EIC CLMV Outlook Q4/2020

เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนปี 2020 แม้กัมพูชาและลาวสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนามกลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนามกลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง โดยระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวแบบช้า ๆ และไม่ทั่วถึงของเศรษฐกิจโลก อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และประสิทธิภาพของมาตรการรองรับ รวมทั้งปัจจัยเฉพาะในรายประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวได้ดีด้วยแรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้า EBA บางส่วนจะยิ่งซ้ำเติมการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศในกัมพูชา ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจลาวยังเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดในการทำนโยบายการคลัง (fiscal space) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นในประเด็นการผิดชำระหนี้ สำหรับเมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข้มงวดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ในปีงบประมาณ 2020/2021

  • กัมพูชา  อุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังอ่อนแอจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชา
  • สปป.ลาว ข้อจำกัดในด้านการทำนโยบายการคลังและความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นความท้าทายหลัก
  • เมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข็มงวดขึ้นจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเมียนมา
  • เวียดนาม แม้เผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังขยายตัวได้ดี จากการควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็วและการส่งออกที่แข็งแกร่ง

ที่มา : SCB EIC

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7175

ปีงบฯ 63-64 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมาคาดส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 63-64 แม้จะหยุดชะงักจาก COVID-19  ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ 62-63 ถึง 17% ที่ส่งออกได้ 853 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงสุดในรอบ 20 ปีในเวลานั้น เมียนมาคาดว่าจะมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งแต่ซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าประมงในปี 61  ผลิตภัณฑ์ทางทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังไทย จีน และยุโรป เมื่อเดือนที่แล้วท่าเรือของซาอุดีอาระเบียได้ยึดเรือประมงเมียนมาจำนวน 30 ตู้ มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้เนื่องจากความสับสนในเรื่องศุลกากรและข้อกำหนดของนโยบาย ทั้งนี้กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานของเมียนมาจะสนับสนุนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในท้องถิ่นและชาวประมงที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเพื่อเลี่ยงการหยุดชะงัก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-us1b-marine-exports-fiscal-2020-21.html

RCEP กระตุ้นภาคการผลิตของเมียนมา

งานวิจัยของ Oxford Business Group ชี้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีส่วนผลักดันการผลิตของเมียนมาโดยกลุ่มการค้าจาก 15 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อขยายฐานการผลิต สภาหอการค้าอังกฤษในเมียนมาเผยผู้ผลิตในท้องถิ่นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องเข้าร่วมในตลาดอาเซียนกำลังใช้ประโยชน์จากโอกาสในเมียนมา เพราะเศรษฐกิจเมียนมาร์ยังมีความใหม่มีพื้นฐานทางการเกษตรและการผลิตโดยรวมอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีฐานต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตและรัฐบาลที่เปิดกว้าง รัฐบาลใหม่ของนางอองซานซูจี ตอนนี้ถึงเวลาสร้างและเสริมสร้างขีดความสามารถของกระทรวงต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน RCEP อย่างมีประสิทธิผลแ 5 ปีที่ผ่านมาธุรกิจจากต่างประเทศมีการลงทุนลงทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจการผลิต 711 แห่ง ส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลงทุน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 50 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากรายงานของคณะกรรมการด้านการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) การลงทุนภาคการผลิตมีมูลค่ามากที่สุดในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ด้วยมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์  โดย RCEP ได้ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งมีประเทศร่วมลงนาม ได้แก่ 10 ประเทศจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ RCEP มีประชากรคิดเป็น 30% ของประชากรโลก และขนาดของเศรษฐกิจจะเท่ากับ 28% ของ GDP โลก โดยกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วม ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-asean-led-trade-deal-boost-myanmar-manufacturing-sector.html

การค้าเมียนมาหดตัว เซ่นพิษ COVID-19

5 สัปดาห์แรกของปีงบประมาณ 63-64 มูลค่าการค้าของเมียนมาลดลงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดยในปีนี้มีมูลค่าการค้ามากกว่า 2.53 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับ 3.99 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่กระทรวงพาณิชย์ได้เพิ่มเป้าหมายในปีงบประมาณปัจจุบันขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีการส่งออก 16.2 พันล้านเดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดซึ่งประกอบด้วยการส่งออกที่ลดลง 70% ในปีนี้ การส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็ลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับแผนในการกระตุ้นการค้าในปีนี้ โดยกำลังวางแผนเพิ่มการผลิตพืช เช่น ข้าวและข้าวโพดในการส่งออกเพื่อชดเชยสำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งออกลดลง ส่วนการนำเข้าก็ลดลงเช่นกันเนื่องจากความต้องการภายในประเทศลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-soften-back-covid-19.html

เมียนมามีแผนปรับปรุงการภาคบริการเพื่อรับมือ COVID-19

กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวพยายามปรับปรุงบริการในภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานการฟื้นฟูยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของเมียนมาที่ได้จัดทำขึ้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดของโควิด -19 ทั้งนี้ธุรกิจต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19 เพื่อกลับมาเปิดการดำเนินการใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการกล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการฟื้นตัว คาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากยกเลิกข้อจำกัด โดยเริ่มจากการท่องเที่ยวในประเทศก่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวกล่าวว่ากระทรวงจำเป็นต้องร่วมมือกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-hotel-ministry-plans-improve-services.html

เมียนมาเริ่มส่งออกอะโวคาโดไปอังกฤษ

จากประกาศของสถานทูตเมียนมาในกรุงลอนดอน เมียนมาเริ่มส่งออกอาโวคาโดจำนวนครึ่งตันไปยังอังกฤษ ได้แก่สายพันธ์ Amara (พันธุ์ท้องถิ่น) Hass และ Buccaneer โดยสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผักและผลไม้แห่งเมียนมา (MFVP) ได้เชื่อมโยงธุรกิจกับหอการค้าอังกฤษโดยในการส่งออกตัวอย่างสินค้าไป ทั้งยังได้รับความสนใจจากทั้งสิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน โดย 85% ของอาโวคาโดถูกส่งออกไปยังไทยเนื่องจากการค้าชายแดนหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 62 จึงไม่มีการส่งออกไปยังจีน ซึ่งราคาต่อตันในตลาดอังกฤษอยู่ที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดไทย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-avocado-exported-britain-london-embassy.html

UMFCCI คาดปีงบฯ นี้ จีน รั้งประเทศลงทุนอันดับต้นๆ ในเมียนมา

จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา(UMFCCI) ปีงบประมาณ 63-64 นักลงทุนจากจีนจะเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) จีนลงทุนกว่า 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 375 ธุรกิจในเมียนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60  นอกจากจีนแล้วประเทศที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะเร่งการลงทุนโครงการปัจจุบันของจีนบางส่วนในประเทศหลังจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเพิ่มการลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในปี 63-64 เมียนมาตั้งเป้าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไว้ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64-65 โดยมีเป้าหมายในปีนี้เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การประมง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-forecast-be-top-myanmar-investor-fiscal-year-umfcci.html