สปป.ลาวเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้า 195MW ไปยังประเทศกัมพูชา

เมื่อวันที่ 7 มค. 63 กัมพูชาและสปป.ลาวได้ทำการทดสอบโรงงานไฟฟ้าที่เกิดจากความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ โดยจะมีการส่งพลังงานกระแสไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์ (MW จากเขื่อน Dan Sahong ในสปปลาวมายังโรงงานไฟฟ้าStung Treng ของกัมพูชา วิกเตอร์โจน่าผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานของกัมพูชากล่าวว่า “การนำเข้าอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อดำเนินการอย่างเป็นทางการจะนำเข้ากระแสไฟฟ้าได้ถึง 195MW ผ่านสายส่งขนาด 230kV ในจังหวัด Stung Treng และต่อไปยังกรุงพนมเปญ”ปัจจุบันกัมพูชานำเข้าพลังงานจากสปป.ลาวระหว่าง 50MW ถึง 70MW และในอีก 4 ปีข้างหน้าจะมีนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวอีก 500 เมกะวัตต์ ผ่านสายส่งเดิมที่แล้วเสร็จในปีนี้เป็นผลดีกับทั้ง 2 ประเทศทั้งในเรื่องพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงจะส่งเสริมให้ทั้งกัมพูชาและสปป.ลาวมีเศรษฐกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677525/laos-links-195mw-power-to-cambodia

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)กำลังขาดโอกาสทางการตลาดที่ดี

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)ของสปป.ลาวกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากปัญหาเดิมอย่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยาก นั้นคือการจัดแสดงในงานแสดงสินค้าเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอเพื่อยกระดับโปรไฟล์ของพวกเขาโดยกลุ่มเจ้าของบริษัทต่างๆ บอกกับเวียงจันทน์ไทมส์ว่า“ เราต้องจ่ายค่าเช่าบูธมากเกินไปในงานแสดงสินค้าต่างๆ หากเป็นไปได้รัฐบาลควรช่วย MSME ในการจัดเตรียมพื้นที่ว่างหรือให้เงินอุดหนุน 50%สำหรับการเช่าบูธในงานแสดงสินค้า” ทั้งนี้ปัจจุบันภาครัฐมีการส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าในประเทศเพื่อลดการนำเข้าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของ MSME ที่แต่กลับกัน MSME หลายๆธุรกิจไม่เป็นที่รู้จักและเข้าถึงลูกค้าได้ยากเพราะไม่มีโอกาสจัดแสดงในงานต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาในธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรมีการสนับสนุนในการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำธุรกิจเพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นทั้งการลงทุนในประเทศจากภาคครัวเรือนรวมถึงการบริโภคระดับครัวเรือนที่มากขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lack-marketing-opportunities-budget-add-msme-woes-111627

รัฐบาลอนุมัติร่างแผนแม่บทการขนส่งของกัมพูชา

รัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติร่างแผนแม่บทด้านการขนส่งและการเชื่อมต่อโลจิสติกส์ตามที่กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าว โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินพร้อมด้วยหัวหน้าสภาโลจิสติกส์แห่งชาติ (NLC) รวมถึงที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาลกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่ออนุมัติสำเนาร่าง ซึ่งมีการจัดทำแผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งชาติปี 2562-2566 และนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม 2558-2568 โดยแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์แห่งชาติจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งหวังว่าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสามารถช่วยกัมพูชาดึงดูดการลงทุนและสร้างงานให้กับประชาชนของประเทศ เช่นโครงการทางหลวงหมายเลข 1 ของอาเซียน เครือข่ายถนนที่เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษหลัก ซึ่งตอนนี้ร่างแผนแม่บทด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เสร็จสมบูรณ์และรัฐบาลได้อนุมัติแล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677668/government-approves-draft-of-intermodal-master-plan

มูลค่าการนำเข้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2562

มูลค่าของวัสดุก่อสร้างที่นำเข้ามาในกัมพูชาเพื่อภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในปี 2562 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2561 โดยตัวเลขจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา(NBC) แสดงให้เห็นว่ามูลค่ารวมของวัสดุก่อสร้างรวมถึงอุปกรณ์ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็กอยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 มูลค่าการนำเข้าวัสดุก่อสร้างในปี 2561 อยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งภาคการก่อสร้างเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 7.1% จากรายงานเศรษฐกิจมหภาคและการธนาคารของ NBC ในปี 2019 โดยโครงการก่อสร้างในกัมพูชามีจำนวนทั้งสิ้น 4,446 โครงการในปี 2562 เพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่การลงทุนมีมูลค่าถึง 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 78% ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้างกล่าวว่าภาคการก่อสร้างเติบโตได้เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งของประเทศ โดยการลงทุนส่วนใหญ่ในจังหวัดพระสีหนุมาจากนักลงทุนจีน ซึ่ง NBC กล่าวในมุมมองปี 2563 ว่าเศรษฐกิจของกัมพูชายังคงแสดงสัญญาณการเติบโตที่แข็งแกร่งในปี 2563 ที่ 7% จากการส่งออก การก่อสร้างและการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677526/building-material-import-value-increased-50-percent-in-2019

ไทยแลนด์พลัสวัน จับคู่ญี่ปุ่น รุกตลาดแรงงาน CLMV

“ไทยแลนด์พลัสวัน” จับคู่ญี่ปุ่นรุกตลาด CLMV หวังช่วยกระตุ้นภาคเอกชนในประเทศทั้งรายเก่ารายใหม่ และนักลงทุนต่างชาติที่อาจหนีผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งโตเกียวร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมจัดงาน The 4th Business Connecting 2019 ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น” เพื่อจับคู่ทางธุรกิจและตอกย้ำความร่วมมือของ 2 ประเทศ รวมไปถึงช่วยกระตุ้นภาคเอกชนในประเทศทั้งรายเก่าและรายใหม่และนักลงทุนต่างชาติที่อาจหนีผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว กำหนดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจในกลุ่มภูมิภาค CLMV ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855088

