‘เวียดนาม’ ส่งออก ม.ค. พุ่ง 42%

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค.67 การส่งออกมีมูลค่า 33.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.65 การนำเข้ามีมูลค่า 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้า 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากนั้น เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นกว่า 97% และ 38% ตามลำดับ

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการนำเข้าราว 9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ตลาดส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ จีน สหภาพยุโรปและอาเซียน มีสัดส่วนการส่งออกที่เติบโตเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ กระทรวงฯ คาดว่าสถานการณ์การส่งออกจะเผชิญกับอุปสรรค เนื่องจากได้รับภาระต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นและความตึงเครียดทางการเมืองโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650421/viet-nam-s-exports-surge-42-in-january.html

เมียนมามีรายได้ 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.3 ล้านตันใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาจัดส่งถั่วพัลส์มูลค่ากว่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณกว่า 1.3 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกทางทะเล 1 พันล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วปริมาณกว่า 1.18 ล้านตัน และส่งออกผ่านทางชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 139,132 ตัน มูลค่า 119.73 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 รวมมูลค่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 1,319,203.97 ตัน อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยถั่วดำและถั่วลันเตาจัดส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ถั่วสีเขียวส่งออกไปยังจีนและยุโรป อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตาจำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 สนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมามีสิทธิที่จะส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควตาประจำปีนั้น ทั้งนี้ราคาตลาดทั่วไปของถั่วดำอยู่ที่ 3.3 ล้านจ๊าดต่อตัน (urad), ถั่วลันเตา 4.027 ล้านจ๊าดต่อตัน (tur) และถั่วเขียว 2.04 ล้านจ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us1-123-bln-from-over-1-3m-tonnes-of-pulse-exports-in-ten-months/

ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกให้สำหรับโชว์รูมรถยนต์

คณะกรรมการกำกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องระดับชาติประกาศว่า โชว์รูมรถยนต์จะได้รับการอนุมัติให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อพบว่าเป็นไปตามกฎและข้อบังคับที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ได้อนุญาตให้บริษัท 83 แห่งดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัท 2 แห่งที่ดำเนินการสถานีชาร์จและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ติดตั้ง และลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้จัดการประชุมร่วมกับบริษัทนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในเดือนเมษายนและมิถุนายน และได้แจ้งแล้วไม่ให้กำไรเกินร้อยละ 20 จากราคา CIF หากบริษัทต่างๆ ละเมิดนโยบายเหล่านั้น พวกเขาจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการส่งออกและนำเข้า และถูกดำเนินการทางกฎหมายภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมายังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่ายานพาหนะไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะ ได้รับการส่งเสริมเป็นสาขาสำคัญ นอกจากนี้ ในระหว่างขั้นตอนการก่อตั้งและหารือสำหรับการจัดตั้งบริษัทและการดำเนินงาน ธุรกิจเหล่านั้นสามารถขอใบอนุญาตจาก MIC เพื่อรับการผ่อนผันภาษีหรือสถานะภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ และการยกเว้นภาษีอื่น ๆ ที่เรียกเก็บในประเทศภายใต้มาตรา 77 (A) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา และ การยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้มาตรา 75 (C) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา สำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อะไหล่ และวัตถุดิบในการก่อสร้างที่ไม่สามารถหาได้ในตลาดภายในประเทศ รวมทั้งตามที่กระทรวงการวางแผนและการเงินระบุว่า การยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า (EV) และส่วนประกอบต่างๆ ได้รับการขยายออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ev-import-licence-to-be-granted-for-car-showrooms/#article-title

ศรีลังกา-สปป.ลาว ย้ำเส้นทางความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ศาสนา และเทคโนโลยี

Damith Aluge ในฐานะผู้แทนของรัฐบาลศรีลังกาในประเทศลาว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความร่วมมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ในขณะที่ศรีลังกาและลาวทำงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ตลอด 16 ปี ในการสร้างความสามัคคีและความก้าวหน้าได้มอบความหวังสำหรับอนาคตที่สดใสด้วยการเสริมสร้างวัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีร่วมกัน ผลงานที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่ Damith Aluge ทำระหว่างดำรงตำแหน่ง คือ การช่วยเหลือชาวศรีลังกาที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแก้ว เขาเปิดเผยว่าการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จนั้นเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างรัฐบาลลาวและศรีลังกา รวมถึงองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานแห่งสหประชาชาติ (IOM) ที่ช่วยเหลือชาวศรีลังกากว่า 70 คน ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างราบรื่น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/09/sri-lanka-in-laos-16-years-of-building-bridges-in-tourism-religion-and-tech/

