‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการลงทุนในต่างประเทศ พุ่ง 74%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการลงทุนของเวียดนามในต่างประเทศ 575 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 74.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจำนวนมูลค่า 150.1 ล้านเหรียญสหรัฐเทเข้าไปยังโครงการใหม่ 40 โครงการ คิดเป็น 68.7% ของตัวเลขช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่เงินทุนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นมูลค่า 424.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 270.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนไปยังโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็นสัดส่วน 47.1% ของยอดเงินทุนในต่างประเทศ รองลงมาการค้าปลีกค้าส่ง 150.9 ล้านเหรียญสหรัฐ, เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นจุดหมายปลางทางของเงินลงทุน ด้วยมูลค่า 302.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 52.7% ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมากัมพูชา สปป.ลาว และแคนาดา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-overseas-investment-soars-74-percent-in-eight-months/207147.vnp

‘บริษัทเวียดนาม’ ชี้ยังใช้ประโยชย์จากตลาดอาเซียนไม่เต็มที่

แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ว่ายอดการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามและประเทศในอาเซียน ยังคงเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องดำเนินการอีกมากเพื่อดึงประโยชน์จากตลาดเพื่อนบ้านให้เต็มที่ การค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศอาเซียนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แม้จะได้รับผลกระทบของโควิด-19 แต่ตัวเลขการค้ายังคงเพิ่มขึ้น 38.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยมูลค่า 40.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ประชากรรวมกันเกือบ 700 ล้านคน ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีความล้ายคลึงกันทั้งด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ดังนั้นเวียดนามยังมีพื้นที่มากพอที่จะส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศในอาเซียนยังเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่อีกด้วย อีกทั้งสินค้าเวียดนามอื่นๆ อีกจำนวนมากที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ได้แก่ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชา เสื้อผ้าและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1020310/vietnamese-firms-yet-to-fully-take-advantage-of-asean-markets-experts.html

‘เวียดนาม’ กลายเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของห่วงโซ่อุปทานสหรัฐฯ

จากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่าซีอีโอ 90 คน จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เร่งบริจาควัคซีนให้กับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามเผชิญกับการระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งจดหมายที่ส่งถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซีอีโอของบริษัทต่างๆ ได้แก่ Adidas, Coach, Gap, Hanesbrands, Nike, VF และ Under Amour ได้เน้นย้ำว่าเวียดนามเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและซัพพลายเชนที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์การเดินทางรายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่สำหรับวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตรองเท้าของสหรัฐฯ และแรงงานสหรัฐฯกว่า 3 ล้านคนเชื่อมโยวผ่านห่วงโซ่คุณค่ากับคนเวียดนามอีกหลายล้านคน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-an-important-link-of-us-supply-chain/206996.vnp

ข้อมูลเวียดนาม (รายวัน) 27.08.64

อัตราอ้างอิงค่าเงินดองของธนาคารธนาคารกลางเวียดนาม  (27 ส.ค.64) อยู่ที่ระดับ 23,142 ดอง/ดอลลาร์

‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เวียดนามปี 64 เหลือโต 4.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของเวียดนามในปี 64 ลงเหลือ 4.8% เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 “เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนการเปิดตัวใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมาตรกาช่รวยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ” ทั้งนี้ ในเดือนธ.ค. ธนาคารคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ 6.8% แต่ปัจจุบัน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 365,000 ราย ตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. ทำให้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่ในเดือนก.ค. ยอดค้าปลีกลดลง 19.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ, ดุลการค้าขาดดุลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนต่างชาติได้แสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/world-bank-cuts-vietnam-gdp-growth-projection-to-4-8-pct-4345936.html

‘Fitch Ratings’ ชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง ชั่งน้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.ค.-สิ.ค. จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม และอาจปรับลดอันความน่าเชื่อถือเวียดนามอยู่ระดับ BB และปรับ Outlook เป็น Positive ทั้งนี้ ทางการเวียดนามประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำก่อนที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ด้วยเศรษฐกิจขยายตัว 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19ในเวียดนาม ปัจจุบันมากกว่า 95% ของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศต้องล็อกดาวน์ ด้วยเหตุนี้ ข้อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคงดำเนินการต่อไปหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/jump-in-covid-19-cases-to-weigh-on-vietnams-economic-recovery-says-fitch-ratings-885400.vov

EIC CLMV Outlook Q3/2021

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในภูมิภาคตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2021 สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV แม้ว่าการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูงอาจจะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบได้บางส่วน

ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ การระบาดของ COVID-19 ใน CLMV ตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงและสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปสงค์ในประเทศที่เปราะบางอยู่เดิมก่อนแล้ว โดยการควบคุมการระบาดระลอกปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามที่สามารถควบคุมการระบาดในรอบก่อนหน้าได้ดี แต่ในครั้งนี้ การระบาดของเวียดนามกลับอยู่ในระดับสูง ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องประกาศมาตรการ lockdown เข้มงวด เช่นเดียวกับเมียนมาที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง แต่บุคลากรทางการแพทย์กลับไม่เพียงพอจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในกัมพูชาและสปป.ลาว ก็มีสูงกว่ารอบก่อนหน้า แต่ยังมีจำนวนต่ำกว่าอีกสองประเทศข้างต้น

สำหรับอุปสงค์ภายนอก ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจ CLMV ยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 โดยได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว การส่งออกจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของภูมิภาค โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจากการระบาดของ COVID-19 ในวงกว้างที่อาจทำให้มีการปิดโรงงานเพิ่มขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญ และอาจกลายเป็นปัจจัยฉุดภาคการส่งออกได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2021 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV ในระยะต่อไป ได้แก่

1) มาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมถึงความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาได้

2) ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งภาคการคลังและการเงินที่จะช่วยลดผลกระทบต่อการครัวเรือนและภาคธุรกิจ

3) ปัจจัยความเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความไม่สงบทางการเมืองของเมียนมา และความสามารถในการชำระหนี้สาธารณะของสปป. ลาว

กัมพูชา

+ภาคการส่งออกฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งและความสำเร็จในการกระจายการส่งออกไปยังหลายสินค้ามากขึ้น (export diversification)

+มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังและการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการได้ย่างรวดเร็วและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

มาตรการ lockdown ที่เพิ่มความเข็มงวดขึ้นเพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าจะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังซบเซาจะเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ

สปป.ลาว

+การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่และการเปิดตัวใช้รถไฟจีน-สปป.ลาว ในเดือนธันวาคม

+การส่งออกที่ขยายตัวสูงจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น

การยกระดับมาตรการ lockdown และการปิดพรมแดนอย่างเข็มงวดจะกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ

เสถียรภาพการคลังที่น่ากังวล จากภาระหนี้สาธารณะในรูปเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินกีบอ่อนค่า และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ

เมียนมา

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทำให้เมียนมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขมีจำกัด

การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืน โดยมวลชนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ

การหยุดชะงักของระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะพื้นฐาน ได้แก่ การขนส่ง ระบบอินเทอร์เน็ต และการให้บริการของธนาคาร

ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง

เวียดนาม

+ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

+ FDI ที่ลงทุนในเวียดนามยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า และจำนวนแรงงานที่มีมาก รวมถึงฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ในประเทศ

เวียดนามเผชิญความยากลำบากในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 รอบที่ 4 ตั้งแต่เดือนเมษายน และส่งผลรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

ความเสี่ยงการหยุดชะงักของอุปทานเนื่องจากปิดโรงงานที่ขยายระยะเวลาออกไปยังประเด็นที่ต้องจับตามอง

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7761