ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

รายได้จากการส่งออกผลไม้ยังคงที่จากความต้องการกล้วยที่มีอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าแม้จะมีการระบาด COVID-19 เนื่องจากความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่นแตงโมและแตงกวา ในความเป็นจริงหากไม่มมีการระบาดของ COVID-19 เมียนมาอาจมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังชายแดนจีน ก่อนที่ COVID-19 จะระบาด แตงโมและแตงกวาเป็นเป็นผักและผลไม้หลักในการส่งออกเพราะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสองสามเดือนแรกของปีเมียนมาส่งออกกล้วยที่ปลูกในท้องถิ่นแถบชายแดนจำนวน 75,000 ตันที่มีรายรับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 70,000 ตันส่งออกทั้งปีที่แล้วจำนวน 290 ล้านดอลลาร์ รายรับจากการซื้อขายรวม ณ ชายแดนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-fruit-export-revenues-stable-due-strong-banana-demand.html

สปป.ลาว เล็งเห็นรายได้จากกาแฟเพิ่มมากขึ้น

จำนวนสวนกาแฟภายใต้ the Lao Coffee Association ได้ลดลงประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เนื่องจากผู้ปลูกเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังเพื่อรายได้ที่ดีขึ้น จากการที่ราคากาแฟสปป.ลาวลดลงและเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากแมลงศัตรูกาแฟ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนจากกาแฟไปปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น แต่มูลค่าของกาแฟส่งออกจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่แล้วสปป.ลาวส่งออกกาแฟเกือบ 12,000 ตันมูลค่าประมาณ 24.9 ล้านดอลลาร์ ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ตันมูลค่า 37 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของกาแฟ Arabica โดยเฉพาะเมล็ดแดง บริษัทในสปป.ลาวซื้อจากเกษตรกรราคาสูงสุดคือ 3,200 kip ($ 0.35) และราคาต่ำสุดคือ 2,800 kip ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในเวลาเดียวกันราคาสูงสุดและต่ำสุดของเมล็ดกาแฟขาวคือ 16,500 kip และ 15,000 kip  ในขณะที่ราคาของ Robusta อยู่ที่ 12,500 kip และ 11,000 kip เนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 ผู้ผลิตกาแฟลาวส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนคนงานและการสั่งซื้อผู้นำเข้าบางรายได้สั่งระงับและยกเลิกจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ กาแฟเป็นหนึ่งในรายได้สูงสุดของสินค้าเกษตรส่งออกจากสปป.ลาว คุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟสปป.ลาวปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชโดยใช้เทคนิคท้องถิ่นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-sees-more-revenue-coffee?

สหรัฐอเมริกามอบเงินเพิ่มเติมให้กับสปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง US Agency เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของ Covid-19 ในสปป.ลาว ดร. ปีเตอร์เฮย์มอนด์เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “การระดมทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกาเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นของเราภายใต้ความร่วมมือที่ครอบคลุมระหว่างสหรัฐฯ – ลาว ความช่วยเหลือด้วยการระดมทุนล่าสุดนี้ USAID จะให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการสปป.ลาวโดยช่วยให้พวกเขาวินิจฉัยและตรวจพบผู้ป่วย Covid-19 และช่วยในการเฝ้าระวัง Covid-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น” ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ USAID ได้จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์วงเงินกว่า 92 ล้านเหรียญสหรัฐนฯ การสนับสนุนของ USAID นอกจากจะควบคุมความเสี่ยงของ COVID-19 แล้วยังมีประโยชน์แต่การระบบสาธารณสุขในอนาคตของสปป.ลาวที่อาจเผชิญกับการระบาดเชื้อไวรัสอื่นๆ นอกเหนือจาก COVID-19 ได้

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US119.php

กัมพูชาวางแผนจัดการหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19

นักวิชาการและเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐกล่าวว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจของกัมพูชาในยุคหลัง COVID-19 กัมพูชาควรมุ่งเน้นไปที่ฐานการผลิต พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี โดยกระจายสาขาหลักเพื่อสนับสนุนภาคอื่นๆ จากการวิจัยพื้นฐานรวมถึงการปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรให้ทันสมัยต่อโลก ณ ปัจจุบัน ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้า การท่องเที่ยว การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเกษตร โดยในปัจจุบันการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้าและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ Covid-19 ผ่านการพูดคุยอภิปรายหัวข้อช่วงหลังโคโรนาไวรัส ซึ่งจัดทำโดยราชบัณฑิตยสถานแห่งกัมพูชา (RAC) เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเตรียมการศึกษาวิจัยและจะต้องให้ความสนใจกับฐานการผลิตภายในประเทศ โดยเศรษฐกิจกัมพูชาอาจหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ตามที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้กล่าวถึงในการวางแผนงบประมาณสำหรับปี 2564-2566 ขณะที่กัมพูชาได้กล่าวถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากคู่ค้า โดยเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจจะกลับมาอยู่ที่เติบโตร้อยละ 3.5 ในปี 2564 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์จากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736572/how-to-survive-post-covid-19/

รัฐบาลวางแผนจ่ายเงินกระตุ้นสำหรับครัวเรือน 5.4 ล้านคน

รัฐบาลจะอัดฉีดเงิน 20,000 จัตให้กับแต่ละครัวเรือน 5.4 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศเพื่อการกระตุ้นการใช้จ่ายเงินตอบที่ชะลอตัวทางจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะแล้วเสร็จในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แรงงานเมียนมาหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้ตกงานเมื่อโรงงานปิดเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและคำสั่งยกเลิกเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้เกษตรกรท้องถิ่นหลายแสนคนไม่สามารถส่งออกผลผลิตได้เนื่องจากการปิดพรมแดนและชะลอตัวในตลาดท้องถิ่น ก่อนหน้านี้รัฐบาลขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิตอลกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก โดยระบบการชำระเงินผ่านมือถือจะถูกลองใช้ครั้งแรกในเมือง Pobbathiri ใน Nay Pyi Taw เมือง Meikhtila ใน Mandalay และเมือง Kalaw ในรัฐฉาน ปัจจุบันมีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 287 ราย ผู้เสียชีวิต 6 ราย และรักษาหายแล้ว 196 ราย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-plans-stimulus-payments-54m-households.html

