เศรษฐกิจชายแดนสตูล-มาเลเซียคึกคัก รับเดือนรอมฎอน เงินสะพัดสองสัปดาห์ 10 ล้านบาท

เศรษฐกิจชายแดนต้อนรับเดือนรอมฎอน ที่จังหวัดสตูลคึกคักมีรายได้สะพัดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 10 ล้านบาท นักท่องเที่ยวไทยมุสลิมแห่จับจ่ายเพื่อเข้าสู่เดือนถือศีลอด และที่ตลาดชายแดนวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งติดต่อกับบ้านวังเกลียน ประเทศมาเลเซีย มีการจับจ่ายก่อนเข้าสู่เดือนรอมฎอนคึกคักมีชาวไทยมาเลเซียและนักท่องเที่ยวไทยมุสลิมเข้าจับจ่ายซื้อสิ่งของจำเป็นใช้สำหรับเดือนถือศีลอด โดยเฉพาะอินทผาลัม น้ำมัน น้ำตาล ผลไม้อบแห้ง ของใช้ในครัวเรือน สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดชายแดนกันคึกคัก ทั้งนี้ นายกฤดิพรรธน์ สิงห์อุบลปิติกุล ด่านศุลกากรวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เปิดเผยว่าตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวไทยและมาเลเซียมาจับจ่ายกันคึกคักเพื่อเตรียมข้าวของ อาหารแห้งไว้สำหรับการละศีลอด และเพื่อท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายที่ตลาดชายแดนแห่งนี้กันคึกคึก รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จากพ่อค้าแม่ค้าที่มาวางขายกว่า 50 ร้านสร้างเม็ดเงินสะพัดสูงถึง 10 ล้านบาท และเชื่อว่าในช่วงเทศกาลฮารีรายา บรรยากาศลักษณะนี้จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/433026

CDC ให้การสนับสนุนภาคธุรกิจมาเลเซียในกัมพูชา

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) พร้อมที่จะให้บริการและสนับสนุนแก่นักลงทุนชาวมาเลเซียในกัมพูชา เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมายังกัมพูชามากขึ้น ด้าน Sok Chenda Sophea เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา กล่าวในการประชุม ‘การเจรจาระดับสูงอาเซียน-อิตาลีว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ’ ครั้งที่ 6 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยเลขาธิการ CDC กล่าวว่า ปัจจุบันกัมพูชาได้ออกกฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักลงทุนและเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนมากขึ้น ในการเข้ามาลงทุนยังกัมพูชา ด้าน Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายนกัมพูชาจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติจากมาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ได้มากขึ้น อันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้า อาทิเช่น EBA, GSP, FTA กัมพูชา-จีน และ RCEP ที่ถือเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติสนใจ โดยในช่วง มกราคม-พฤษภาคม ปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและมาเลเซียอยู่ที่ 244 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิต ซึ่งคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 44 ล้านดอลลาร์ ไปยังมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501108010/cdc-offers-support-for-malaysian-businesses-in-cambodia/

“เวียดนาม-มาเลเซีย” จับมือส่งเสริมเศรษฐกิจการป่าไม้

เวียดนามและมาเลเซีย ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOC) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการค้าไม้ของทั้งสองประเทศ โดยผู้มีลงนาม ได้แก่ สมาคมผู้ส่งออกไม้มาเลเซีย (TEAM), สภาเฟอร์นิเจอร์มาเลเซีย (MFC), สมาคมไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้เวียดนาม (VIFOREST), สมาคมเฟอร์นิเจอร์จังหวัดด่งนาย (BIFA), สมาคมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมไม้จังหวัดด่งนาย (DOWA) และสมาคมอุตสาหกรรมไม้แห่งนครโฮจิมินห์ (HAWA) ทั้งนี้ นาย Muhtar Suhaili ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Malaysian Timber Council (MTC) กล่าวว่ามาเลเซียมุ่งที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้อย่างยั่งยืนและได้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเวียดนามที่ไหลเข้าไปยังอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และการเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่อย่างสหภาพยุโรปผ่านข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ การบันทึกความร่วมมือดังกล่าว สอดคล้องกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนในการลดช่องว่างการพัฒนาของกลุ่มประเทศและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-malaysia-partner-in-promoting-timber-trade/231349.vnp

นักลงทุนมาเลเซียเข้าลงทุนในกัมพูชามูลค่ารวมกว่า 3.2 พันล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้รายงานถึงการจดทะเบียนโครงการลงทุนของมาเลเซียรวมจำนวน 162 โครงการ มูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2022 โดย CDC ได้กล่าวรายงานในการประชุมระหว่างรองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนกัมพูชาของ CDC และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำกัมพูชา ซึ่งผู้แทนมาเลเซียแสดงความสนใจที่จะลงทุนเพิ่มเติมในด้านการศึกษา อสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่ และพลังงานในระหว่างการประชุม

โดยปัจจุบันกัมพูชามีข้อตกลงพิเศษทางการค้า ได้แก่ FTA กับจีน เกาหลีใต้ ไปจนถึง RCEP และ GSP ของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และ EBA ของสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้นจากผลประโยชน์ทางการค้าต่างๆ อย่างเช่นมาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติกลุ่มสำคัญของกัมพูชาในภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า และโรงงานแปรรูป ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชา-มาเลเซียเกินกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501048791/3-2-billion-worth-malaysia-investment-projects-registered-in-cambodia/

