ราคาถั่วลูกไก่ – มันฝรั่งในเมียนมา ทุบสถิติ พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี

ผู้ค้าที่ส่งสินค้าในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เผย ราคาของถั่วลูกไก่ (Chickpea) และมันฝรั่งในตลาดย่างกุ้งเมื่อวันที่ 17 ส.ค.2565 พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 4,000-4,200 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) และมันฝรั่งอยู่ที่ 1,400-2,400 จัตต่อ viss ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2564 ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 2,600-2,700 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 350-1,100 จัตต่อ viss และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 1,700-1,750 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 400-650 จัตต่อ viss โดยในประเทศการบริโภคถั่วลูกไก่และมันฝรั่งถือว่าในระดับสูงเพราะเป็นส่วนผสมอาหารหลักของชาวเมียนมา ทั้งนี้จากสังเกตการณ์ของผู้ค้าส่ง พบว่า ผลดีจะไปตกกับเกษตรกรผู้ลูก แต่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-grade-shwebo-pawsan-rice-prices-up-by-k24000-per-bag-within-six-weeks/#article-title

ชาวเมียนมา โวย ! ปั้มน้ำมันหลายแห่งจำกัดการขายน้ำมันในประเทศ

คณะกรรมการกลางของเมียนมา เปิดเผยว่า ประชาชนสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนเรื่องที่มีสถานีบริการน้ำมันหลายๆ แห่ง มีการจำกัดโควต้าในการขายน้ำมันเชื่อเพลิงซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีความเดือดร้อนและกังวลเป็นอย่างมาก โดยเรื่องนี้ทางรัฐบาลเมียนมาได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าในเดือนนี้ (เดือนส.ค.2565) ปริมาณน้ำมันเชื่อเพลิงเพียงพอต่อการบริโภคอย่างแน่นอน ทั้งยังร่วมงานกับสมาคมการค้าปิโตรเลียมแห่งเมียนมาในการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อไม่ให้ขาดแคลนและลดความกังวลของประชาชนในประเทศ ปัจจุบัน (วันที่ 16 ส.ค.2565) ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทุกชนิด โดยราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งจาก 2,365 จัตต่อลิตร, ราคาน้ำมันออกเทน 95 อยู่ที่ 2,445 จัตรต่อลิต, ราคาดีเซลพรีเมียมอยู่ที่ 2,780 จัตรต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 2,700 จัตรต่อลิตร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-249-mln-worth-of-over-733000-mt-of-rice-in-past-4-months/

ราคาน้ำมันในเมียนมา พุ่งขึ้น 3%

ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลของเมียนมาร์พุ่งขึ้นราว 3% จากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่ธนาคารกลางเมียนมาจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนของจัตกับค่าเงินต่างประเทศ เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2565 อัตราแลกเปลี่ยนเงินจัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 1,850 จัตเป็น 2,100 จัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ, เงินจัตต่อเงินยูโรจาก 1,884.3 จัตเป็น 2,148 จัตต่อยูโร และเงินจัตต่อเงินหยวนจาก 273.81 จัตเป็น 311.13 จัตต่อหยวน โดยในเมืองการค้าสำคัญอย่างย่างกุ้ง ราคาดีเซลเพิ่มขึ้น 2.58% เป็น 2,185 จัตต่อลิตร, ราคาเบ็นซิน RON 92 เพิ่มขึ้น 4.2% เป็น 1,860 จัตต่อลิตร และราคาเบ็นซิน RON 95 เพิ่มขึ้น 3.78% เป็น 1,920 จัตต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันของประเทศที่นำเข้า เนื่องจากเมียนมานำเข้าน้ำมันถึง 90% เพื่อมาใช้ในประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://english.news.cn/20220810/3611c70ec1e5438e9e7abc19ce0be15f/c.html

เดือนก.ค.65 เมียนมาส่งออกยางพาราไปแล้วกว่า 2,900 ตัน

ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนก.ค. 2565 (วันที่ 16-22)  เมียนมาส่งออกยางพารากว่า 2,350 ตัน ทำรายได้ถึง 3.602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  โดยแบ่งเป็นจีน 1,350 ตัน, มาเลเซีย 130 ตัน, อินเดีย 630 ตัน และอินโดนีเซีย 60 ตัน ขณะที่สัปดาห์นี้มีการส่งออกยางพาราทั้งหมด 500 ตัน โดย 430 ตันผ่านชายแดนเมียนมา – ไทย และอีก 120 ตันผ่านชายแดนเมียนมา – จีน – ทำรายได้ประมาณ 0.618 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันพบว่า ราคายางเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะยางคุณภาพดี ดังนั้นในปีนี้การปลูกยางคุณภาพดีจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้มีการลดการปลูกยางคุณภาพต่ำลง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทางภาครัฐ ปัจจุบันเมียนมามีพื้นที่สวนยางพารามากกว่า 1.6 ล้านเอเคอร์ มีพื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งสิ้น 850,000 เอเคอร์ มีผลผลิตต่อปีประมาณ  300,000 ตัน และพบว่ามีการบริโภคภายในประเทศเพียงร้อยละ 8 นอกนั้นเป็นการส่งออกทั้งหมด  ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกยางสำคัญของประเทศจะอยู่ในรัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง,เขตตะนาวศรี ,เขตพะโค ,เขตย่างกุ้ง และเขตอิรวดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-2900-tonnes-of-rubber-during-julys-second-week/#article-title

เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทย ลดฮวบ !

