจ ไบเดน กับผู้นำ กลุ่มอาเซียน ที่กรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ ช่วงสัปดาห์ ที่ 3 ของเดือน ม.ค.2565 แต่จะไม่เชิญ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา โดยกำลังประสานงานเรื่องวันเวลากับสมาชิกกลุ่มอาเซียน ขณะที่นายแอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็มีกำหนดเดินทางเยือนหลายประเทศ รวมอินโดนีเซียและไทย ช่วงเดือน ธ.ค.นี้ด้วย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ช่วงปลายเดือน ต.ค. สหรัฐฯประชุม ออนไลน์ร่วมกับกลุ่มอาเซียน แต่เมียนมาไม่ได้รับเชิญ ซึ่งไบเดนเสนอเงินช่วยเหลือจำนวน 102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3,400 ล้านบาท ให้กับ อาเซียนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 และปัญหาอื่นๆ

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2253926

ไทยควรเชื่อมต่อทางรถไฟสายลาว-จีน โดยด่วน

รัฐบาลไทยกำลังได้รับคำแนะนำให้เร่งพัฒนาเครือข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงระบบรถไฟของไทยกับรถไฟลาว-จีน ซึ่งเชื่อมต่อคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนกับเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว ดนุชา พิชยานันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการข้อตกลงกับประเทศลาวและจีน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อระหว่างระบบรถไฟของไทยกับการรถไฟลาว-จีน” ทางรถไฟเป็นโครงการเชื่อมต่อระหว่างแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ที่จีนเสนอและกลยุทธ์ของลาวในการเปลี่ยนตนเองจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้เป็นศูนย์กลางทางบก เมื่อเริ่มเปิดใช้บริการคาดว่าจะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าของการรถไฟลาว-จีนอย่างมาก นอกจากนี้การเชื่อมโยงทางรถไฟจะดึงดูดการลงทุนจากจีนและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และเหมืองแร่ นายดานูชา เสนอให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการตามข้อตกลงไตรภาคีเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่ไร้รอยต่อระหว่างไทยกับการรถไฟจีน-ลาว การเชื่อมโยงทางรถไฟที่ดีขึ้นหรือราบรื่นจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทย ลาว และจีน”

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/2224707/calls-to-speed-up-link-to-laos-china-line

‘เวียดนาม’ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 64 เพิ่มขึ้น 1.84%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 1.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 0.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นตัวเลขเงินเฟ้อต่ำสุดตั้งแต่ปี 2554

อย่างไรก็ตาม นาย Nguyen Bich Lam อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าทั้งราคาน้ำมัน ข้าวและอาหาร มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นสุดเทศกาลวันตรุษญวน รวมถึงมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ดัชนี CPI ปีนี้ อาจอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 4%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1088337/cpi-increases-by-just-184-per-cent-in-11-months.html

‘เวียดนาม’ เผยยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พ.ย. พุ่ง 40%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือน พ.ย. ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเวียดนาม มีจำนวนมากกว่า 15,000 คน เพิ่มขึ้น 42.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากเปิดโครงการนำร่อง โดยภายใต้โครงการนำร่องดังกล่าว รัฐบาลอนุญาติเปิดรับ 5 จังหวัด ได้แก่ เกาะฟู้โกว๊ก, คั้ญฮหว่า, กว๋างนาม, ดานังและกว๋างนิญ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบแพ็คเกจทัวร์ที่เดินทางโดยเที่ยวบินเช่าเหมาและเที่ยวบินเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเวียดนามอยู่ที่ 140,100 คน ลดลง 96% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส นอกจากนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติเวียดนาม (VNAT) ชี้ว่าการจัดงานอีเวนท์ข้างต้นที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นกลุ่มแรกเข้ามาเวียดนาม ถือเป็นก้าวครั้งสำคัญของเวียดนามในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและปูทางไปสู่การเปิดประเทศอีกครั้ง ภายใต้รูปแบบการใช้ชีวิตแบบ “New Normal”

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-sees-40-rise-in-intl-tourist-arrivals-in-nov/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

สาธารณรัฐเช็ก-กัมพูชา เร่งสร้างความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน

สาธารณรัฐเช็กยืนยันส่งเสริมความร่วมมือกับกัมพูชาในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวต่อไป กล่าวโดย Martini Vavra เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กคนใหม่ประจำประเทศกัมพูชา ขณะเข้าเยี่ยมคารวะ Heng Samrin ประธานรัฐสภา (NA) ที่ NA Palace โดยเอกอัครราชทูตให้คำมั่นที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนชาวเช็กเข้ามาทำธุรกิจในกัมพูชามากขึ้น เมื่อการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ทางด้านเอกอัครราชทูต Vavra กล่าวเสริมถึงความช่วยเหลือทวิภาคีของสาธารณรัฐเช็กในภาคสาธารณสุขและการศึกษาของกัมพูชา ซึ่งยืนยันว่าสาธารณรัฐเช็กจะยังคงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อไป โดยเฉพาะทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชาวกัมพูชาและข้าราชการเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/979557/czech-republic-to-boost-trade-cooperation-with-cambodia/