สมคิด สั่งบีโอไอเร่งสร้างปมเด่นประเทศไทย

รองนายกฯ สมคิด มอบนโยบายบีโอไอ ชี้ใช้โอกาสภาพลักษณ์จัดการโควิดดี เป็นโอกาส หันทิศใหม่สร้างฐานธุรกิจในประเทศให้ใช้ฐานการผลิตเกษตร อาหารที่ดีให้เป็นประโยชน์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานให้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ได้สั่งให้บีโอไอปรับรูปแบบการทำงานใหม่ โดยใช้โอกาสที่ทั่วโลกเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้ เร่งสร้างปมเด่นให้กับประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยต้องสร้างฐานธุรกิจภายในประเทศให้มากขึ้น เพราะไทยเรามีจุดเด่นทั้งด้านเกษตร อาหาร และการบริการที่สามารถผลักดันจนเป็นศูนย์กลางซีแอลเอ็มวี        นายสมคิด กล่าวว่า ยังสั่งให้บีโอไอตั้งเป้าหมายการทำงานในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยต้องสร้างธุรกิจของไทยก้าวไปสู่ชั้นของธุรกิจยูนิคอร์น หรือ ธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้ได้ เพราะปัจจุบันมีธุรกิจไทยหลายประเภทที่สามารถผลักดันขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้หากบีโอไอเข้าไปช่วยส่งเสริมถูกจุด…

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/780008

มัณฑะเลย์ยกเลิกสัญญาโครงการบำบัดน้ำเสีย

เมืองมัณฑะเลย์กำลังยกเลิกโครงการบำบัดน้ำเสียที่ล่าช้ามากเนื่องจากบริษัทจากประเทศไทยที่ไม่สามารถดำเนินการห้เสร็จสิ้นได้ ปัจจุบันค่ากำจัดน้ำเสียตกอยู่ที่เดือนละ 56,000 จัต (40 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับ 24 โรงงานในเขตอุตสาหกรรม แต่โรงงานขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ ท่อน้ำเสียจะปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำดอกทาวดี (Dokhtawady) ซึ่งถูกสร้างโดยเขตอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-city-moves-cancel-wastewater-treatment-contract.html

รัฐเดินหน้าแผน travel bubble รับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศวันละ 1 พัน

กระทรวงท่องเที่ยวเดินหน้า แผน travel bubbleเปิดรับนักท่องเที่ยว วันละ1,000 คนเข้าประเทศ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน เตรียมเสนอแนวทางดำเนินการให้ศบค.พิจารณา 17 มิ.ย.นี้ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ผลักดัน travel bubble หรือ การจับคู่ประเทศ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่สามารถจัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีด้านการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ทั่วโลกกำลังหันมาสนใจ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในหลายๆประเทศเริ่มดีขึ้น
ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/625975

‘ไทยเวียตเจ็ท’ กลับมาเปิดบริการในประเทศ

สายการบินไทยเวียตเจ็ท (Thai Vietjet) กลับมาเปิดบินเส้นทางระหว่างกรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) และสนามบินนานาชาติภูเก็ตในวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารและเป็นสายการบินรายแรกที่กลับมาดำเนินต่อ จากข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นไปตามแถลงของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ที่จะเปิดเส้นทางบินนานาชาติภูเก็ตในประเทศ ทั้งนี้ สายการบินไทยเวียตเจ็ทยังได้เสนอไฟล์ทบินฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสมาชิกของคณะกรรมการควบคุม COVID-19 และแพทย์ พยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้ง 160 ราย ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย นอกจากนี้ สายการบินดังกล่าว ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ซึ่งมาจากกิจการร่วมค้าระหว่างเวียตเจ็ท (ถือหุ้น 49%) และกานต์ แอร์ถือหุ้นส่วนที่เหลือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738138/thai-vietjet-resumes-domestic-flights.html