รถไฟลาว-จีน จำนวนผู้โดยสารและสินค้าเติบโตต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2567

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของการรถไฟจีน-ลาว ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร 27.87 ล้านคน และสินค้า 32.56 ล้านตัน นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 สะท้อนให้เห็นถึงแรงผลักดันที่แข็งแกร่งในด้านการค้าและธุรกิจระหว่างจีนและลาว จนถึงต้นปี 2567 รถไฟสายนี้ได้ขนส่งสินค้าไปแล้ว 2.01 ล้านตัน โดยเป็นสินค้าข้ามพรมแดน 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 29.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน การขนส่งสินค้าทางรถไฟกับประเทศในกลุ่มอาเซียนมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกรถไฟสายนี้ ปัจจุบันเส้นทางรถไฟลาว-จีนเส้นทางในการนำเข้าผลไม้เมืองร้อนจากไทยและ สปป.ลาว เพื่อนำไปจำหน่ายในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน นอกจากนี้ ผัก ผลไม้ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องใช้ในบ้านของจีน ยังถูกส่งไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางทางรถไฟอีกด้วย

ที่มา : https://www.globaltimes.cn/page/202402/1306924.shtml

ADB พร้อมสนับสนุนการผลักดันโครงข่ายไฟฟ้าในระดับภูมิภาคของกัมพูชา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สนับสนุนการผลักดันของกัมพูชาในการจัดตั้งโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (APG) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ในการยกระดับความมั่นคงด้านพลังงานสีเขียวของภูมิภาค โดยหัวข้อนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายระหว่างทีมงานของ ADB นำโดยผู้อำนวยการบริหาร Rachel Thompson หลังเข้าพบ Keo Rattanak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ซึ่งทางการคาดว่าโครงการ APG จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา โดยจำเป็นต้องลดพลังงานที่ได้จากถ่านหินและเพิ่มแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ามาทดแทน ขณะที่ความคิดริเริ่มของโครงการ APG ถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในแผนแม่บทความเชื่อมโยงของอาเซียน ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกการเชื่อมต่อโครงข่ายพลังงานในระดับภูมิภาค ภายใต้เงื่อนไขทวิภาคีข้ามพรมแดน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายไปสู่ระดับอนุภูมิภาค นำมาสู่การรวมกลุ่มบูรณาการในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียนเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งการเชื่อมต่อโครงข่ายในระดับทวิภาคีหลายแห่งได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น การเชื่อมโยงโครงข่ายของสิงคโปร์กับมาเลเซีย และการเชื่อมโยงไทยกับมาเลเซีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501436267/cambodias-regional-power-grid-bid-gets-adb-support/

CDC ยอมรับข้อเสนอ UK ในการจัดตั้ง Green SEZ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เห็นชอบต่อคำขอจากเอกอัครราชทูตอังกฤษให้จัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษสีเขียว (Green SEZ)” และพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนยังกัมพูชา โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะโดยคณะผู้แทนซึ่งนำโดย Dominic Williams เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกัมพูชา เข้าพบ Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานลำดับที่ 1 ของ CDC เพื่อปรับปรุงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ภายใต้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยเน้นไปที่การให้ลำดับความสำคัญ คือการปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 5, การก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-บาเว, การตรวจสอบบนทางด่วนพนมเปญ-เสียมราฐ-ปอยเปต รวมถึงการปรับปรุงทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ (PPSV) และโครงการฟูนันเตโช ซึ่งจะเป็นโครงการประวัติศาสตร์ของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501436295/cdc-consents-to-uk-proposal-for-establishing-green-sez/

EXIM BANK ร่วมกับหอการค้ากัมพูชาส่งเสริมการค้าการลงทุน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และหอการค้ากัมพูชา (CCC) โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และเนก โอคนา คิท เม้ง ประธานหอการค้ากัมพูชา เป็นผู้ลงนาม โดยทั้งสองหน่วยงานจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการพัฒนาอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าสูงกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา นอกเหนือจากจีน สหรัฐฯ และเวียดนาม การส่งออกของไทยไปกัมพูชาในปี 2566 มีมูลค่า 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้าของไทยจากกัมพูชามีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่กัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs เป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ธุรกิจของไทยที่ดำเนินการในกัมพูชาครอบคลุมหลายภาคส่วน

ที่มา : https://www.thebetter.co.th/news/business/13414