BOI ห่วงขาดแรงงาน อุตฯ ดิจิทัล-อิเล็กทรอนิกส์

บีโอไอห่วงอุตฯดิจิทัลขาดแคลนแรงงาน สวนทางคำขอลงทุนโตก้าวกระโดด รับผลนิว นอร์มอล-เวิร์คฟอร์มโฮม ขณะส.อ.ท.วอนกระทรวงการอุดมศึกษาทำหลักสูตรพัฒนา การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนไทยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวนมาก โดยคำขอส่งเสริมการลงทุนช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) พบว่า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาแรงเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 10,620 ล้านบาท ต่อเนื่องถึงเดือนเม.ย.-พ.ค.ก็ยังขยายตัว มูลค่าคำขอเพิ่มอีก 17,000 ล้านบาท รวม 5 เดือน(ม.ค.-พ.ค.) มูลค่าคำขอรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯยังขาดแคลนอย่างมาก ซึ่งปัญหาขาดแคลนแรงงานอุตสาหกรรมดิจิทัลนี้บีโอไอได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมตัวเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้แล้ว เพราะบีโอไอไม่มีอำนาจในการจัดการด้านแรงงาน แรงงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลต้องใช้ทักษะความสามารถ ขณะที่อุตสาหกรรมอาจสับเปลี่ยนการทำงานแทนกันได้ ดังนั้นขณะนี้จึงอยู่ระหว่างทำงานร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เพื่อทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในจัดทำหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากนี้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ การจูงใจให้นักศึกษาเข้าเรียนสาขาวิชาชีพนี้ก็เป็นเรื่องที่อว.ต้องประสานกับหน่วยงานด้านการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง​ รายงานข่าวแจ้งว่าความต้องการแรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ในช่วง 5 ปี (2562-66) จะอยู่ที่ 46,500 – 49,500 คน

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/886026?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ออสเตรเลียมอบเงินช่วยเหลือ 4.8 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลียฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19

รัฐบาลออสเตรเลียได้เพิ่มความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทวิภาคีไปยังสปป.ลาว จำนวน 4.8 ล้าสนดอลล่าร์ออสเตรเลียเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพจากการระบาดใหญ่ของโควิด -19ความช่วยเหลือนี้จะเสริมสร้างระบบสุขภาพเสริมสร้างรากฐานสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว  เอกอัครราชทูตฌอง – เบอร์นาร์ดคาร์ราสโกกล่าวว่า “ ออสเตรเลียมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือสปป.ลาว ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตามมีความท้าทายที่สำคัญในการเอาชนะรวมถึงการทำให้แน่ใจว่ากลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” นอกจากนี้ออสเตรเลียยังสนับสนุนเงินมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อขยายความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของสปป.ลาวในช่วงหลังCOVID -19

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_increases_118.php

ค่าแรงขั้นต่ำเมียนมาเริ่มบังคับใช้พฤศจิกายนนี้

ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน จากรายงานในวันที่ 18 มิถุนายนของสมาชิกของคณะกรรมการระดับชาติ สมาพันธ์สหภาพแรงงานในเมียนมาและสหพันธ์แรงงานอาคารและไม้แห่งเมียนมากล่าวว่าภูมิภาคและรัฐส่วนใหญ่ในประเทศได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 กำหนดให้มีการทบทวนค่าจ้างพื้นฐานทุก ๆ สองปี การปรับปรุงล่าสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 4,800 จัต ซึ่งการกำหนดค่าจ้างใหม่ควรจะตั้งถูกกำหนดในเดือนพฤษภาคม แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการคัดค้านภายใน 60 วัน อัตรานั้นจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-myanmar-daily-minimum-wage-likely-november.html

การส่งออกสินค้าเกษตรช่วงการระบาดของโควิด-19

มาตรการระงับการส่งออกข้าวในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ของไทยและหลายประเทศ เพื่อป้องกันวิกฤติขาดแคลนข้าวนั้นเป็นมาตรการที่จำเป็นจริงหรือ เมื่อปริมาณข้าวยังเพียงพอต่อการบริโภคภายใน และการระงับการส่งออกข้าวก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในอีกหลายประเทศได้ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออกข้าวที่เป็นอาหารหลักของประชากรเกือบครึ่งโลก ทาง FAO ก็กังวลว่าผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจเกิดวิกฤติขาดแคลนข้าว และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นและจะมีผลกระทบต่อประชากรที่ยากจนที่พึ่งข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากอาจมีประเทศส่งออกข้าวบางประเทศห้ามหรือจำกัดการส่งออกข้าวเพื่อสำรองไว้บริโภคในประเทศซึ่งปรากฏว่าเมื่อเดือน มี.ค.2563 เวียดนามได้ประกาศระงับการส่งออกข้าว เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารภายในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาก็มีแผนการระงับการส่งออกข้าวไว้เพื่อความมั่นคงด้านอาหารในประเทศเช่นกัน ต่อมาในเดือน เม.ย.2563 เวียดนามได้ประกาศส่งออกข้าวตามปกติ ส่วนกัมพูชาก็มิได้มีการระงับการส่งออกข้าวตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้ข้อวิตกการขาดแคลนข้าวลดลง

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885541?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic