อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาคาดว่าจะเผชิญกับการชะลอตัว

Oxford Economics ระบุว่าการระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออกของกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งประกอบไปด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยเสริมว่าการส่งออกของกัมพูชามากถึงร้อยละ 66 เกิดจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งได้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและสิทธิประโยชน์ทางการค้าหลักจากผู้ซื้อหลัก โดยคาดการณ์ว่าการไหลเข้าของ FDI จะลดลงอย่างรวดเร็วในปีนี้ และการฟื้นตัวในปี 2021 จะถูกชะลอลงท่ามกลางความต้องการเครื่องนุ่งห่มทั่วโลกที่อ่อนแอและการถอนบางส่วนจากสิทธิพิเศษทางการค้า “Everything but Arms : EBA” ระหว่างสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่ง Oxford Economics เน้นย้ำอีกว่าแม้จะเกิดสถานการณ์เลวร้าย ณ ปัจจุบัน แต่ในกลุ่ม CLMV จะยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต โดย Oxford Economics คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มที่จะเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ตั้งแต่ปี 2020 ถึง 2028 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยประมาณของ ASEAN-5 ที่เติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764104/cambodias-garment-industry-projected-to-face-brunt-of-clmv-exports-slowdown/

เมียนมาเตรียมตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองสำหรับบริษัทมหาชน

การกระทรวงการวางแผน เมียนมา เผยการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองเพื่อวัตซื้อขายหุ้นใน บริษัท มหาชนที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปัจจุบันมีบริษัท มหาชนมากกว่า 260 แห่งที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายบริษัทของเมียนมาร์ มีบริษัทมหาชนเพียง 6 แห่งเท่านั้นที่จดทะเบียนใน YSX ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมเพื่อเตรียมรายชื่อบริษัทที่พร้อมเข้าจดทะเบียน YSX ในอนาคต โดยคณะกรรมการชุดใหม่นี้จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SECM บริษัท มหาชนตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อระดมทุนจากประชาชนและแข่งขันกันเพื่อร่วมประมูลงานของรัฐบาล นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตจาก SECM และหน่วยงานอื่น ๆ และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ก่อนที่จะได้รับอนุญาตในการขายหุ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-second-stock-exchange-public-companies.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง 26.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนของปี 2563

ตามรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนท เผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงรวม อยู่ที่ 26.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

กลุ่มสินค้าเกษตรกรรมส่งออกสำคัญ ได้แก่

  1. สินค้าเกษตรหลัก 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-3.2%YoY)
  2. สินค้าประมง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-5.3%YoY)
  3. สินค้าเกษตร 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (10.3%YoY)
  4. สินค้าจากปศุสัตว์ 0.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (25.0%YoY)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agroforestryfishery-exports-reach-261-billion-usd-in-eight-months/182467.vnp

สปป.ลาว เหยื่อกับดักหนี้จีนรายล่าสุด

รถไฟความเร็วสูงจีน – สปป.ลาวมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังดำเนินการแล้วเสร็จในปลายปี 64 โครงการรถไฟความเร็วสูงถือเป็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบความสำเร็จภายใต้พรรคปฏิวัติของประชาชนลาว แต่ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจมาพร้อมกับการสูญเสียอธิปไตยบางอย่างให้กับเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางเหนืออย่างจีนที่  เป็นนายทุนใหญ่ของโครงการดังกล่าว รายงานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าสปป.ลาวจะเป็นประเทศล่าสุดที่ตกเป็นเหยื่อของกับดักหนี้ Belt and Road Initiative (BRI) โดยประเทศต่างๆ หากผิดนัดชำระหนี้ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงการ จะถูกกดดันในการยกสัมปทานบางอย่างให้แก่จีนแทนการชำระหนี้ ปัจจุบันทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของสปป.ลาวลดลงต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้งวดประจำปีของโครงการ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียอธิปไตยของประเทศไปบางส่วน รายงานข่าวยังชี้ให้เห็นอีกว่ากระทรวงการคลังสปป.ลาว ได้ขอให้จีนซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดปรับโครงสร้างหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ข้อมูลจากรายงานชี้ให้เห็นว่าการเติบโตสปป.ลาวอาจมีการขยายตัวได้ดีจากการเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของนักลงทุนจีน แต่สิ่งที่สปป.ลาวยังเป็นกังวลและให้ความสนใจคือความสามารถในการชำระหนี้ ที่อาจหากไม่มีประสิทธิภาพอาจนำซึ่งการสูญเสียอธิปไตยของชาติก็เป็นได้