นาย U Aye Chan Aung ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดของเมียนมา กล่าวว่า การส่งออกข้าวโพดไปไทยลดลงอย่างมาก แม้ว่าก่อนหน้านี้จะสามารถส่งออกข้าวโพดได้ 150,000 ตันต่อเดือน แต่พบว่าการส่งออกเมื่อเดือนก.ค.2565 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วถึง 30%  ซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าของเงินจัตจาก 1,850 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2,500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและการค้าที่ลดลงอย่างมาก เพราะเงินจัตที่อ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ สูงขึ้น อีกทั้งปัญหาขั้นตอนทางกฎหมายและกฎระเบียบที่ยุ่งยากและซับซ้อน (red tape) ในการออกใบอนุญาตส่งออกข้าวโพดมีความล่าช้า ส่งผลให้มีสต็อกข้าวโพดในตลาดในประเทศตกค้างเป็นจำนวนมาก  ปัจจุบันราคาข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 800-820 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในตลาดย่างกุ้ง ที่ผ่านมาไทยให้ไฟเขียวการนำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. ถึง 31 ส.ค.2565 อย่างไรก็ตาม ไทยได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด 73% เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของไทย โดยในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตันไปยังต่างประเทศ ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย และบางส่วนจะถูกส่งออกไปยังจีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-exports-to-thailand-plummet/#article-title

เดือนเม.ย.-ก.ค.65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 733,000 ตัน สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ (เม.ย.-ก.ค.2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 733,098 ตัน โดยมีรายได้ประมาณ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังพบว่าการส่งออกในเขตชายแดนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วสาเหตุความล่าช้าเกิดจากความเข้มงวดของชายแดนจีน ปัจจุบันมีการส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 10,000 ถุง ผ่านชายแดนมูเซไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่เมียนมาส่งออกข้าวไปยัง 20 ประเทศ เช่น จีน (92,622 ตัน) และฟิลิปปินส์ (91,374 ตัน) เป็นต้น โดยราคาพันธุ์ข้าวขาวอยู่ที่ประมาณ 325-360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และพบว่าราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าคู่แข่งอย่างไทยและเวียดนาม ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้ถึง 700 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตันไปยังต่างประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-249-mln-worth-of-over-733000-mt-of-rice-in-past-4-months/

เดือนส.ค.65 เรือบรรทุกสินค้า 55 ลำเข้าเทียบท่าในเมียนมา

การท่าเรือเมียนมา เผย รัฐบาลเมียนมาให้การสนับสนุนภาคการส่งออกและนำเข้ามากขึ้นและเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกสินค้าของประเทศ จะมีเรือสินค้าทั้งหมด 55 ลำเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้งและท่าเรือติละวาซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญของประเทศในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โดยส่วนใหญ่เมียนมาจะส่งออกสินค้าทางทะเล เช่น ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าทางการเกษตร และสินค้าประมงเป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าจะเป็น วัตถุดิบสิ่งทอ, วัสดุก่อสร้าง, เครื่องจักร และสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากประเทศมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในการค้าทางทะเลจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งสินค้า ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจการเกษตรและปศุสัตว์ และยังสามารถสร้างตำแหน่งงานให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/55-cargo-ships-to-dock-in-myanmar-in-august/

เดือน ก.ค.65 ราคาถั่วแระตลาดย่างกุ้งพุ่งสูง

สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค. 2565 ราคาของถั่วแระ (red gram) ในตลาดย่างกุ้ง พุ่งแตะ 1.485 ล้านจัตต่อตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5,000 จัตต่อตันเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอินเดียผู้นำเข้าหลักลดพื้นที่การเพาะปลูกและความผันผวนของค่าเงินจัต ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันถั่วแระส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก และยังส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย โดยภาคเกษตรกรรมของเมียนมาเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 30% ของจีดีพีของประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้าย อ้อย ถั่วต่างๆ และถั่วต่างๆ โดยถั่วคิดเป็น 33% ของสินค้าทางการเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ จากข้อมูลการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 22 ก.ค.2565 ในปีงบประมาณ (2565-2566) เมียนมาส่งออกถั่วแระ มากกว่า 8,200 ตัน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-remain-on-high-side-in-last-week-of-july/