“นิกเกอิ เอเชีย” เผยเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 64

ตามข้อมูลของนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) เผยว่าในปีที่แล้ว เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 2.9% เนื่องมาจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งได้รับอนิสงค์จากการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ไว้ที่ 6.5% ทั้งนี้ นาย Gareth Leather นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัท Capital Economics ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการส่งออกของเวียดนามควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ ดำเนินเล็งจัดเก็บภาษีจากสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุน และกลุ่มประชากรที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ประกอบไปด้วยแรงงานจำนวนมากที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความได้เปรียบในการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในระยะสั้น คือ การควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/nikkei-aisa-vietnam-will-be-southeast-asian-growth-leader-in-2021-839093.vov

ค้าทวิภาคี ไทย – เมียนมา พร้อมดำเนินการหลังไทยเปิดชายแดน

การค้าที่ประตูพรมแดนชั่วคราวพิเศษเมืองหินขุนบริเวณชายแดนระหว่างเมียนมาร์และไทยกลับมาดำเนินการอีกครั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 64 หลังจากฝ่ายไทยเปิดด่านอีกครั้ง ประตูด่านมุต่อง  (Mawtaung) ในเขตตะนาวศรีประตูพรมแดนหินขุนในประเทศไทยถูกหลายครั้งเนื่องจากการระบาดของ COVID -19 ไทยตัดสินใจเปิดประตูอีกครั้งในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ แต่เริ่มการค้าได้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา การค้าทวิภาคีเมียนมาเปิดประตูชายแดนมะแว้ง แต่ไทยเปิดประตูพรมแดน Hsinkhu ชั่วคราวซึ่งหลังจากปิดบ่อยครั้งบ่อยครั้งจากการระบาดของโควิด -19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/bilateral-trade-resumes-after-thailand-reopened-its-border-gate

GIZ ทำข้อตกลงกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มการบริโภคที่ยั่งยืนในสปป.ลาว

Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ลงนามกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เงินสนับสนุนทางเทคนิคจำนวน 600,000 ยูโรสำหรับการบริโภคที่ยั่งยืน โครงการ“ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนในเอเชีย: The Next Five” (SCP) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ได้รับทุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนีโดยร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์และภูฏานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการผลิตและบริการที่ยั่งยืนและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณทั้งหมดสำหรับห้าประเทศคือ 5 ล้านยูโรโดยมีระยะเวลาโครงการสามปีสปป.ลาว คาดว่าโครงการนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของสปป. ลาวโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (ฉบับที่ 030 / NA) ซึ่งออกเมื่อวันที่ 2 2 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งระบุไว้ในข้อ 4 วรรค 3 ว่ารัฐบาลส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_GIZ39.php

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ชี้ผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนเพิ่มมาตรฐานสินค้า

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ได้เรียกร้องให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนการปลูกมะม่วงกับกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานของผลไม้ภายในกัมพูชา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดตั้งกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง และร่วมงานกับบริษัททั้งในและต่างประเทศในการทำคอนแทรคฟาร์มมิ้งเพื่อแปรรูปและส่งออกมะม่วง โดยจากข้อมูลของ MAFF ราคาสินค้าเกษตรรวมทั้งมะม่วงมีความผันผวนตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงอุปสงค์และอุปทานในตลาดที่ไม่แน่นอน กระทรวงฯ จึงพยายามอย่างมากในการแสวงหาตลาดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงของกัมพูชา โดยเฉาพะเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 131,890 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตเฉลี่ย 18.78 ตันต่อเฮกตาร์ โดยผลผลิตในปี 2020 อยู่ที่ 1.75 ล้านตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817427/mango-farmers-asked-to-register-to-boost-standards/

กัมพูชาส่งเสริมธุรกิจด้านการเกษตร

Khmer Enterprise (KE) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ร่วมกับ Cambodia Partnership for Sustainable Agriculture (CPSA) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคการเกษตรของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมนวัตกรรมการปรับตัวทางเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการผลิต การพัฒนาทักษะทางธุรกิจ การเชื่อมโยงด้านวิชาการกับอุตสาหกรรม และการเป็นผู้ประกอบการในภาคการเกษตร รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกสนับสนุนภาคการเกษตรภายในประเทศ โดย KE และ CPSA ยังได้เปิดตัวโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรที่ยั่งยืน และมีประสิทธิผลมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาหลักสองประการที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรในกัมพูชา ได้แก่ ปัญหาผลผลิตต่ำ และปัญหาแรงงานภาคการเกษตรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่น้อยลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817350/promoting-business-in-farming/

“พาณิชย์” เผย “ทุเรียน-ถุงมือยาง” แชมป์ใช้สิทธิ์ FTA-GSP ปี 63

กรมการค้าต่างประเทศเผยยอดใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าปี 63 มีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 10.46% ตามการส่งออกที่ชะลอตัว เผย “ทุเรียนสด” นำโด่งใช้ FTA “ถุงมือยาง” นำใช้สิทธิ์ GSP คาดปี 64 ยอดใช้สิทธิ์เพิ่มตามการฟื้นตัวของการส่งออก และการพัฒนางานบริการให้ยื่นขอใช้สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในปี 2563 ที่ผ่านมามีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.46% ซึ่งเป็นไปตามการส่งออกในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.06% ของสินค้าที่ได้สิทธิประโยชน์ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 58,077.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.41% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.53% และการใช้สิทธิภายใต้ GSP มูลค่า 4,261.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.03% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 70.12%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000018374

