บริษัท จีนต้องการปลูกทุเรียน 4,800 เฮกตาร์ในสปป.ลาว

บริษัท จีนต้องการเช่าที่ดินในเวียงจันทน์จำนวน 3,200 ถึง 4,800 เฮกตาร์เพื่อปลูกทุเรียนและส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกทุเรียนจำนวนมากจากสปป.ลาวและเวียดนามใน 3-5 ปีข้างหน้า ทุเรียนได้รับการปลูกในเชิงพาณิชย์ในสปป.ลาวในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่อยู่บนที่ราบสูงทางตอนใต้ที่เย็นและอุดมสมบูรณ์ซึ่งเหมาะแก่การเพราะปลูกทุเรียนไม่เพียงแค่ด้านผลผลิตที่เติบโต ด้านตลาดก็มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นทั้งผู้บริโภคในประเทศรวมถึงด้านการส่งออกจากปัจจัย ค่าเช่าที่ดินและแรงงานที่ต่ำตลอดจนข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับยกเว้นภาษีจาก 16 ประเทศ ทำให้การส่งออกทุเรียนของไทยมีแนวโมที่จะเติบโตได้ในอนาคต

ที่มา : https://www.freshplaza.com/article/9301231/chinese-companies-looking-to-grow-4-800-hectares-of-durians-in-laos/

อินเดียเล็งนำเข้าพริกไทยและขมิ้นจากกัมพูชา

สถานทูตอินเดียประจำกัมพูชาระบุถึงความต้องการของอินเดียที่จะนำเข้าสินค้าภาคการเกษตร ของกัมพูชา โดยเฉพาะพริกไทยและขมิ้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ทางสถานทูตอินเดียประจำประเทศกัมพูชาจะจัดให้มีการประชุมเสมือนจริงระหว่างคณะกรรมการเครื่องเทศของอินเดียและคู่สัญญาผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตรของกัมพูชา ในการหารือเกี่ยวกับโอกาสสำหรับเครื่องเทศกัมพูชาในตลาดอินเดีย พร้อมกับข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช หลังจากการหารือดังกล่าวบริษัทอินเดียและกัมพูชาจะต้องมีการประชุมแบบ B2B อีกทั้งรัฐบาลกัมพูชายังสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรมองหาโครงการในลักษณะปลอดภาษีอากรภายในประเทศอินเดีย ที่ขยายไปยังประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า (LDCs) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822835/india-seeking-pepper-and-turmeric-from-cambodia/

FTAs, FDIs และการท่องเที่ยว คาดเป็นส่วนสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกัมพูชา

แม้ว่าวัคซีนจะเริ่มถูกนำมาใช้ในกัมพูชาแล้ว แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่แน่นอน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงกว่าร้อยละ 70 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายนของปี 2020 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกยังส่งผลทำให้การส่งออกของกัมพูชาชะลอตัวลงตามไปด้วย รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ลดลงทำให้การไหลเวียนของเงินทุนและการจ้างงานลดลงภายในกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามธนาคารโลก (WB) ระบุว่าการท่องเที่ยวของกัมพูชาอาจจะฟื้นตัวช้า ส่งผลต่อการเติบโตในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 แต่ในทางกลับกันภาคธุรกิจอาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากมีการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศบ้างแล้ว รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้กัมพูชายังได้ทำการลงนาม FTA ในระดับภูมิภาคหลายครั้ง โดยมีการลงนามบนข้อตกลงกับจีนและเกาหลีใต้ไปแล้ว ซึ่ง FDI ในปี 2021 จีนยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา โดยลงทุนไปยังภาคส่วนสำคัญ ๆ เช่น ผลิตเสื้อผ้า โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร เหมืองแร่ และพลังงานถ่านหิน ไปจนถึงภาคการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822760/ftas-fdis-and-tourism-essential-for-cambodias-economic-bounce-back/

ตั้ง 8 อรหันต์ CPTPP “ประยุทธ์” ขีดเส้น ส่งการบ้านกลางเดือนเมษาฯ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบการดำเนินการจัดทำกรอบการทำงานเพื่อติดตามการจัดทำแผนงานการดำเนินการเพื่อปรับตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของสภาผู้แทนราษฎร โดยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องรวมทั้งภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง CPTPP รายประเด็น จำนวน 8 คณะ ซึ่งทั้ง 8 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ จะเร่งจัดทำกรอบการทำงานเพื่อติดตามการจัดทำแผนงาน การดำเนินการเพื่อปรับตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพร้อมหรือความไม่พร้อมและเงื่อนไขในการขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปภายในกลางเดือนเมษายน 2564

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-627018

Fitch Solutions ชี้เศรษฐกิจเวียดนามโต 6.5% ต่อปีในอีก 10 ปีข้างหน้า

Fitch Solutions คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.5% ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมการกระจายตลาดส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยข้อตกลงการค้าเสรีจะเป็นแรงผลักดันให้เวียดนามเข้าถึงตลาดต่างประเทศและลดการพึ่งพาคู่ค้ารายเดียว อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการผลักดันไปข้างหน้า คือการที่ภาครัฐฯ ตั้งเป้าที่จะก้าวไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าและส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทค ทั้งนี้ ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า เวียดนามเล็งสร้างทางด่วนเหนือ-ใต้ และช่วงเฟสแรกจะเป็นของสนามบินนานาชาติลองแถ่ง (Long Thanh) และถนนเลียบชายฝั่งกว่า 1,700 กม. จากจังหวัดกว๋างนิญไปยังจังหวัดก่าเมา นอกจากนี้แล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม เติบโต 2.9% ในปีที่แล้ว เหตุจากสถานการณ์การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-grow-6-5-pct-annually-in-next-decade-fitch-4245706.html

เวียดนามเผยราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่

ตามรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่ อยู่ที่ 567 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคายังคงปรับตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค อาทิ ไทย อินเดียและปากีสถาน สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ส่งออกของเวียดนาม อยู่ที่ราว 513-517 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวขาวหัก 25% อยู่ที่ราว 488-492 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้าวประเภทเดียวกัน พบว่าราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย 5-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และแพงกว่าทั้งอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมมองว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวของเวียดนาม ตลอดจนผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามรุกตลาดยุโรป นอกจากนี้ นาย Dao The Anh รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร กล่าวว่าในปีนี้ จะเห็นแนวโน้มการเติบโตของการส่งออกข้าวในทิศทางที่ดี ทั้งในแง่ของมูลค่าและขีดความสามารถที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-records-new-price-peak-841926.vov

สปป.ลาวออกกฎหมายลงโทษแรงงานต่างด้าวและผู้ประกอบการผิดกฎหมาย

รัฐบาลได้กำหนดบทลงโทษต่อแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและผู้ประกอบธุรกิจในการเสนอราคาเพื่อควบคุมปัญหาและตรวจสอบให้แน่ใจว่าชาวต่างชาติในสปป.ลาวปฏิบัติตามกฎหมาย ชาวต่างชาติหรือคนไร้สัญชาติใด ๆ ที่ประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะถูกปรับและลงโทษเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 13 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมแรงงานต่างด้าวและผู้ประกอบธุรกิจที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้น การปรับกฏหมายดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนตามระเบียบและยังเป็นฐานข้อมูลของภาครัฐในการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_48.php

รัฐบาลกัมพูชาสนับสนุนการทำงานในรูปแบบ WFH

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้แนะนำให้สถาบันของรัฐทุกแห่งตลอดจนหน่วยงานนิติบัญญัติปรับใช้แนวปฏิบัติการทำงานจากที่บ้าน (WFH) และกำหนดให้มีบุคลากรเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่สามารถหมุนเวียนมาทำงานในที่ทำงานได้เป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ส่วนสำหรับสถาบันเอกชนหากเป็นไปได้รัฐบาลแนะให้ภาคเอกชนจำกัดจำนวนพนักงานในที่ทำงานและให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดในที่ทำงานและบนท้องถนน เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันกัมพูชาตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 50 รายในเมืองหลวงพนมเปญและจังหวัดพระสีหนุ เปรยแวงและกันดาลเมื่อช่วงดึกที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822294/cambodia-adopts-work-from-home-practice-for-a-week/

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯยังคงเห็นการเติบโต

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯในช่วงต้นปียังคงเห็นถึงการเติบโตในมูลค่าการส่งออกอย่างต่อเนื่องสะท้อนถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาในสหรัฐฯ โดยข้อมูลจากสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้ารวมมูลค่ากว่า 580 ล้านดอลลาร์ ไปยังสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2021 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 สู่ 614 ล้านดอลลาร์ ในช่วงที่มีการวัดผลตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ซึ่งการค้าระหว่างกัมพูชากับสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 เนื่องจากความพร้อมของวัคซีน COVID-19 ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กล่าวโดยรองประธานหอการค้ากัมพูชา โดยสินค้าหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯส่วนใหญ่ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว ส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ สินค้าสำคัญส่วนใหญ่ ได้แก่ ยานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักร เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822337/cambodian-exports-to-us-continue-to-grow-in-january-2021/

โรงงานแปรรูปบุกในรัฐมอญปิดตัว เหตุขาดวัตถุดิบ

โรงงานแปรรูปมันบุก (Elephant foot yam) ในรัฐมอญเผยอาจมีการปิดโรงงานลงจากการขาดวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บกี่ยวผลผลิตจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ทั้งยังไม่สามารถซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นได้เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมเพราะการปิดให้บริการของธนาคาร ก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ราคาพุ่งไปถึง 2,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แต่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหลือเพียง 1,700 จัตต่อ viss มันเทศชนิดนี้ถูกซื้อโดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก โดยญี่ปุ่นและจีนสร้างมูลค่าด้วยการขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว และยา เป็นต้น เพราะมีไขมันต่ำและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแต่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของมันบุก จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา ระบุว่าการส่งออกมันเทศและการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ผลิตจากมันจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งปัจุบันเมียนมาผลิตเพียงมันกึ่งแปรรูปเท่านั้น มันบุกส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่กว่า 8,800 เอเคอร์ของรัฐชิน ผู้ค้าให้ข้อมูลว่าผลผลิตในรัฐชินมีราคาสูงกว่าจากภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกมันเทศจำนวน 4,200 ตันในปี 57-58 จำนวน 1,300 ตันในปี 58-59 และ 20,000 ตันในปี 59-60

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/elephant-foot-yam-factory-in-mon-state-suspended-due-to-lack-of-raw-material/