เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้พุ่ง 230% ไปยังไทย

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย. การส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามไปยังไทย มีมูลค่ามากกว่า 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าส่งออกรวมในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 79.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้อัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 230 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (23.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2562) ทั้งนี้ ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. มูลค่าส่งออกรวมของเวียดนามไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 2.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยรายการสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในขณะเดียวกัน สินค้าที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน ถึงแม้ว่ามูลค่าลดลงอย่างหนัก 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการค้าผักผลไม้ดิ่งลงราว 408 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “ปัจจุบันไทยเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ที่มา : https://customsnews.vn/exports-of-fruits-and-vegetables-to-thailand-surge-230-15268.html

กัมพูชาส่งออกกล้วยกว่า 1.4 แสนตัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

กัมพูชาส่งออกกล้วยสดกว่า 140,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจีนเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกกล้วยของกัมพูชา ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้มีรายได้ประมาณ 68 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกกล้วยสดไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัท 9 แห่ง ได้รับการรับรองให้มีสิทธิ์ส่งออกกล้วยไปยังตลาดจีนได้ โดยนอกจากจีนแล้วยังมีการส่งกล้วยสดไปยังสหภาพยุโรป เอเชียและโอเชียเนียอีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับการเติบโตของการส่งออกกล้วยให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกกล้วยสดจำนวน 150,000 ตัน ไปยังต่างประเทศมีรายได้รวมจากการส่งออกอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746833/cambodia-exports-140000-tons-of-banana-and-earns-68-million-in-first-half-of-the-year/

มะม่วงไทยดาวเด่น ส่งออกอาเซียนโต 143% หนุนใช้ FTA สร้างแต้มต่อ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) กว่า 5.7 ตัน มูลค่าถึง 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4%โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196% นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรมกล่าวเพิ่มเติมถึงจุดเด่นของมะม่วงไทย “ไทยเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มีคุณภาพ และรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการมะม่วงสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น” นอกจากนี้ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ช่วยส่งเสริมการค้าให้ขยายตัวโดยปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทย 15 ประเทศได้แก่ สมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย) จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 3 ประเทศ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าจากไทย ได้แก่ สปป.ลาว และกัมพูชา เก็บภาษีนำเข้า 5% และเกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้า 24%  

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=10473&index

เวียดนามเปิดตัวเลขเดือนม.ค.-มิ.ย. มียอดเกินดุลการค้า 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าพิษโควิด-19

ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ปี 2563 เวียดนามมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึง 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 122.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าที่ 117.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน คาดว่ามียอดส่งออก 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่า 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ยอดส่งออกเสื้อผ้าลดลงร้อยละ 13 สู่ระดับ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าที่ 15.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://vietreader.com/business/5246-vietnams-jan-june-trade-surplus-seen-expanding-to-546bln-despite-virus.html

พาณิชย์ เผย FTA ดันส่งออกมังคุดไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 16%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” พบว่าขยายตัว 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และมีมูลค่าส่งออกถึง 290 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ก็ตาม จีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 99% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยมีความตกลงเอฟทีเอ กับทั้ง 3 ประเทศปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทยมีทั้งหมด 14 ประเทศ ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ (อัตราภาษีนำเข้า 24%) กัมพูชา มาเลเซีย และลาว (อัตราภาษีนำเข้า 5%) จึงถือเป็นโอกาสทองของผลไม้ไทยที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ จะขยายการส่งออกผลไม้ต่างๆ ของไทยไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างเอกลักษณ์ด้วยการพัฒนาสร้างตราสินค้า เพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภค”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/25924

เวียดนามส่งออกผักผลไม้พุ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการระบาดของโรค COVID-19 ไปทั่วโลก

เวียดนามส่งออกผักและผลไม้เพิ่มขึ้นไปตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และไทย ถึงแม้ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบไปทั่วโลกก็ตาม มูลค่าการส่งออกของสินค้าดังกล่าวไปไทยที่ 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 233.4, เกาหลีใต้ 67.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (21.8%), สหรัฐฯ 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.1%), ญี่ปุ่น 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.5%) และเนเธอร์แลนด์ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9%) อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดจีนลดลงร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าลดลงที่ 1.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดส่งออกผักผลไม้ที่ 9061 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีส่วนผลักดันการส่งออกของเวียดนาช่วงครึ่งแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีอียู-เวียดนาม ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิ.ค. จะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษีและเรื่องเทคนิค เพื่อที่จะได้รับโอกาสที่ดีขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-export-picks-up-despite-covid19/178201.vnp