จุรินทร์ เผยค้าชายแดนไทย-เมียนมา ยังไม่สะดุด ชี้สัญญาณส่งออกไทยดีต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในส่วนการประท้วงในเมียนมาเมื่อวานนี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบการส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทยกับเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นที่ด่านระนองด่านพุน้ำร้อน หรือด่านเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี ทั้งนี้ เมื่อวานสถานการณ์ยังปกติยกเว้นที่ด่านแม่สาย ท่าขี้เหล็ก จุดเดียวที่มีการชุมนุมของผู้ชุมนุมในฝั่งเมียนมา การขับรถข้ามแดนส่งสินค้า อาจชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว จึงได้เร่งการส่งสินค้าข้ามแดนในช่วงเช้าไปได้จำนวนมาก และการจราจรทางด้านการส่งสินค้ายังเคลื่อนตัวไปได้ “ในภาพรวมยังถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ปกติ จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงติดตามใกล้ชิด ในอนาคตถ้ามีปัญหาอะไรจะเรียนให้ทราบต่อไป”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2592463

“Bamboo Airways” สายการบินเวียดนาม ประกาศเพิ่มทุนกว่า 457.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

สายการบินแบมบูแอร์เวย์ส (Bamboo Airways) ประกาศจะเพิ่มส่วนของทุน 3.5 ล้านล้านด่อง ทำให้มูลค่าทุนรวมอยู่ที่ 10.5 ล้านล้านด่อง (457.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) การปรับเพิ่มทุนครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 และเป็นการเพิ่มเงินทุนครั้งใหญ่ที่สุด ภายใต้งบประมาณของธุรกิจ ทั้งนี้ โครงสร้างของผู้ถือหุ้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง บริษัท FLC ถือหุ้น 51.29% ณ สิ้นปีที่แล้ว โดยเมื่อพิจารณางบการเงินของธุรกิจ พบว่ากำไรก่อนภาษีในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 300 พันล้านด่อง จำนวนผู้โดยสารทั้งหมดราว 4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 41% ในแง่ของจำนวนเที่ยวบิน และ 40% ในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับปี 2561 นอกจากนี้ ในปัจจุบัน สายการบินดังกล่าวมีเครื่องบินจำนวน 30 ลำ ประกอบไปด้วยโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลเนอร์, แอร์บัส A321neo และเครื่องบิน Embraer E195s ซึ่งคาดว่ากองบินจะมีเครื่องบิน 50 ลำในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bamboo-airways-raises-charter-capital-to-4573-million-usd/196625.vnp

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

ตามข้อมูลของนิกเคอิ (Nikkei) เผยว่าบริษัทอินเทล (Intel) ประกาศลงทุน 475 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปใช้ในบริษัทอินเทลโปรดักส์ เวียดนาม คอร์ป (IPV) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทดสอบและประกอบชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี 63 บริษัทมีเป้าหมายเพื่อทำการผลิตสินค้า 5G และโปรเซสเซอร์  Intel Core มาพร้อมกับเทคโนโลยีอินเทล ไฮบริด และซีพียูตัวใหม่ล่าสุด ‘Intel Gen 10’ ทั้งนี้ Apple เร่งดำเนินย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามและอินเดีย บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มีกำหนดการผลิตไอแพด (iPad) ในเวียดนามช่วงกลางปี 64 นอกจากนี้ ยังจะขยายสายการผลิตลำโพง HomePod mini smart นอกจากนี้ บริษัท Savills Vietnam ระบุว่าบริษัท ‘Pegatron’ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน ได้เข้ามาทุ่มเงิน 19 ล้านเหรียญสหรัฐในเมืองไฮฟอง สำหรับแผนการขยายการลงทุนในช่วงเฟสแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม หรือขยายการปริมาณการผลิต

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-becomes-attractive-destination-to-technology-giants-28437.html

สินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดเล็กช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน สปป .ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้เปิดตัวโครงการสนับสนุนทางการเงินฉุกเฉินมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการระบาดของโควิด -19  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประกาศโครงการสนับสนุนและฟื้นฟูการเข้าถึงการเงินในภาวะฉุกเฉินทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSME) ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินในพื้นที่สามารถให้เงินกู้แก่ธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการปิดพรมแดน และลดการซื้อขายในปีที่ผ่านมา โดยธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ Laos-China, Maruhan, และ Sacom ได้รับเลือกให้เข้าร่วมในโครงการเพื่อให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทขนาดเล็กที่ขอสินเชื่อผ่านวงเงินเครดิต โครงการนี้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคจากธนาคารแห่งสปป.ลาว เป็นผู้บริหารระบบค้ำประกันสินเชื่อและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าจะมีสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการมากขึ้นเมื่อการเจรจาเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อเสร็จสมบูรณ์ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาว  ด้วยการทำให้บริษัทขนาดเล็กเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นรัฐบาลและธนาคารกำลังขจัดหนึ่งในสามอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจในสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Credit_38.php