ค้าชายแดน-ผ่านแดน 4 เดือนแรกหดตัว 9.45%

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยสถิติการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 415,241 ล้านบาท หดตัวลง 9.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออก 239,495 ล้านบาท ลดลง 9.68% และการนำเข้า 175,746 ล้านบาท ลดลง 9.13% ทำให้ไทยเกินดุลการค้า 63,749 ล้านบาท โดยการค้าชายแดน 4 ประเทศ พบว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 70,022 ล้านบาท หดตัว 32.35% รองลงมาคือ เมียนมา มูลค่า 60,194 ล้านบาท หดตัว 7.08% ตามมาด้วยกัมพูชามูลค่า 59,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.06% และ สปป.ลาว มูลค่า 62,745 ล้านบาท หดตัว 2.63% ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสปป.ลาว ได้แก่น้ำมันดีเซล สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ และกัมพูชา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าปศุสัตว์ และรถยนต์ อุปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการค้าชายแดนและผ่านแดนลดลง เนื่องจากมีการประกาศปิดจุดผ่านแดนถาวรของไทยโดยจากเดิมทั่วประเทศจำนวน 42 จุด เหลือเพียง 26 จุด ประกอบกับความต้องการสินค้าและปัจจัยการผลิตของประเทศเพื่อนบ้านลดลง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/437679?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

การก่อสร้างสะพานบ่อแก้ว-ไชยบุรี ดำเนินการแล้วกว่า 50%

สะพานบ่อแก้ว-ไชยบุรีแล้วเสร็จไปแล้วกว่าร้อยละ 55 ของโครงการทั้งหมด โดยสะพานดังกล่าวจะมีความยาว 505 เมตรทอดยาวไปตามลำน้ำโขงระหว่างอำเภอปากท่อจังหวัดบ่อแก้วและอำเภอพบพระในจังหวัดไชยบุรีและยังเชื่อมต่อไปยังประเทศไทยได้อีกด้วย สะพานดังกล่าวเกิดจากการระดมทุนของรัฐบาลสปป.ลาวในต้นเดือนตุลาคม 2017 ซึ่งสามารถระดมทุนได้ถึง 3 พันล้านกีบ สะพานแห่งนี้จะให้การเชื่อมโยงที่เข้าถึงได้มากขึ้นจากถนนแห่งชาติหมายเลข 2243 จะเป็นเส้นทางลัดสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ที่เดินทางผ่านพื้นที่และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสปป.ลาวและไทย สะพานจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคนอกจากนี้เมื่อเสร็จแล้วจะเป็นสะพานเหล็กที่ยาวที่สุดในสปป.ลาว อีกด้วย โครงการก่อสร้างสะพานเพื่อเป็นเส้นทางลัดสำหรับการเดินทางหรือการค้าของสปป.ลาวยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวในอนาคตของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Construction110.php

บิ๊กตู เข้มทุกกระทรวงใช้งบประมาณตรงตามเป้า

นายกฯ สั่งทุกหัวหน้าส่วนราชการบริหารงบช่วงที่เหลือ พร้อมสั่งสำนักงบประมาณ ทบทวนรายละเอียดคำขอปี 64 ต้องปรับงบหรือเติมงบอะไรมาเพิ่ม เพื่อประคองประเทศ โดยขอให้เร่งรัดขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการและการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาส ที่ 3 – 4 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดตามแผนปฏิบัติราชการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 63 โดยขอให้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เป็นหลักคิด ในการกำหนดแผนงานและโครงการ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานที่ต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/778732

