สรรพสามิต เร่งรื้อภาษีรถยนต์ ฟื้นกองทุนแบตฯ

สรรพสามิต เตรียมฟื้นกองทุนแบตฯ พร้องเร่งทบทวนโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ หวังดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ดันไทยเป็นศูนย์กลางฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เผย เตรียมรื้อการจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ ขึ้นมาใหม่ แนวคิดในการจัดตั้งกองทุนเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว โดยจะมีการทบทวนแนวทางให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ล่าสุดได้มีการหารือกับผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของประเทศ พบกว่า การผลิตแบตเตอรี่มีความก้าวหน้าไปจากเดิมมากๆ เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพียงปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์บางชนิด ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบตเตอรี่ในบ้านได้ หรือเปลี่ยนแค่แผงเซลไฟฟ้าบางชิ้น ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางในการจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ต้องสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมการลงทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีใหม่  เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ประเทศไทย เพื่อดันไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/469660

เริ่มแล้ว ‘ม33เรารักกัน’ เปิดลงทะเบียนรับ 4,000 บาท ตั้งแต่วันนี้–7 มี.ค. 2564

วันที่ 21 ก.พ. 2564 กระทรวงแรงงาน ได้เปิดลงทะเบียนโครงการ ‘ม33เรารักกัน’ รับเงินเยียวยา 4,000 บาท เป็นวันแรก สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ ตั้งแต่วันนี้ -7 มี.ค.64  โดยผู้ได้รับสิทธิ์สามารถตอบสอบคุณสมบัติ ลายละเอียด และลงทะเบียนได้ในเว็บไซต์ https://www.xn--33-nqia4jubqa0kcg0o.com/ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ประกันตน ม.33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

ที่มา: https://workpointtoday.com/m-33-we-love/

การค้าชายแดนปี’ 64 มีลุ้นเติบโต 4.3% จับตาการค้าข้ามแดนไปประเทศที่ 3

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในปีที่ผ่านมาเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องประสบเป็นปีแรกไม่เพียงทำให้กำลังซื้อของคู่ค้าชะลอตัว ยังทำให้พรมแดนระหว่างประเทศจำเป็นต้องจำกัดจุดผ่านแดนเหลือเพียงเฉพาะช่องทางที่สำคัญเท่านั้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจปล่อยรถขนส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้กดดันการส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในภาพรวมให้หดตัวร้อยละ 2.16 มีมูลค่า 766,314 ล้านบาท ในปี 2563

สำหรับปี 2564 เป็นอีกปีที่โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เข้ามาช่วยเสริมให้ตัวเลขการค้าชายแดนพลิกฟื้นกลับมา ขณะที่โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยที่พึ่งพาตลาดประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยเกินกว่าครึ่ง (เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย) กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ฉุดการส่งออกชายแดนในภาพรวมลดลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2564 การส่งออกชายแดนไปตลาดเหล่านี้จะยังมีทิศทางเติบโตเชื่องช้าต่อไปขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 มีมูลค่าการส่งออก 454,005 ล้านบาท ดังนี้

  • การส่งออกชายแดนของไทยเริ่มมีปัญหามีมูลค่าการค้าลดลงเรื่อยมา ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อและจำนวนประชากรของคู่ค้า จึงทำให้ทิศทางการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้เติบโตได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา
  • โครงสร้างการส่งออกสินค้าแบบเดิมของไทยตอบโจทย์ตลาดคู่ค้าได้น้อยลง

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างการส่งออกของไทยไม่เอื้อต่อการส่งออกไปยังตลาดชายแดนหลักของไทยดังเช่นในอดีต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดดาวรุ่งที่จะมาสนับสนุนการค้าชายแดนของไทยอยู่ที่การส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 (สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ) ซึ่งเริ่มมีสัญญาณเติบโตมาระยะหนึ่ง โดยสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกชายแดนและผ่านแดน (จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 37 ในปี 2561) อีกทั้งสินค้าไทยที่ไปตลาดนี้มีศักยภาพโดดเด่นจึงน่าจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่นๆ โดยคาดว่าปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 8.5 มีมูลค่าส่งออกราว 345,191 ล้านบาท

