“ไอโฟน” เสียตำแหน่งท็อป 5 ตลาดสมาร์ทโฟนในเวียดนาม

แอ๊ปเปิ้ล (Apple) หลุดจากรายชื่อแบรนด์สมาร์ทโฟนชั้นนำ 5 อันดับแรกในเวียดนาม ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนแบ่งการตลาดที่มียอดขายสูงสุดในเวียดนาม ได้แก่ ซัมซุง (Samsung), ออปโป้ (Oppo), เสียวหมี่ (Xiaomi) และวิโว่ (Vivo) และวินสมาร์ท (VinSmart) ทั้งนี้ ความต้องการ ไอโฟน (iPhone) ลดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์แอ๊ปเปิ้ลในเทศกาลช็อปปิ้งช่วงปลายปี ในขณะเดียวกัน กลุ่มสมาร์ทโฟนแอนดรอย (Android) จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดที่หลากหลาย และผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากกว่าไอโฟน นอกจากนี้ กรมศุลกากร เผยว่ายอดการส่งออกสินค้าสูงสุดของเวียดนาม คือ โทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่า 14.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจีนเป็นตลาดรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาสหภาพยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีใต้และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/iphone-loses-position-in-top-five-in-vietnam-31428.html

ธุรกิจสหรัฐฯ เล็งขยายห่วงโซ่อุปทานในเวียดนาม

ตามรายงานของบริษัท QIAM (ผู้ให้บริการทางด้านซัพพลายเชนในสหรัฐอเมริกา) เผยว่าจากการสำรวจของกลุ่มธุรกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ 43% มองว่าเวียดนามเป็น 1 ใน 3 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคที่มีการซื้อสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2564 และพุ่งขึ้น 2 เท่าจากปี 2562 ซึ่งข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการในการตรวจสอบและติดตามคุณภาพการดำเนินงานในเวียดนามเพิ่มขึ้น การเติบโตในครั้งนี้ ขยายตัวมากกว่าในช่วงระดับก่อนการระบาดโควิด-19 เป็นผลมาจากความต้องการในการตรวจสอบในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ ระบุว่าเวียดนามไม่ใช่ประเดียวในภูมิภาคที่ได้รับประโยชน์จากปริมาณธุรกิจที่ขยายตัว เนื่องจากมีความต้องการทางด้านงานตรวจสอบและติดตามคุณภาพการดำเนินงานในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/944703/us-firms-interested-in-vietnamese-supply-chain.html

ผู้ผลิตเร่งหาแนวทางผลิตสินค้าเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างสมาคมสหกรณ์อุตสาหกรรมของเมียนมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน และกระทรวงสหภาพแรงงาน เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและจำหน่ายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาชนบทสร้างโอกาสในการทำงานและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตต้องหาแนวทางและวิธีการในการผลิตซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิภาคและเพื่อเจาะตลาดในและต่างประเทศ ทั้งนี้ยังขอความช่วยเหลือทางเทคนิคในการผลิตจากกรมเกษตรและกรมอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturers-urged-to-seek-ways-for-commercial-scale-manufacturing-of-products-penetrate-local-and-foreign-markets/#article-title

โควิดแรง ชาวบ้านแห่ซื้อของห้างเพิ่ม30% พาณิชย์ยันไม่ต้องตื่นกักตุน

กรมการค้าภายใน เผย จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมีประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดยนิยมซื้อสินค้าในร้านโชห่วยหรือร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน ส่วนห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่จะซื้อสินค้าในกลุ่มอาหาร ซอสปรุงรส อุปกรณ์ประกอบอาหาร และของใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่ม 20%-30% ซึ่งมีการเตรียมสต๊อกสินค้าไว้เพียงพอ ขณะที่สินค้าจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือยังคงมีปริมาณเพียงพอสามารถจัดส่งได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือให้ขายหน้ากากอนามัยไม่เกินกว่าราคาที่กำหนด และขอมั่นใจว่าปริมาณสินค้ามีเพียงพอไม่จำเป็นต้องกักตุน