ชี้ช่องใช้ประโยชน์ RCEP ส่งออกตลาด เกาหลี-มาเลเซีย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เร่งรัดให้หน่วgdยงานภาครัฐดำเนินการกระบวนการภายในในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP กับเกาหลีใต้และมาเลเซียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ สำหรับเกาหลีใต้จะยกเว้นภาษีสินค้าให้ไทย 90.7% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยยกเว้นภาษีทันที 7,843 รายการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 และเปิดตลาดเพิ่มเติม 413 รายการ  ส่วนมาเลเซียจะยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าให้ไทย 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยวันที่ 18 มีนาคม 2565 จะยกเว้นภาษีทันที 6,590 รายการ

ที่มา:  https://www.naewna.com/business/632118

‘ADB’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจเวียดนามและมาเลเซียในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงมาสู่ระดับ 7.0% ในปีนี้ และ 5.3% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.1% และ 5.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ตามรายงาน “Asian Development Outlook” ระบุว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และระดับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไวรัสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” เสี่ยงคุกคามเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.0% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.8% ก่อนที่จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปีนี้ และ 5.9% ในปีหน้า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/ADB-slashes-Malaysia-and-Vietnam-annual-growth-forecasts

เอกอัครราชทูตมาเลเซีย หนุนข้อตกลงด้านภาษี กระตุ้นการลงทุน

เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำกัมพูชา กล่าวถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการเก็บภาษีซ้อน (DTA) ระหว่างมาเลเซียและกัมพูชาที่จะมาแก้ไขปัญหาเกี่ยวการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนระหว่างกันในช่วงปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีการลงทุนในกัมพูชามากขึ้น และชาวกัมพูชาจะเข้าถึงสินค้าและบริการของมาเลเซียมากขึ้น รวมถึงทำให้สภาพแวดล้อมทางภาษีของมาเลเซียและกัมพูชาชัดเจนเกี่ยวกับรายได้ทุกรูปแบบที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดระหว่างทั้งสองประเทศ โดยนักธุรกิจและนักลงทุนชาวมาเลเซียที่มองหาโอกาสในการลงทุนในกัมพูชาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนี้ ในทำนองเดียวกัน นักธุรกิจชาวกัมพูชาที่ใช้มาเลเซียเป็นแหล่งสินค้าก็จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนี้เช่นกัน ซึ่งมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและมาเลเซีย ในปัจจุบันลดลงกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีที่แล้ว มาเลเซียถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ในกัมพูชา รองจากจีนและเกาหลีใต้ ที่มูลค่าการลงทุนรวม 3.53 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50961054/malaysia-ambassador-tax-deal-will-bolster-investment/

ประทานสภาธุรกิจมาเลเซียวางแผนส่งเสริมการค้าและการลงทุนในกัมพูชา

ประธานสภาธุรกิจมาเลเซียประจำกัมพูชา (MBCC) วางแผนเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจอื่นๆ อย่างแข็งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมทางสังคมในกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบัน MBCC มีสมาชิกประมาณ 70 ถึง 80 ราย ที่เป็นนักธุรกิจชาวมาเลเซียซึ่งดำเนินธุรกิจในกัมพูชา โดยวางแผนที่จะดึงดูดนักธุรกิจชาวมาเลเซียมายังกัมพูชามากขึ้น ซึ่งโดยเฉพาะนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น การธนาคาร สถาบันการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม การผลิต บริการ การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และร้านค้าปลีก เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50887084/mbccs-new-president-foresees-more-malaysian-businesses-in-cambodia/

ปริมาณการส่งออกสินค้าจากมาเลเซียมายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 42

การนำเข้าของกัมพูชาจากมาเลเซียลดลงในปี 2020 สู่ตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2016 ตามรายงานของกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (MITI) ของมาเลเซีย โดยการส่งออกของมาเลเซียในปี 2020 มายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 368.5 ล้านดอลลาร์ จากผลกระทบของการระบาดในปัจจุบัน ก่อให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่โดยตรงต่อซัพพลายเชนทั่วโลก โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการผลิตอย่างรุนแรง ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่ของกัมพูชาจากมาเลเซีย ได้แก่เชื้อเพลิงจากแร่ จำพวกถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ มูลค่ารวมมากกว่า 207 ล้านดอลลาร์ ในปี 2019 และจากตัวเลขของ MITI การส่งออกปิโตรเลียมในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 22 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50810440/malaysian-exports-to-cambodia-down-42-percent/

ก๊าซ LNG จากมาเลเซีย ถูกลำเลียงไปยังโรงไฟฟ้าย่างกุ้ง

จากรายงานของกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 63 เมียนมานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นครั้งที่ 2 จากมาเลเซีย จำนวนทั้งหมด 126,000 ลูกบาศก์เมตรถูกส่งไปยัง CNTIC VPower ที่ท่าเรือติวาลาในย่างกุ้งและจะถูกถ่ายโอนไปยังโรงไฟฟ้าตั่นหลิน (Thanlyin) กำลังผลิต 350MW และโรงไฟฟ้าธาเกตา (Thaketa) กำลังผลิต 400MW โดยได้ลงนามในข้อตกลงกับ Petronas LNG Ltd ของมาเลเซียและ CNTIC VPower ของจีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพื่อซื้อ LNG เป็นระยะเวลา 5 ปี LNG จะถูกใช้ในโรงงานใหม่ 7 แห่งใน Magwe, Shwe Taung, Kyun Chaung, Ahlone, Kyauk Phyu, Thanlyin และ Thaketa เพื่อผลิตพลังงานรวม 1166MW สำหรับฤดูร้อนในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-takes-delivery-lng-yangon-power-plants.html