โดยสรุป ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้ผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 มาได้อีกปีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการบริโภคสินค้าจากไทย รวมถึงสินค้าในกลุ่ม IT มีสัญญาณเร่งตัวตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่องยิ่งผลักดันการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ให้มีบทบาทสำคัญ ด้วยแรงขับเคลื่อนดังกล่าว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2564 จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 มีมูลค่าการส่งออก 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการเติบโตที่ร้อยละ 3.3-5.5 มีมูลค่าการส่งออก 791,602-808,461 ล้านบาท) โดยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดีเพียงใด การส่งออกไปตลาดส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวยกเว้นบางประเทศที่หดตัวจากปัจจัยเฉพาะ อาทิ เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองในประเทศฉุดเศรษฐกิจ และโรคระบาดในสุกรที่กัมพูชาทำให้ฐานปีก่อนสูงผิดปกติอย่างมาก

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ต้องยอมรับว่าโครงสร้างการผลิตและส่งออกของไทยในปัจจุบันไม่เอื้อให้ค้าชายแดนไทยเติบโตได้อย่างมั่งคงนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่มน้อยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ขนาดตลาดมีจำกัดจึงไม่สามารถผลักดันค้าชายแดนให้เร่งตัวได้มาก ทำได้เพียงแค่ประคองการเติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าเป็นหลัก ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทยอย่างยางพารากับผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นในตัวเองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนค้าชายแดนไทยไปยังประเทศจีนและเวียดนามได้อย่างต่อเนื่องและยังคงมีช่องทางอันสดใส แต่สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงในกลุ่มยานยนต์ เทคโนโลยีโดยเฉพาะสินค้า IT ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการค้าชายแดนของไทยนับจากนี้ไป แต่สินค้าเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงส่งให้แก่ไทยได้อีกนานแค่ไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติว่าจะเลือกลงทุนในไทยหรือย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่อื่น ดังนั้น การกระตุ้นการค้าชายแดนซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าในภาพรวมของไทยก็คงต้องเริ่มจาการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตของไทยให้ยกระดับไปอีกขั้น จนสินค้าไทยเกิดความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของคู่ค้าเหนือคู่แข่งชาติอื่นๆ

ที่มา :

/1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Border-Trade-z3191.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-frontier-19022021

ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

ไทย-จีน จับมือพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลไม้ไทย ดันส่งออกปี 64 เพิ่ม ตั้งเป้าทะลุ 7 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.64 นายอลงกรณ์ พลบุตร  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ภายใต้นโยบายทำงานเชิงรุกยุคโควิดเพื่อขยายการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลกของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ จะจัดการประชุมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพผลไม้เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มขึ้นในการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยจะมีการประชุมร่วมกันกับผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ และอัครราชฑูตที่ปรึกษาด้านพาณิชย์ของจีนรวมทั้งหอการค้าไทย-จีนและผู้แทนภาคเอกชนของ 2 ฝ่าย ในเดือนมีนาคมที่จะถึง สำหรับประเด็นการหารือจะครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพผลไม้ไทย ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ จากฟาร์มถึงผู้บริโภค การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การขนส่งโลจิสติกส์ การส่งเสริมการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การพัฒนาการอำนวยความสะดวก บริเวณด่านส่งออก 4 ด่านได้แก่ ด่านโมฮ่าน ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงชิงและด่านผิงเสียง รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทั้งนี้ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานผูกพันเสมือนพี่น้องกันและได้พัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับการนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างหอการค้าไทย-จีน และ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923074

เวียดนามเผย ม.ค. นำเข้ารถยนต์ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในเดือนมกราคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นราว 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 8,343 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 212.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย จำนวน 4,341 คัน (84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1,437 คัน (19.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทที่ผลิตในต่างประเทศ จำนวน 100,000 คัน ด้วยมูลค่ารวม 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.5% ในแง่ของปริมาณ และ 25.6% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นตลาดนำเข้ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จำนวน 52,647 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-spends-over-us-212-million-importing-cars-in-january-28233.html