เวียดนามส่งออกไปยุโรปเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี “EVFTA”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าโควตาข้าวเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี อียู-เวียดนาม “EVFTA” จะช่วยผลักดันการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิ.ค. ยุโรปตกลงจะให้โควตาข้าวแก่เวียดนาม จำนวน 80,000 ตันต่อปีและเปิดเสรีการค้าข้าวหัก (Broken Rice) รวมถึงภายใน 3-5 ปี ภาษีนำเข้าข้าวจะเป็น 0% ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออกของ MoIT กล่าวว่าในปี 2562 การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยุโรปที่ 10.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุจากภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูงในตลาดนี้ โดยปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าอียูแก่เวียดนาม อยู่ที่ 175 ยูโรต่อตันข้าวสาร เป็นต้น “โควตาข้าวจำนวน 80,000 ตันให้กับเวียดนาม ตามข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว นับว่าเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ประกอบการชาวเวียดนาม เพื่อชูการส่งออกข้าวไปยังตลาดนี้” ในขณะเดียวกัน ยุโรปได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับโควตาดังกล่าว ได้แก่ ใบรับรองแหล่งกำเนิดข้าวของเวียดนาม จะต้องมีใบรับรองความถูกต้องที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐของเวียดนาม นอกจากนี้ ตามข้อมูลกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่ารายได้จากการส่งออกข้าวอยู่ที่ 1.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนราว 3.5 ล้านตัน ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และ 4.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตั้งแต่เดือนม.ค.จนถึงพ.ค. ด้วยมูลค่า 598.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 40 ของยอดส่งออกข้าวรวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/749265/viet-nam-to-increase-rice-exports-to-eu-under-evfta.html

ซูจีขอให้ผู้เลี้ยงปลาท้องถิ่นขยายตลาดส่งออก

นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐเรียกร้องให้พ่อค้าปลาและกุ้งในเมียนมาทำการส่งเสริมการประมงชนิดใหม่และขยายตลาดส่งออกในระหว่างการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีปลาหลายชนิดในเมียนมาแต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังไม่รู้ดังนั้นจำเป็นต้องมีการหาตลาดใหม่ นอกจากนี้การผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ปลากระป๋องจะช่วยให้อุตสาหกรรมสร้างรายได้ใหม่ ๆ และกระจายออกไปจากปลาและกุ้งสด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยปกป้องธุรกิจประมงและไม่ให้พึ่งพารายได้จากแหล่งเดียวมากเกินไป ปีงบประมาณ 2562-2563 อุตสาหกรรมการประมงและธุรกิจโลจิสติกสได้สร้างงานมาแล้วกว่า 3.5 ล้านคน ปริมาณการส่งออกถึง 782 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 100 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า การระบาดของ COVID-19 ให้อุตสาหกรรมตกต่ำลง การส่งออกชะลอตัวหลังจากคำสั่งซื้อถูกยกเลิก สหภาพยุโรปและประเทศตะวันตกอื่น ๆ มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 45% ในขณะที่จีนและไทยคิดเป็น 55% ในตอนนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.4 พันล้านจัต เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมและเทคโนโลยีสำหรับพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ COVID-19 ของรัฐบาล ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกแจกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2563 นี้ จากการวิจัยพบว่า 40% ของธุรกิจปศุสัตว์และประมง 4,900 แห่งได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/state-counsellor-urges-local-fish-breeders-expand-export-market.html

เมียนมาส่งออกไปบังคลาเทศผ่านชายแดนมังดอร์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนมิถุนายน 2563 เมียนมาส่งออกผ่านชายแดนผ่านชายแดนมังดอว์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศและส่วนใหญ่เป็นสินค้าอย่างพลาสติก ซึ่งการค้าชายแดนมังดอร์ หยุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและเปิดในเดือนมิถุนายน 2563 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-1-million-worth-products-exported-to-bangladesh-via-maungdaw-border-trade

ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html