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/842356

พาณิชย์ เร่งเครื่องปิดดีลเอฟทีเอพร้อมลุยเจรจากรอบใหม่

รมช.พาณิชย์ มอบนโยบายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งปิดดีล เอฟทีเอทั้งกับตุรกี ปากีสถาน และศรีลังกา ซึ่งประเทศเหล่านี้จะเป็นประตูการค้าให้ไทยเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียใต้ ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง เป็นต้น รวมทั้งปรับปรุงเอฟทีเอ ที่มีอยู่ในปัจจุบันกับคู่ค้าที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูง เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-เกาหลีใต้ เป็นต้น เพื่อขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย โดยสามารถดำเนินการหารือได้ทันที ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ พร้อมเปิดเจรจาเอฟทีเอ คู่ค้าใหม่ อาทิ อียู เอฟต้า และแคนาดา เพื่อหาตลาดใหม่และสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าส่งออกของไทยในต่างประเทศ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/936435

เวียดนามเผยผลผลิตอุตฯ เติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ พ.ย. 61

ตามรายงานของ IHS Markit ระบุว่าอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ท่ามกลางยอดคำสั่งซื้อใหม่พุ่งสูงขึ้น ต้นทุนของปัจจัยการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มีสัญญาบ่งชี้ว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลายลงในเดือนนี้ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน อยู่ที่ระดับ 54.7 เดือนเมษายน ซึ่งภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนเมษายน ได้รับแรงหนุนมาจากลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/81734/vietnam%e2%80%99s-production-rises-at-fastest-pace-since-nov-2018-.html

เวียดนามเผยยอดส่งออกและนำเข้า พุ่งสูงสุดรอบ 10 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การเติบโตของการนำเข้าและส่งออกทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกรวม 103.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ภาคธุรกิจในประเทศส่งออกสินค้าและบริการ 25.76 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ ภาคการลงทุนต่างประเทศ 78.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยมูลค่า 30.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 50.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ สำนักงาน GSO เผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้า 1.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการ แตะ 73.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/939944/export-import-growth-hits-10-year-high.html

ฤดูร้อนเกษตรกรเมืองยอง อู ปลูกถั่วเขียวได้ราคาถึง 40,000 จัตต่อตะกร้า

ในฤดูร้อนเกษตรกรจากเขตเมืองยอง อู ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเขียวบนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 42,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในกว่าปีที่แล้ว โดยจะเริ่มหว่านในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากปลูกได้ 45 ถั่วเขียวก็เริ่มแตกหน่อและออกดอก หลังจากนั้นสองเดือนก็จะนำผลผลิตไปขายที่นายหน้าที่มารับซื้อ ซึ่งแต่ละเอเคอร์สามารถให้ผลิตตะกร้าได้ถึง 20 ตะกร้า สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกจะอยู่ที่ 3,000 จัตต่อเอเคอร์ ในทางตรงกันข้ามการปลูกข้าวในช่วงฤดูร้อนมีต้นทุนสูงถึง 9,000 จัตต่อเอเคอร์ ณ ตอนนี้ราคาถั่วเขียวอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตะกร้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-summer-green-gram-succeeds-selling-for-k40000-per-basket/

ทีมแพทย์จีนเดินทางถึงสปป.ลาวเพื่อช่วยต่อต้าน COVID-19

Mr.Kikeo Khaykhamphithoune รองนายกรัฐมนตรีลาวและเอกอัครราชทูตจีนประจำลาว Mr.Jiang Zaidong ตอนรับคณะแพทย์ที่รัฐบาลจีนส่งมาเพื่อช่วยเหลือสปป.ลาวท่ามกลางการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ในสปป.ลาว ทีมแพทย์ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อการดูแลผู้ป่วยหนักและเจ้าหน้าที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการ พร้อมด้วยเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ทันสมัยของจีน จะช่วยให้สปป.ลาวยกระดับประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขให้มีระสิทธภาพมากขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่อาจรุนแรงขึ้น

ที่มา : https://english.cctv.com/2021/05/06/ARTILpvCC1NLqDXOb864KZye210506.shtml

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ช่วยกระตุ้นการค้าระหว่างกัมพูชา

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 คิดเป็นมูลค่ากว่า 289.9 ล้านดอลลาร์ สู่ 1.9683 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปี 2021 ตามรายงานของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ (USCB) โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี ซึ่งมีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามรายงานของ ประธานหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา โดยการส่งออกรวมในไตรมาสที่แล้วมูลค่ารวม 1.8629 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ารวม 106.3 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้ดุลการค้าของกัมพูชาเกินดุลกว่า 1.7566 พันล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สำหรับการเดินทาง ส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับยานพาหนะ อาหารสัตว์และเครื่องจักร เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50852336/booming-us-recovery-boosts-bilateral-trade-and-exports/