ราคาทองคำเวียดนาม พุ่งสูงขึ้นสูงที่สุดในรอบ 6 ปี

ในวันที่ 6 มกราคม 2563 ราคาทองคำเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นผลจากสถานการณ์ตึงเครียดทางทหารระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัท DOJI เป็นผู้ผลิตเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ราคาทองคำแตะที่ระดับ 44.44 ล้านด่อง (1,924 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง (1.2 ออนซ์) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับวันศุกร์ โดยนับว่าเป็นครั้งแรกที่ราคาทองคำเวียดนามปรับตัวแตะระดับที่ 1,922 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ราคาทองคำทั่วโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 1,579 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.8 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมาจากสถานการณ์ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งให้มีการสังหารนายพลอิหร่าน รวมไปถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-gold-price-hits-6year-high-408485.vov

Hoa Phat Group มียอดขายพุ่งสูงขึ้น 16.8%

บริษัท Hoa Phat Group เป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้เปิดเผยว่าในปี 2562 บริษัทมีการจัดเก็บเหล็กก่อสร้างคุณภาพสูงมากกว่า 2.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งจากจำนวนทั้งหมดนั้น มีการส่งออกเหล็กก่อสร้างไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น คิดเป็นปริมาณราว 265,000 ตัน ทั้งนี้ ทางบริษัทได้ตั้งเป้าปริมาณการผลิตเหล็กก่อสร้างในปี 2563 อยู่ที่ 3.5-3.6 ล้านตัน โดยจะปรับปรุงการบริการโลจิสติกส์และส่งเสริมโปรแกรมทางการตลาด ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเป็นที่นิยมในเขตตะวันออกเฉียงใต้และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นอกจากนี้ ธุรกิจได้ก่อสร้างทางเรือ Hoa Phat Dung Quat ซึ่งจะช่วยให้อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hoa-phat-construction-steel-sales-post-168-percent-hike-408474.vov

อุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ยังสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวในปี 63

คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวกล่าวว่ารัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานและเหมืองแร่เนื่องจากยังเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวในปัจจุบันและในอนาคต ดร.ภูเพชรรองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจกล่าวว่าภาคพลังงานและเหมืองแร่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับสปป.ลาวในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน โดยสปป.ลาวมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากถึง 73 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 9,531MW และสร้างรายได้มากกว่า 5 หมื่นล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในปี 62 มีการส่งออกมากถึง 6,000 เมกะวัตต์และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมอีก 12 แห่งดังนั้นรัฐบาลควรมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายส่งเสริมการขายต่อไปเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศควบคู่ไปกับการตรวจสอบความปลอดภัยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดร.ภูเพชรยังกล่าวเพิ่มเติมว่าบรรยากาศที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจจะดีขึ้นในปีนี้หากเศรษฐกิจมหภาคมีการจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการลงทุน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/energy-and-mines-remain-key-boosters-lao-economy-2020-economist-111531

การลงทุนรถไฟลาว จีนถึง 6.8 พันล้านหยวนในปี 2562

เมื่อวันที่ 6 มค. 63 มีการจัดการประชุมประจำปีของ บริษัท รถไฟสปป.ลาว – ​​จีน (LCRC) โดยในที่ประชุมประธานบริษัทนายจูกัวเจียงกล่าวว่ามีการลงทุนในการก่อสร้างทางรถไฟสายสปป.ลาว – ​​จีนถึง 6.8 พันล้านหยวนในปี 62 หรือคิดเป็น 50% ของการลงทุนทั้งหมดในโครงสร้างพื้นฐาน โดยขณะนี้ได้ดำเนินก่อสร้างมาแล้ว 86% ของโครงการ ประกอบด้วยอุโมงค์จำนวน 75 อุโมงค์ สะพานยาวกว่า 36 กม. ทางรถไฟที่ถือเป็น โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวกับจีนถือป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศที่ดีต่อกันและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road ของจีน โครงการดังกล่าวจีนมีการใช้เงินทุนถึง 416.83 พันล้านดอลลาร์โดยรัฐบาลสปป.ลาวให้กู้ 249.98 พันล้านกีบ โดยทุกโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีนี้ นอกจากนี้ในปี63 บริษัทยังตั้งเป้าบรรลุการลงทุนทุกด้านอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-china-railway-investment-reaches-68-billion-yuan-2019-111532

ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งเปิดใหม่หรือมีชื่อว่า IWF Investment Cambodia ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Tin Yuet (TY) ของสิงคโปร์ โดยบริษัทในสิงคโปร์และ Asia Union Reits จะให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์แก่นักลงทุนต่างชาติในกัมพูชา ซึ่งมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างพิธีเปิดการลงทุนอย่างเป็นทางการของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ IWF Investment โดยกล่าวเสริมว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังเติบโตควบคู่ไปกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งให้โอกาสมากมายแก่นักลงทุน ซึ่งจะร่วมเป็นพันธมิตรกับ TY Capital นำนักลงทุนต่างชาติที่สนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มายังกัมพูชา โดย TY Capital จะให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนต่างชาติและจะแนะนำนักลงทุนให้กับ IWF Investment สำหรับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งหวังว่าการเป็นพันธมิตรกับ TY Capital จะนำนักลงทุนมาที่กัมพูชามากขึ้นและยังนำความรู้ด้านเทคนิคมาสู่กัมพูชาอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677277/real-estate-firms-cement-a-powerful-partnership