ที่มา : https://asiatimes.com/2020/09/laos-the-latest-china-debt-trap-victim/

นายกรัฐมนตรี แนะบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) พัฒนาการผลิตเพื่อรองรับความต้องการประเทศ

นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิดได้แนะนำให้ บริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) บริษัทผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่ปัจจุบันบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายโดยมีกำลังการผลิต 350,000 ตันต่อปี สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทก้าวต่อไปได้จะต้องมีการดำเนินการพัฒนาด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จากการที่มีการลงทุนก่อสร้างถนน ทางรถไฟและอาคารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า “โรงงานเหล็กแห่งนี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ การจัดหาผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในท้องถิ่นจะช่วยลดความต้องการสินค้านำเข้าเพื่อลดการขาดดุลการค้าของประเทศ”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_179.php

ADB ให้เงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ แก่กัมพูชาสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในกรุงพนมเปญและอีกสามจังหวัดโดยรอบ ซึ่งโครงการนี้จะนำร่องระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดยูทิลิตี้แห่งแรกในกัมพูชา โดยคำแถลงกล่าวว่าโครงการนี้จะช่วย Electricite du Cambodge ที่ทำสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าแห่งชาติของกัมพูชาเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งโดยการจัดหาเงินทุนในการก่อสร้างสายส่ง 115–230 กิโลโวลต์ 4 สายและสถานีย่อย 10 แห่ง ในพนมเปญ กัมปงชนัง กำปงจาม และจังหวัดตาแก้ว ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บไฟฟ้าได้ 16 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง และให้บริการเพื่อช่วยในการผสมผสานพลังงานหมุนเวียน การบรรเทาความแออัดของระบบส่งผ่านและการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานทางด้านไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763512/adb-provides-127-8-million-loan-for-reliable-electricity-infrastructure/

คาดการท่องเที่ยวภายในประเทศของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลประชุมแบน

ธุรกิจต่างๆทั่วกัมพูชาหันมาให้ความสนใจการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น เนื่องจากในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาผู้คนเดินทางไปยังจุดท่องเที่ยวต่างๆ ภายในประเทศกันอย่างหนาแน่นสร้างโอกาสให้กับธุรกิจภาคบริการและอื่นๆ โดยในด้านบริษัทผู้ให้บริการทั่วประเทศกำลังร่วมกันระดมสมองเพื่อรองรับในช่วงวันหยุดที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 16, 17 และ 18 กันยายน ซึ่งบรรดาเกสต์เฮาส์ ที่พัก ทั่วประเทศเริ่มเสนอที่พักราคาประหยัดเพื่อเป็นการจูงใจผู้เข้าพักในช่วงวันหยุดที่กำลังจะมาถึงเช่นเดียวกับบาร์และร้านอาหารต่างๆ โดยหวังว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องเสนอสิ่งที่ดีที่สุดในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน โดยหวังว่าวันหยุดในช่วงเทศกาลของกัมพูชาในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศให้เกิดการฟื้นฟู

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763443/more-domestic-tourism-expected-over-pchum-ben-festival-period/

ผู้ค้าหน้ากากอนามัยขอให้แก้ไขการขนส่งเพื่อคุมราคาไม่ให้สูงจนเกินไป

กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการขายอาหารหลัก ยา และเวชภัณฑ์ในราคาที่สูงเกินจริง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 63 ออกเตือนให้ผู้ค้าไม่ให้ขึ้นราคาโดยไม่จำเป็นในช่วง COVID-19 ในเดือนมีนาคม 63 ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ห้ามขึ้นราคาสินค้าพื้นฐาน ยา และเวชภัณฑ์ ทั้งนี้กรมกิจการผู้บริโภคยังเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ ไม่เพิ่มราคาหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีนและให้จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม ความต้องการพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 63 แต่ผู้ค้ากล่าวว่าควรผ่อนปรนข้อจำกัดบางประการในการขนส่งที่ชายแดนเมียนมา – จีนเพื่อให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากชายแดน ปัจจุบันราคามีความผันผวนเนื่องจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากข้อจำกัดและความล่าช้าที่ชายแดน เช่น จากชายแดนมูเซเพื่อเข้ามาย่างกุ้งและมัณฑะเลย์มีความลำบากและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันสหพันธ์ข้าวเมียนมาได้เรียกร้องให้ธุรกิจปฏิบัติตามคำเตือนของกระทรวงที่ไม่ขึ้นราคาข้าวเนื่องจากเป็นสินค้าอาหารพื้นฐานในประเทศ ด้านสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคแห่งเมียนมายังได้เรียกร้องให้ตัวแทนจำหน่ายขายในราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากข้อจำกัดด้านโลจิสติกส์และการขนส่งซึ่งกรมกิจการผู้บริโภคจะทำตรวจสอบสินค้าที่ขายเกินราคาบ่อยขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/traders-face-masks-ask-smoother-logistics-flow-avoid-price-hikes.html

น้ำตาลเมียนมาล้นตลาดทำราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี

สมาคมผู้ประกอบการน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาเผยปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี เนื่องจากขณะนี้น้ำตาลสำหรับการส่งออกยังคงค้างอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ตามการคาดการณ์อาจมีสินค้าคงเหลือในประเทศ 150,000 ถึง 200,000 ตันและราคาอยู่ระหว่าง 840-860 จัตต่อ viss ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ การบริโภคลดลงอย่างมากเพราะไม่มีงานเทศกาลหรืองานอีเว้นท์ในช่วง COVID-19 เนื่องจากผู้คนจับจ่ายน้อยลงจึงส่งผลกระทบต่อตลาดขนมและเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำตาลซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้เมียนมากำลังพยายามจะทำทุกทางเพื่อการส่งออกไปยังจีน แม้พื้นที่เพาะปลูกอ้อยจะลดลงแต่ผู้ค้าคาดว่าราคาจะยังคงลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นผลมาจากปริมาณที่มากเกินไปและการบริโภคที่ลดลง ขณะนี้มีไร่อ้อยในเมียนมาไม่ถึง 50,000 เอเคอร์และลดลงจากหน้านี้ที่มีประมาณ 460,000 เอเคอร์ ซึ่งถูกทดแทนโดยถั่วชนิดต่าง ๆ  เนื่องจากสินค้าคงเหลือมีจำนวนมากเกษตรกรจึงขอจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ ทั้งนี้ความต้องการและพื้นที่ปลูกอ้อยที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต่อไปตามห่วงโซ่คุณค่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sugar-glut-myanmar-leads-prices-10-year-low.html

ตลาดนัด SME ยอดซื้อขายทะลุ 30 ล้านบาท

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลการจัดงาน ตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” สร้างยอดขายกว่า 30 ล้านบาท เพิ่มโอกาส สร้างรายได้พร้อมต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่าตลาดนัด SME เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน  ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงวันที่ 4 – 6 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 4 หมื่นคน โดยจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ผู้ประกอบการกว่า 600 ราย ที่นำสินค้าและบริการมาจำหน่าย สามารถทำยอดขายโดยรวมมากกว่า 30 ล้านบาท โดยเฉพาะในหมวดของอาหาร เกษตรแปรรูป สินค้าแฟชั่นจำพวกสิ่งทอ เสื้อผ้า รวมถึงบริการท่องเที่ยว คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของยอดขายทั้งหมดในงาน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูงมากถึง 86% โดยเฉพาะในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่นำเสนอในงาน ซึ่งตลอดทั้ง 3 วัน ได้มีกิจกรรมที่เน้นเพิ่มความรู้ด้านการตลาดในยุค New Normal การปรับตัวของธุรกิจและกรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก “แม้ว่าตลาดนัด SME จะเป็นงานในระดับเล็ก แต่สิ่งสำคัญคือการที่ประชาชนได้ออกมาจับจ่ายใช้สอย อุดหนุนสินค้าและบริการของไทย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการที่นำสินค้าและบริการมาเสนอในงาน โดย SME และวิสาหกิจชุมชนต้องเรียนรู้ความต้องการผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และทำการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐาน รวมถึงรูปแบบสินค้าใหม่ ๆ ให้เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังคงเร่งให้ความช่วยเหลือสนับสนุน SME และวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้าถึงแหล่งทุน และตลาดทั้งในรูปแบบ Offline และ Online ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

ที่มา: https://bit.ly/35B7FOJ