เศรษฐกิจไทย 63 ติดลบ 6.1% หดตัวสูงสุดในรอบสองทศวรรษ

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2563 หดตัวติดลบ 4.2% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้ทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัวติดลบ 6.1% ซึ่งเป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่ยังดีกว่าที่ ธปท. ประเมินไว้ทั้งในรายงานนโยบายการเงินเดือน ธ.ค. 2563 และในการประชุม กนง. ในเดือน ก.พ.2564 ที่ผ่านมา โดยองค์ประกอบที่ดีกว่าคาดมาจากการสะสมสินค้าคงคลังที่เร่งขึ้นมากตามผลผลิตเกษตรและเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยเนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นตามเศรษฐกิจคู่ค้าและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้แต่ยังต่ำกว่าระดับศักยภาพ โดยในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในช่วงต้นปี แต่คาดว่าผลกระทบโดยรวมจะน้อยกว่าการแพร่ระบาดในระลอกแรก เนื่องจากมาตรการเข้มงวดน้อยกว่าและบังคับใช้เฉพาะพื้นที่ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการซ้ำเติมบางภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่ากลุ่มอื่น ทำให้การฟื้นตัวมีความแตกต่าง ผลกระทบต่อบางกลุ่มธุรกิจและแรงงานจึงควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนอีกมาก ทั้งการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดังนั้น โดยรวมเศรษฐกิจไทยจึงยังต้องการมาตรการที่ตรงจุด เพียงพอ และต่อเนื่องเพื่อประคับประคองการฟื้นตัว ทั้งนี้ ธปท. จะมีการประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจและเผยแพร่อีกครั้งในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมี.ค.2564

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/825641

สุริยะ หนุนสตาร์ทอัพขับเครื่องเศรษฐกิจไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่สร้างธุรกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการสร้าง มูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฐานรากภานในประเทศต่อไป เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม ให้สามารถขยายฐานกิจการทั้งในและ ต่างประเทศได้  ส่วนกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายไทย จำนวน 25 กิจการ โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งมีนวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจที่สามารถทำซ้ำ และขยายตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ มีความต้องการเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนร่วมทุน หรือบริษัทร่วมลงทุน  โดยจะมุ่งเน้นในสาขาเป้าหมายเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep technology) ที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์, นาโนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีชีวภาพ, IoT, การจัดการพลังงาน, บล็อกเชน, AR & VR (ความจริงเสมือนและ VR เสมือนจริง)และ Big Data เป็นต้น “สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 70% จะมียอดขายเพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น และเติบโตได้จากการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นพร้อมก้าวสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และยังช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ”

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922135

เวียดนามเผยกระทรวงฯ โต้ทุ่มตลาด จ่อเก็บภาษีน้ำตาลจากไทย

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MoIT) อนุมัติเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดน้ำตาลของไทยในอัตรา 33.88% อัตราภาษีดังกล่าวจะได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เป็นธรรม การตัดสินใจเรียกเก็บภาษีเกิดขึ้นหลังจากกระทรวงฯ เปิดการสอบสวนในเดือนกันยายน 2563 เพื่อพิจารณา หากว่าน้ำตาลที่นำเข้าจากไทยนั้น ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งต่อมาพบว่าธุรกิจไทยส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามราว 1.3 ล้านตัน พุ่ง 330.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของเวียดนาม ทำให้โรงงานแปรรูปน้ำตาลจำนวนมากต้องปิดกิจการชั่วคราวและปลดพนักงาน โดยทางกระทรวงฯ ระบุว่ามีคนตกงานมากถึง 3,300 คน และเกษตรกรกว่า 93,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว ดังนั้น ทางกระทรวงฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำการตรวจสอบข้อมูลและหารือ คาดว่าผลการสอบสวนจะสิ้นสุดในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-imposes-antidumping-tax-on-sugar-from-thailand/196207.vnp

แบงก์ยักษ์ใหญ่ไทย จ่อเปิดสาขาแรกในเวียดนาม

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เดินหน้าเปิดสาขาที่นครโฮจิมินห์ในไตรมาสที่ ทยาแรกในเวียดนาม3 ของปีนี้ นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าในปัจจุบัน เวียดนามถูกจับตามองในฐานะศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค ทำให้เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากบริษัทชั้นนำระดับโลก รวมไปถึงธุรกิจจากประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งสาขาใหม่ของธนาคารกสิกรไทยนั้น ได้รับการอนุมัติภายในเดือนมกราคมและจะให้บริการลูกค้าในท้องถิ่น รวมถึงธุรกิจไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม โดยตั้งเป้าปล่อยกู้ 10 ล้านบาท (333.11 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในช่วงปีแรกของการดำเนินงาน ในขณะที่ ยังมีการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เผยว่าประเทศไทยเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับที่ 7 ที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามเมื่อปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 292 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/thailands-second-largest-bank-to-open-first-branch-in-vietnam-28087.html