แรงงานท้องถิ่นในกัมพูชาเสี่ยงตกงานถึง 1.76 ล้านคน

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาจะชะชอตัวลงมาอยู่ที่ระหว่างร้อยละ -1 ถึง -2.9 โดยมีความเสี่ยงในภาคแรงงานอย่างน้อย 1.76 ล้าน ตำแหน่งตามรายงานเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลก ซึ่งรายงานเรื่อง “Economic Update for Cambodia in a time of COVID-19” แสดงให้เห็นว่าความยากจนในกัมพูชามีโอกาสเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ระหว่างร้อยละ 3 – 11 สูงกว่าระดับในปัจจุบัน ด้วยการขาดดุลทางการคลังของประเทศอาจถึงระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเตือนว่าเงินทุนไหลเข้าจะลดลง ซึ่งจะก่อให้เกิดการผ่อนคลายของราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยสินเชื่อที่ขยายตัวในปัจจุบันสำหรับภาคการก่อสร้าง โดยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและการคุ้มครองสุขภาพของคนในประเทศในระยะสั้น จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและส่งเสริมความยืดหยุ่นทางการคลังและสังคมในระยะกลาง ซึ่งประสิทธิผลของการแทรกแซงของรัฐบาลจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728835/report-1-76m-local-jobs-at-risksreport-1-76-million-local-jobs-at-risk/

ยอดเกินดุลการค้าในเดือนม.ค.-พ.ค. ของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของเวียดนามอยู่ที่ 196.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ ในเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มขาดดุลการค้าถึง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. ยอดเกินดุลการค้าลดลงแตะ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม พบว่าโทรศัพท์และชิ้นส่วนคาดว่าสร้างรายได้มากที่สุดในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. อยู่ที่ 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.11 ของมูลค่าการส่งออกรวม ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีรายได้ประมาณ 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, เสื้อผ้า (10.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.), อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้, ยานพาหนะขนส่ง, สินค้าการประมงและอื่นๆ เป็นต้น ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-trade-surplus-narrows-to-us1-9-billion-in-jan-may-a202045252.html

ภาคการผลิตของเวียดนาม ส่งสัญญาฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม

Nikkei และ HIS Markit รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นจาก 32.7 ในเดือนเมษายน (ต่ำที่สุด) มาอยู่ที่ 42.7 ในเดือนพ.ค. (+10) ซึ่งส่งสัญญาว่าสภาวะของภาคธุรกิจเริ่มจะฟื้นตัวกว่าเดือนก่อนหน้า ผู้ผลิตยังคงปรับลดการผลิตลง จากการจัดซื้อ และคลังสินค้าทั้งที่มาจากการจัดซื้อและสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่ปุทานเกิดภาวะชะงักงัน ถือเป็นลักษณะสำคัญจากการสำรวจในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ การขาดแคลนของวัตถุดิบบางอย่าง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ต้นทุนปัจจัยการผลิตลดลงในเดือนที่สอง สะท้อนได้จากราคาน้ำมันลดลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงปรับลดราคาสินค้าในแต่ละเดือน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ. ถึงแม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในเดือนเม.ย. นอกจากนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ตามแนวโน้มเชิงลบในเดือนก่อน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnams-manufacturing-activity-signals-improvement-in-may-a202045256.html

รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html

กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาเมียนมาทุ่ม 46 พันล้านจัตซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ ในปีงบประมาณปัจจุบัน

รัฐบาลใช้จ่าย 40 พันล้านจัต ในการซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์และ 6 พันล้านจัตสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยสำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชนในปีงบประมาณปัจจุบันตามที่กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา โดยรัฐจัได้ดสรรเงินให้แก่กระทรวง 1,000,000 จัต ต่อปีงบประมาณ 2562-2563 ในปีงบประมาณที่ผ่านมากระทรวงได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่นการดำเนินการรณรงค์เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสาธารณสุข การสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย การเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลด้านสุขภาพ การปรับปรุงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แจกจ่ายยาคุณภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลักสูตรการฝึกอบรม.

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/health-sports-ministry-spends-ks46-bn-on-purchase-of-medicines-medical-equipment-in-current-fy

สุริยะ สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี

รมว.อุตสาหกรรม สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี ขับเคลื่อนศก. พร้อมอัดสินเชื่อ 4 หมื่นล้านบาท 24,000 กิจการพลิกฟื้นธุรกิจ หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีดีแบงก์ ว่า ได้สั่งการให้ธพว.เร่งพักชำระหนี้เงินต้นให้กับลูกค้ารายเดิมเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีจากเดิม 6 เดือน และให้ขยายสัญญาเงินกู้จากเดิม 5-7 ปี เป็น 5- 10 ปี เพื่อลดผลกระทบให้กับเอสเอ็มอีจากไวรัสโควิด-19 จะได้มีเวลาปรับตัวและกลับมาฟื้นฟูกิจการได้ ที่สำคัญยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถจ้างงานได้ต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีได้ประมาณ 24,000 กิจการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ดธพว. กล่าวว่า ธพว.มีมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ มาตรการลด-พัก-ขยาย-ผ่อน-เพิ่ม ล่าสุดวันที่ 22 พ.ค.63 มีเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่มาตรการแล้ว 9,458 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 14,924 ล้านบาท แยกเป็น กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง 4,892 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,082 ล้านบาท และกลุ่มได้รับผลกระทบทางอ้อม 4,566 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,842.63 ล้านบาท

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/777645

รัฐบาลสปป.ลาวผ่อนปรนมาตรการ COVID-19 หลังไม่พบผู้ติดเชื้อ

รัฐบาลได้ยกเลิกข้อจำกัด ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้คนสามารถค่อยๆกลับไปสู่การใช้ชีวิตภายใต้การดำรงชีวิตสมัยใหม่ (New normal) หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวลดลงเรื่อยๆจนไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิต โดยรัฐบาลได้มีข้อกำหนดในการผ่อนปรนกิจกรรมต่างให้กลับมาไม่ว่าจะเป็น สถานศึกษาที่จะกลับมาเปิด รวมถึง ห้างสรรพสินค้า ตลาดและสนามกีฬาต่างๆ รวมถึงการเดินทางที่จะอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างจังหวัดก้นได้แต่ด่านพรหมแดนยังคงปิดอยู่  อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดแต่ทุกคนยังคงต้องปฎิบัติตามคำแนะนำภาครัฐและระมัดระวังต่อไป การลดมาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของสปป.ลาวหลังจากได้รับผลกระทบจนทำให้มีผู้ว่างเพิ่มขึ้นถึง 25% รวมถึงการค้าการลงทุนที่หยุดชะงักลง รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะกลับเติบโตได้ดีอีกครั้งหลังจากผ่านพ้นวิกฤตCOVID-19 และจากมาตรการฟื้นฟูและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_eases_103.php

ธนาคารโลกอนุมัติเงินช่วยเหลือ 15 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการศึกษาในกัมพูชา

คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 15 ล้านดอลลาร์ จากสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) สำหรับโครงการสร้างเสริมความรู้ทางการศึกษาก่อนการให้การบริการสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพของกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาก่อนการบริการด้านสุขภาพภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยกัมพูชาประสบปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยเฉพาะในภาครัฐ กัมพูชามีแพทย์เพียง 1.4 คน และพยาบาล 9.5 คน ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น คือแพทย์ 9 คน และพยาบาล 19 คน ต่อประชากร 10,000 คน ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยโครงการนี้จะสนับสนุนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยให้สาธารณสุขภายในประเทศดีขึ้น รวมถึงกฎระเบียบและมาตรฐานเพื่อการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728651/world-bank-approves-15-million-aid-for-cambodias-education-system-for-health-professionals/

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 105,925 ตัน หรือ 42.34% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่งออกไปยัง 54 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นในทุกจุดหมายปลายทางเมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็นสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 51.10%, จีนเพิ่มขึ้น 25.26%, ประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น 45.39% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 79.40% กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2563 เพียงเดือนเดียวส่งออกไปถึงประมาณ 55,845 ตัน เพิ่มขึ้น 53.30% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728658/cambodias-rice-exports-up-by-42-percent-in-first-five-months/

เมืองโฮจิมินห์เผยดัชนี CPI ปรับตัวลดลง 0.33% ในเดือนพ.ค.

สำนักงานสถิติประจำเมือง เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเมืองโฮจิมินห์ของเวียดนาม ในเดือนพ.ค. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน พ.ต. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ มีสินค้าและบริการ 11 รายการที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน กลุ่มขนส่งดิ่งลงอย่างหนักร้อยละ 2.29 รองลงมาอาหารและบริการจัดเลี้ยง (0.41) และกลุ่มที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า พลังงานและวัสดุก่อสร้าง (0.97) แต่สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและการศึกษายังไม่แสดงเห็นความผันผวนมากนัก ขณะที่กลุ่มอื่นๆปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI เฉลี่ยของเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.76 เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/petrol-prices-continue-to-rise-in-latest-adjustment/174029.vnp