“จุรินทร์” ผนึกเอกชนรุกส่งออกดันบวกได้ 1-2%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกของไทยในปีนี้ ยังคงติดลบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปทั่วโลกเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอ ตัวหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยเศรษฐกิจถดถอย กระทบต่อกำลังซื้อในต่างประเทศส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกติดลบ หลายประเทศก็เป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งไทยถือว่าติดลบไม่มาก แต่ทั้งปีกระทรวงพาณิชย์ ได้ประเมินร่วมกับภาคเอกชน มีโอกาสทำให้ตัวเลขเป็นบวกอย่างน้อย ร้อยละ 1-2 ได้ ประเด็นสำคัญคือการเตรียมบุกตลาดที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดอาเซียน ตะวันออกกลาง เอเชียใต้และจีน เมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศและมีกำลังซื้อดีขึ้น ไทยจะทำตัวเลขได้เพิ่มขึ้น การส่งออกยังมีโอกาสฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ โดยยังคงทำงานเต็มที่ร่วมกับภาคเอกชน ผลักดันอีก 350 กิจกรรม กระจายไปทั่วโลก หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจะมีส่วนช่วย และค่าเงินบาทอาจจะมีส่วนสำคัญ ถ้าค่าเงินบาทอ่อนลงจะช่วยทำให้ตัวเลขส่งออกการแข่งขันได้ดีขึ้น แต่ต้องมองเศรษฐกิจโดยรวมด้วยว่าเป็นอย่างไร ส่วนเรื่องราคาสินค้าในประเทศหลายรายการปรับลดลงต่อเนื่อง เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปรับลดลงมา ร้อยละ 50 และราคาปุ๋ยโดยเฉลี่ยลดลงประมาณ ร้อยละ 30 ผลจากราคาแก๊ส ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลง ซึ่งปุ๋ยเคมีต้องนำเข้า 100% ส่วนราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ปรับลดลงอยู่ในระดับไม่เกินราคาโครงสร้างที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับต้นทุน

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_560066/

‘ผู้ส่งออกทุเรียนไทย’ เผชิญกับภัยคุกคามจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ในตลาดจีน

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดว่าเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนไทย จำเป็นต้องรักษาคุณภาพของผลไม้ให้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากเผชิญกับภัยคุกคามจากคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เวียดนามและฟิลิปปินส์ในตลาดจีน ในขณะที่จากรายงานของสำนักส่งเสริมการค้า ณ นครหนานหนิง ระบุว่าราคาขายส่งทุเรียนในตลาดจีนปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือน พ.ค. สาเหตุสำคัญมาจากผลผลิตผลไม้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากผู้ค้าส่งจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ราคาทุเรียนหมอนทองของไทยในเดือน พ.ค. ลดลงเหลือราว 36-48 หยวน หรือประมาณ 177-266 บาทต่อกิโลกรัม ขณะเดียวกันราคาทุเรียนหมอนทองจากเวียดนาม อยู่ที่ประมาณ 32-41 หยวนต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยราคาทุเรียนพันธุ์ปูยัตจากฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 37-45 หยวนต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1541981/viet-nam-will-continue-to-be-prime-destination-for-fdi-vinacapital.html

EIU ชี้ ‘เวียดนาม’ พิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

จากการจัดอันดับประจำปีของ Economist Intelligence Unit (EIU) ระบุว่าอันดับของเวียดนามเลื่อนขึ้น 12 อันดับจากการจัดอันดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ วัดโดยใช้ตัวชี้วัด 91 ตัวชี้วัดที่สำคัญ รายงานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของประเทศเวียดนาม ไทยและอินเดียที่เป็นประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งนี้ ประเทศไทยเลื่อนขึ้น 10 อันดับ และอินเดียเลื่อนขึ้น 6 อันดับ ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับต้นๆ ของการจัดอันดับในครั้งนี้ นอกจากนี้ หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่ามีจำนวน 750 โครงการใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุน เป็นมูลค่ากว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 65.2% และ 11.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-shows-significant-improvement-in-business-environment-eiu/253531.vnp

‘เวียดนาม’ เป็น 1 ใน 6 ตลาดท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของไทย

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มาจากประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย จีน อินเดียและเวียดนาม เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้น จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในปีนี้ ทั้งนี้ จากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าประเทศไทยถึง 5.3 ล้านคนในปีนี้ ตามมาด้วยชาวซาอุดีอาระเบีย 150,000 คน และชาวยุโรป 6 ล้านคน นอกจากนี้ นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองว่าการททท. กล่าวในงาน “Amazing Thailand Festival 2023” ที่จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ว่าเวียดนามเป็น 1 ใน 6 ตลาดท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แสดงให้เห็นจากข้อมูลพบว่าไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.47 ล้านคน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 84,221 คน และหากพิจารณาข้อมูลสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้ ประเทศไทยทำรายได้จากการท่องเที่ยว อยู่ที่ราว 391 พันล้านบาท (11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-among-six-largest-thai-tourism-markets-2146203.html

“เวียดนาม-ไทย” แสวงหาความร่วมมือในทุกมิติ

นายฟาน จี๊ ทัญ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย พบปะหารือกับนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 19 พ.ค. เกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการลงทุน การค้า เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วัฒนกรรมและการแลกเปลี่ยนบุคลากร ระหว่างส่วนท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ ผู้ว่าฯ ได้ต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้แทนเวียดนามในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของประธานโฮจิมินห์ ครบรอบ 133 ปี พร้อมเสริมว่าอนุสรณ์สถานที่อุทิศให้กับผู้นำเวียดนามผู้ล่วงลับและหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนามในจังหวัดนครพนม อีกทั้ง เอกอัครราชทูตเวียดนามได้เน้นย้ำถึงผลความสำเร็จของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในภาคส่วนต่างๆ และยังกล่าวว่าจังหวัดนครพนมมีข้อได้เปรียบอย่างมากในด้านการร่ววมือกับท้องถิ่นเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-thai-localities-seek-multifaceted-cooperation/253399.vnp

พาณิชย์ เดินหน้าทำเอฟทีเอใหม่สร้างโอกาสทางการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ขณะนี้ไทยกำลังเดินหน้าเร่งเจรจาเอฟทีเอทั้งที่ทำใหม่และที่ยังค้างอยู่ ประกอบ  1.เอฟทีเอระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หรือ การเจรจาจัดทำ CEPA โดยจะมีการนัดประชุมครั้งที่ 1  ระหว่างวันที่ 16 – 18 โดยตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 2.เอฟทีไทยกับสหภาพยุโรปหรืออียู โดยจะมีการประชุมรอบแรกในเดือน ก.ย. 2566 คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี จบได้ในปี 2568 3.เอฟทีเอไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) 4.เอฟทีเอไทย -ศรีลังกา  ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันมีการเจรจาไปแล้ว 4 รอบ  และได้นัดเจรจารอบที่ 5 ในเดือน มิ.ย. นี้ ตั้งเป้าสรุปผลต้นปี 67 และ 5.เอฟทีเออาเซียน – แคนาดา โดยเริ่มเจรจารอบแรกเมื่อปี 2565  ล่าสุดเจรจารอบ 3 เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้เตรียมจัดประชุมอีก 2 รอบ ตั้งเป้าสรุปผลเจรจา ปี 2567

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1069312

ช่วยฟื้นส่งออกขึ้นจากหลุม สศช.แนะรัฐบาลใหม่เร่งเจรจาการค้าเสรี

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากในปี 2565 โดย สศช.คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.7% ปรับตัวลดลงจากปีก่อนที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ 3.4% จากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการค้าในประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกที่คงเผชิญกับแรงกดดันที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหลายข้อไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และแรงกดดันทางด้านปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่แน่นอนส่งผลต่อปริมาณการส่งออกและการค้าโลก ด้าน สศช.คาดว่าปริมาณการค้าโลกในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 2.1% ลดลงจากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 5.1% ซึ่งจะส่งผลต่อภาคการส่งออกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยคาดว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะหดตัวประมาณ 1% เมื่อคิดจากมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่การส่งออกขยายตัวได้ 4.2% โดยในช่วงที่เหลือของปี 2566 รัฐบาลควรให้ความสำคัญ การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้า การเร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังเติบโตได้ในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และอาเซียน การแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนเพื่อเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อให้สามารถส่งออกนำเข้าสินค้าได้ง่ายขึ้น

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/feature/2694876

กรมพัฒน์ฯ ดัน ‘คาร์บอนเครดิต’ เป็นหลักประกันทางธุรกิจ

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนานาประเทศให้ความสำคัญต่อการสร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อชดเชยระบบนิเวศน์ที่ถูกทำลายไป ‘คาร์บอนเครดิต’ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและลดปัญหาโลกร้อน มีมูลค่าที่สามารถนำออกขายให้ภาคธุรกิจหรือหน่วยงานที่มีกระบวนการทำงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าเป้าหมายที่ควบคุม โดยสามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้ในตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทย ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญเรื่องคาร์บอนเครดิตมากขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับกระแสการลดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกต้องเผชิญกับสถานการณ์ภาวะโลกร้อน และเป็นหนทางที่จะนำพาธุรกิจสู่ความยั่งยืน ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาคเอกชน ผลักดันให้ ‘คาร์บอนเครดิต’ เป็นหลักประกันทางธุรกิจ โดยทุกหน่วยงานต่างเห็นพ้องให้การสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว แต่ควรดำเนินการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนประกอบการพิจารณาออกเป็นกฎหมายเพื่อรองรับต่อไป

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/375275/

World Bank จัดไทยอันดับ 34 ความสามารถโลจิสติกส์โลก พบอันดับต่ำสุดด้านตรงต่อเวลา

สำนักข่าวอิศรา รายงานข่าวเกี่ยวกับการจัดอันดับในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยว่าธนาคารโลกหรือว่า World Bank ได้มีการจัดอันทำดัชนีขีดความสามารถในด้านโลจิสติกส์ใน 139 ประเทศทั่วโลกประจำปี 2566 พบว่าประเทศไทยได้อันดับที่ 34 โดยมีคะแนนทั้งสิ้น 3.5 คะแนน

โดยในส่วนของรายละเอียดคะแนนนั้น พบว่าไทยได้อันดับในส่วนของศุลกากรอยู่ที่อันดับ 31 อันดับด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 25 อันดับด้านการขนส่งไปยังต่างประเทศอยู่ที่ 22 อันดับด้านการแข่งขันโลจิสติกส์อยู่ที่ 38 อันดับเกี่ยวกับการติดตามสินค้าอยู่ที่ 34 และอันดับด้านความตรงต่อเวลาอยู่ที่ 46

ทั้งนี้มีประเทศอื่นๆที่มีอันดับ 34 เทียบเท่าประเทศไทยได้แก่ประเทศบาห์เรน ประเทศลัตเวีย และประเทศการ์ตา

ส่วนอันดับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนนั้น พบว่ามีสิงคโปร์ที่ได้อันดับหนึ่งของโลกได้ 4.3 คะแนน ตามมาด้วยประเทศมาเลเซียได้อันดับที่ 26 ได้ 3.6 คะแนน ประเทศเวียดนามกับประเทศฟิลิปปินส์ได้อันดับที่ 43 ได้ 3.3 คะแนน ประเทศอินโดนีเซียได้อันดับที่ 61 ได้  3 คะแนน ประเทศลาวและกัมพูชาได้อันดับที่ 115 ได้ 2.4 คะแนน

ที่มา : https://www.isranews.org/article/isranews-news/118222-isranews-logisticcccc.html

จับตาส่งออกข้าวไทย-เวียดนาม ระอุ ยอดส่งออกไตรมาสแรกเบียดสูสี

ปี 2565 ไทยส่งออกข้าวรั้งอันดับ 2 ของโลก โดยส่งออกได้  7.69 ล้านตัน เบียดเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญที่ครองอันดับ 2  ของโลกติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี โดยเวียดนามส่งออกได้ 6.31 ล้านตัน แม้ว่าในปี 2565 เวียดนามจะถูกไทยเบียดแซงหล่นมาเป็นอันดับ 3 แต่เวียดนามก็ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวในอันดับต้นของโลกอยู่ จากความได้เปรียบในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่ตรงต่อความต้องการของตลาด และราคาข้าวของเวียดนาม ไม่มีความผันผวนเกินไป ราคาข้าวยังคงที่ ทำให้สามารถทำตลาดค้าข้าวกับลูกค้าได้ง่าย โดยในปี 2566 เวียดนามตั้งเป้าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 16% ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2566 ไทยและเวียดนามส่งออกข้าวในปริมาณใกล้เคียงกัน ในส่วนของไทยส่งออกข้าว 2,063,927 ตัน เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวได้ 1.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 19% จากแรงหนุนจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป – เวียดนาม (EVFTA) ทำส่งออกไปอียูเพิ่มขึ้นจากราคาข้าวได้เปรียบคู่แข่ง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1064275