พาณิชย์ปรับแผนเจรจาขายข้าวไทยผ่านออนไลน์

กรมการค้าต่างประเทศเผยข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการตลาดโลกพร้อมทั้งปรับแผนการเจรจาขายข้าวผ่านระบบออนไลน์ จี้จีนเร่งซื้อข้าวจีทูจีตามสัญญาที่เหลืออีก 3 แสนตัน เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปพบปะกันทำได้ยากขึ้น จึงต้องหันไปใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งนี้ ในส่วนของฟิลิปปินส์ กำลังจะเปิดประมูลข้าวจำนวน 3 แสนตัน ซึ่งไทยจะมีการยื่นประมูลด้วยในวันที่ 8 มิ.ย.63 คาดว่าไทยน่าจะแข่งขันประมูลได้ ส่วนมาเลเซีย ยังรอดูสถานการณ์ ขณะที่อินโดนีเซีย ก็เช่นเดียวกัน ยังรอดูสถานการณ์อยู่ แต่มั่นใจว่า หากมีความต้องการซื้อข้าว ไทยจะสามารถขายให้ได้ และกำลังเจรจาผลักดันให้จีนปิดการซื้อขายข้าวจีทูจีในส่วนที่เหลือ 3 แสนตันของสัญญา 1 ล้านตันแรกให้จบ เพราะขณะนี้ รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 มีความคืบหน้า จะมีการลงนามกันในเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของการซื้อข้าวและยางพาราจากไทย ก็ควรจะมีข้อยุติด้วย ความต้องการข้าวจะยังคงมีเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องระวังเรื่องการแข่งขันจากคู่แข่ง โดยเวียดนามได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวแล้ว และปีนี้ยังตั้งเป้าส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไทยที่ตั้งเป้า 7.5 ล้านตัน ส่วนอินเดีย เพิ่มปลดล็อกให้มีการส่งออกได้ ก็จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดข้าวของไทย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/778630

สุริยะ สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี

รมว.อุตสาหกรรม สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี ขับเคลื่อนศก. พร้อมอัดสินเชื่อ 4 หมื่นล้านบาท 24,000 กิจการพลิกฟื้นธุรกิจ หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีดีแบงก์ ว่า ได้สั่งการให้ธพว.เร่งพักชำระหนี้เงินต้นให้กับลูกค้ารายเดิมเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีจากเดิม 6 เดือน และให้ขยายสัญญาเงินกู้จากเดิม 5-7 ปี เป็น 5- 10 ปี เพื่อลดผลกระทบให้กับเอสเอ็มอีจากไวรัสโควิด-19 จะได้มีเวลาปรับตัวและกลับมาฟื้นฟูกิจการได้ ที่สำคัญยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถจ้างงานได้ต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีได้ประมาณ 24,000 กิจการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ดธพว. กล่าวว่า ธพว.มีมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ มาตรการลด-พัก-ขยาย-ผ่อน-เพิ่ม ล่าสุดวันที่ 22 พ.ค.63 มีเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่มาตรการแล้ว 9,458 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 14,924 ล้านบาท แยกเป็น กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง 4,892 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,082 ล้านบาท และกลุ่มได้รับผลกระทบทางอ้อม 4,566 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,842.63 ล้านบาท

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/777645

เงินบาทไทยแข็งค่ารั้งอันดับ 2 รองจากรูเปียห์อินโดนีเซีย

ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ เคลื่อนไหวที่ระดับ 31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกาะติดปัญหาความขัดแย้งสหรัฐฯ-จีน การประชุมอีซีบี ระบุเดือนพ.ค.บาทไทยแข็งค่ารั้งอันดับ 2 ในภูมิภาค  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าคาดว่าเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแนวโน้มแข็งค่า เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปจะออกมาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม  หลังจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นและมีแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐกดดันให้ดอลลาร์ฯอ่อนค่าลง ด้านการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค.พบว่า รูเปียห์-อินโดนีเซียแข็ง 1.86 % บาท-ไทยแข็งค่า 1.72% เยน-ญี่ปุ่นทรงตัว 0%  ส่วนสกุลอื่นอ่อนค่า เช่น  ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.1 % เปโซ-ฟิลิปปินส์  0.37% รูปี-อินเดีย 0.68%  ริงกิต-มาเลเซีย 0.96 % หยวน-จีน 1.07 % วอน -เกาหลีใต้1.6%  อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศและในประเทศ ดังนั้นผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกควรป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขาย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/777448